นิสัยโยนความผิด อย่าให้ติดไปจนโต

Starfish Academy
Starfish Academy 10431 views • 4 ปีที่แล้ว
นิสัยโยนความผิด อย่าให้ติดไปจนโต

การเลี้ยงดูเด็กสักคนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพนั้น อาจไม่ใช่เพียงแค่สอนให้เด็ก ๆ รู้จักสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น แต่การสอนให้เด็ก ๆ เรียนรู้ และรับมือกับความผิดพลาด ก็เป็นทักษะที่จำเป็นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะความผิดพลาด เป็นส่วนหนึ่งที่ทุกชีวิตไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่สิ่งที่ทำให้แต่ละชีวิตแตกต่างกันก็คือ การเรียนรู้ และรับมือหลังจากเกิดความผิดพลาดนั่นเอง

พ่อแม่ต้องเข้าใจ ไม่มีใครอยากทำผิด

ไม่มีใครอยากทำผิดพลาดค่ะ โดยเฉพาะเด็ก ๆ วัยเรียนรู้ที่ทำการลองผิดลองถูก แทบจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโต พ่อแม่ผู้ปกครองต้องไม่ลืมว่าช่วงวัยเด็ก มีหลายสิ่งที่ลูกเพิ่งเคยพบ เพิ่งเคยทำ เป็นครั้งแรก ทั้งกิจวัตรประจำวัน หน้าที่ การเข้าสังคม หรือกระทั่งเรื่องอารมณ์ของตนเอง บางครั้งเด็ก ๆ อาจมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเหล่านั้นผิดไปบ้าง นั่นอาจเป็นเพราะเขาไม่รู้ว่าสิ่งที่ถูกต้องควรทำอย่างไร หน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครองคือ ทำความเข้าใจว่าไม่มีใครอยากทำผิด เมื่อลูกทำผิด ก็ควรให้คำแนะนำสิ่งที่ถูกต้อง แทนการตำหนิ วิพากษ์วิจารณ์ ดุหรือทำโทษ เพราะหากคุณตำหนิลูกด้วยอารมณ์บ่อย ๆ อาจทำให้ลูกกลายเป็นคนชอบโยนความผิด เพราะกลัวถูกตำหนิจากพ่อแม่ก็เป็นได้ 

สำหรับวัยรุ่น แม้เริ่มแยกแยะถูกผิดได้ดีขึ้นแล้ว แต่ด้วยฮอร์โมน และความอยากรู้อยากลอง ก็อาจทำให้เด็ก ๆ พลาดพลั้งทำสิ่งที่ผิดพลาดได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง เข้าใจอยู่เสมอว่า ไม่มีใครอยากทำผิด แทนที่คุณจะดุว่า หรือทำโทษลูกด้วยอารมณ์ ลองเปลี่ยนเป็นนั่งคุยกับลูกอย่างจริงจังว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ลูกทำเช่นนั้น ยอมรับ และฟังลูกอย่างจริงใจ อย่าด่วนตัดสินหรือตำหนิ แต่ให้คำแนะนำ ช่วยแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม บอกให้ลูกแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น โดยมีคุณเป็นกำลังใจ และคอยสนับสนุนสิ่งที่ถูกต้อง จะช่วยให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าการยอมรับผิดไม่ใช่สิ่งน่ากลัว แต่เป็นสิ่งที่ถูกต้อง และกล้าหาญ 

โยนความผิด...ไร้เดียงสา หรือว่า ไร้ความรับผิดชอบ

พฤติกรรมโยนความผิดของเด็ก ๆ อาจเริ่มจากความไร้เดียงสา พวกเขาอาจพูดอะไรก็ได้ที่นึกออก เพื่อให้ตัวเองพ้นผิด เช่น “หนูไม่ได้แอบกินขนม ยูนิคอร์นต่างหากที่แอบเข้ามากิน” “สไปเดอร์แมนกระโดดเข้ามาในบ้านแล้วทำแก้วแตก” คำแก้ตัวเหล่านี้อาจฟังน่าเอ็นดู และบ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็ไม่ได้ถือเป็นจริงเป็นจัง เมื่อบ่อยเข้า ความไร้เดียงสาที่ไม่ได้รับคำชี้แนะที่ถูกต้อง อาจกลายมาเป็นการไร้ความรับผิดชอบที่ส่งผลกระทบต่อสังคมได้

เมื่อเริ่มพบว่าลูกมีพฤติกรรมต่อรอง สร้างเรื่องโกหกเพื่อให้ตนเองพ้นผิด พ่อแม่ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับการหาวิธีให้ลูก “รับผิดชอบผลการกระทำของตนเอง” ด้วยการบอกลูกถึงสิ่งสำคัญ 3 ประการ ต่อไปนี้

