คนมีลูกสาวต้องรู้ บราตัวแรกสำคัญนะ
เด็ก ๆ สมัยนี้โตไวจนคุณแม่ก็ลืมไป คิดว่าลูกยังเด็กอยู่ จนลูกมีสรีระที่เปลี่ยนไปถึงเวลาที่จะต้องใส่บราเพื่อรองรับหน้าอกแล้ว นอกจากจะต้องอธิบายลูกเรื่องความเปลี่ยนแปลงของร่างกายแล้ว การเลือกบรา หรือชุดชั้นในตัวแรกให้ลูกก็สำคัญไม่แพ้กันค่ะ
1. ร่างกายหนูเปลี่ยนไป
เด็ก ๆ โตเร็วไม่เท่ากันค่ะ ขึ้นอยู่กับสรีระ กรรมพันธุ์ ฯลฯ บางคนแค่ 7- 8 ขวบก็เริ่มมีหน้าอกแล้ว หรือบางคนอาจจะขึ้น 10 ขวบ หรือเข้าสู่วัยรุ่นถึงจะมี ซึ่งตรงนี้เด็ก ๆ อาจจะไม่ได้สังเกตตัวเองหรอกค่ะ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแลค่ะ เมื่อเห็นสรีระลูกเปลี่ยนไปจึงควรรีบจัดการให้ลูกสวมเสื้อชั้นในได้เลยค่ะ ไม่ต้องรอจนถึง 10 ขวบ เพราะการใส่เสื้อชั้นในนอกจากเป็นการรักษาทรงคัพให้ลูกสาวตั้งแต่เนิ่น ๆ แล้วยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ได้อีกด้วย ไม่ต้องกังวลกับการกลัวถูกเพื่อล้อ
2. บราที่ดีคือมีคุณภาพ
คุณภาพของบราต้องมาก่อนค่ะ จะเลือกแบรนด์ดี ๆ ที่คุณแม่เชื่อถือก็ได้ แต่ถ้าราคาสูงเกินไปจะดูแบรนด์ที่ทำบราสำหรับเด็กโดยเฉพาะก็ได้ สิ่งแรกคือ เนื้อผ้าต้องระบายอากาศได้ดี เพราะอากาศร้อนบ้านเรา ทำให้เกิดเหงื่อมาก ยิ่งเด็กที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่นฮอร์โมนกำลังเปลี่ยนแปลง อาจก่อให้เกิดกลิ่นอับได้ ทำให้ลูกเสียความมั่นใจไปอีก
ที่สำคัญคือขนาดที่เหมาะสม เลือกโดยโดยใช้สายวัด วัดรอบอก และรอบใต้อก นำผลที่ได้มาลบกันเพื่อให้ได้ขนาดที่ถูกต้อง แล้วพาลูกสาวไปลองสวมจนกว่าจะเจอตัวที่ถูกใจ สวมสบาย เคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก ไม่กดทับ ไม่เจ็บ ไม่อึดอัด
บราต้องตัดเย็บได้ดี ถักทออย่างไร้รอยต่อ ไร้ตะเข็บไม่กดทับผิวให้เจ็บใส่สบายตลอดวัน คือทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิว เป็นผื่นแดง ที่จะทำให้ลูกเข็ดและไม่ชอบใส่บรา
ควรเลือกบราที่มีส่วนคัพเป็นแบบนุ่ม เพราะหน้าอกของเด็กจะขยายขึ้นไปได้อีก จะได้ไม่รู้สึกเจ็บ หรืออึดอัด บราตัวแรกสำหรับลูกสาวเลือกดีไซน์แบบสปอร์ตบราก็ยิ่งดี เพราะกระชับไปกับรูปร่าง ทำให้เคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้สะดวก และยังมีความยืดหยุ่นสูงเหลือพื้นที่ให้หน้าอกขยายได้อย่างเต็มที่ไม่ต้องทนเจ็บจากถูกกดทับ
3.ให้ลูกได้เลือกแบบที่ชอบเอง
สํานวนสุภาษิต “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน” ยังคงใช้ได้เสมอค่ะ ถึงแม้ว่าคุณแม่อยากจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูก แต่การตัดสินใจสุดท้ายต้องให้ลูกได้เลือกแบบที่ชอบ แบบที่ถูกใจ หรือสีโปรดด้วยตัวเอง คุณแม่มีหน้าที่ให้คำแนะนำเท่านั้นค่ะ เพราะการได้เลือกข้าวของของใช้ตัวเองนั้น ลูกจะเกิดความมั่นใจในตัวเองมากขึ้นค่ะ
4. อย่าซื้อบราเผื่อโต
บราเป็นเสื้อผ้าที่แนบชิดกับสรีระลูกที่สุด การเลือกบราที่ดีจึงควรจะต้องกระชับ รับรับสรีระมากที่สุด บราไม่ใช่เสื้อยืด หรือชุดอื่น ๆ ที่คุณแม่สามารถเลือกให้หลวมกว่าที่ลูกจะใส่ได้ บางคนคิดว่าควรซื้อเผื่อโต เพราะการใส่เสื้อชั้นในแบบหลวม ๆนอกจากจะทำให้เขารู้สึกไม่มั่นใจแล้ว ยังทำให้เวลาใส่เสื้อผ้าออกมาดูไม่กระชับและทรงไม่สวยอีกด้วย
5. ใส่บราให้ถูกวิธี มีดีกว่าการกระชับ
เพราะเด็ก ๆ นั้นเคลื่อนไหวมากกว่าผู้ใหญ่ โดนเฉพาะช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ที่ยังไม่ทิ้งวัยเด็ก ทั้งในเวลาเรียนและเล่น การใส่บราให้ถูกวิธีจึงจำเป็นมากค่ะ
ขั้นตอนสวมใส่บราให้ถูกต้อง
1. ยกแขนทั้งสองข้างขึ้น จากนั้นสวมบราเข้าทางด้านหน้า และปรับบริเวณส่วนใต้อกของบราให้อยู่พอดีกับรอบใต้อก
2. จากนั้นให้ก้มลงเล็กน้อย เพื่อจัดหน้าอกให้วางพอดีอยู่ในเต้าทรง และติดตะขอด้านหลังให้พอดีกับขนาดตัว
3. ควรปรับสายบราให้พอดีกับช่วงไหล่และอยู่ในระดับที่เท่ากันทั้งสองข้าง
4. ให้ก้มลงอีกครั้ง ใช้มือยกทรวงอกขึ้นเล็กน้อย ก่อนวางลงให้พอดีกับเต้าทรง โดยปรับบริเวณส่วนใต้อกของบราให้สอดรับพอดีกับฐานเต้า
5. ลองขยับร่างกาย ยกแขนไปมา และตรวจเช็คว่าบราที่สวมใส่อยู่พอดีกับรูปร่างและสรีระมากเพียงพอหรือไม่
6. บราบางรุ่นแนะนำให้ใส่จากเท้าขึ้นมา เพื่อเก็บกระชับเนื้อด้านข้างได้มากกว่า ต้องลองดูวิธีใส่จากข้างกล่องอีกครั้งนะคะ
การได้บราตัวแรกที่ดี ย่อมส่งเสริมให้สรีระของลูกเติบโตไปตามรูปร่างที่ดี เพราะฉนั้นการเลือกบราตัวแรกจึงสำคัญไม่แพ้สิ่งอื่น ๆ เลยนะคะ คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกสาวจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ค่ะ
Related Courses
สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้
คุณธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจ นำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างให้เด็กพร้อมที่จะเผชิญโลก และสังคมปัจจุ ...
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...