  1. อธิบายสถานการณ์ชัดเจน เช่น แม่รู้ว่าลูกไปเที่ยวกับเพื่อนหลังจากโรงเรียนเลิกแล้ว 
  2. ระบุปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมนั้น สั้น ๆ และชัดเจน เช่น ลูกทำผิดกฎที่เราตกลงกัน และการไปเที่ยวเองโดยไม่บอกแม่ ยังไม่ปลอดภัยด้วย
  3. ระบุผลจากการกระทำนั้น เช่น เพราะว่าลูกแอบหนีไปเที่ยวโดยไม่บอกแม่ สุดสัปดาห์นี้ลูกจะไม่ได้ออกนอกบ้าน และต้องงดใช้เครื่องมือสื่อสารทุกชนิดด้วย 

หลีกเลี่ยงการเลคเชอร์เรื่องศีลธรรมความดี ซึ่งเป็นนามธรรม อาจทำให้เด็ก ๆ รู้สึกเบื่อ จนอาจถึงขั้นต่อต้าน เพราะพวกเขาไม่เข้าใจว่า “สิ่งที่ต้องทำ” จริง ๆ คืออะไรกันแน่ ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ให้เหมือนกับการทำงาน คือ อธิบายสถานการณ์ ระบุปัญหา ระบุผลจากปัญหานั้น ยิ่งสั้น กระชับ ตัดจบดราม่าได้เร็วเท่าไรก็ยิ่งดีค่ะ 

สอนอะไร ให้ลูกรู้จักยอมรับผิด

การช่วยแก้ปัญหาให้ลูกไม่ต้องรับผิดชอบการกระทำของตัวเองนั้นง่ายค่ะ แต่การจะสอนให้เด็กสักคนเติบโตมาพร้อมกับวุฒิภาวะและความภาคภูมิใจในตนเองมากพอที่จะยอมรับผิดที่มาจากการกระทำของตนเองนั้น เป็นเรื่องที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องทุ่มเท และใช้เวลา แต่เชื่อเถอะว่าหากทำได้ คุณจะภาคภูมิใจในตัวเองไม่น้อยเลย มาดูกันค่ะว่าเราจะสอนลูกให้รู้จักยอมรับความผิดได้อย่างไรบ้าง

  • สงบสยบได้ทุกอย่าง ท่าทีของพ่อแม่ผู้ปกครอง มีความสำคัญในการปรับพฤติกรรมของเด็ก ๆ ค่ะ หากคุณดุ ตวาดหรือใช้อารมณ์มากเกินไป เด็กอาจเชื่อฟัง แต่เขาจะเชื่อฟังเพราะความกลัว ซึ่งต่างจากการเชื่อฟังด้วยความยอมรับ และเข้าใจ ในทางตรงข้าม หากคุณใจอ่อนเกินไป มีแววตา น้ำเสียงที่แสดงออกถึงความไม่มั่นใจ เด็ก ๆ จะเริ่มต่อรอง และทำให้คุณขาดความน่าเชื่อถือ ดังนั้น หากจับได้ว่าลูกโกหก ไม่ยอมรับผิด พ่อแม่ควรคุยกับลูกด้วยท่าทีสงบ ระบุปัญหาให้ชัดเจน ไม่บ่นยืดเยื้อ และย้ำเตือนลูกว่า ลูกมีหน้าที่รับผิดชอบการกระทำของตนเอง
  • อธิบาย ไม่ใช่ แก้ตัว หลายครั้งเด็ก ๆ (รวมทั้งผู้ใหญ่) อาจสับสนระหว่างการอธิบายกับการแก้ตัว ดังนั้นควรสอนให้เด็ก ๆ รู้จักแยกแยะความแตกต่างระหว่างการอธิบายสถานการณ์กับการแก้ตัว โดยการอธิบาย หมายถึงการเล่าสถานการณ์ตามจริงเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น ส่วนการแก้ตัวนั้น มักเป็นการพูดเพื่อเบี่ยงเบนความผิดไปจากตัวเอง หรือเป็นการโยนความผิดให้ผู้อื่น พ่อแม่ผู้ปกครอง ควรฝึกให้เด็ก ๆ แยกความต่างของสองสิ่งนี้ เช่น เมื่ออ่านหนังสือ อาจถามลูกว่าตัวละครกำลังแก้ตัวหรืออธิบาย หรือเมื่อเผชิญสถานการณ์จริง อาจชี้ให้ลูกเห็นว่า ลูกกำลังแก้ตัวมากกว่าที่จะอธิบายเหตุการณ์ เป็นต้น
  • สอนว่าลูกมีทางเลือก เมื่อคุณรู้สึกว่าลูกเริ่มโทษคนอื่น ให้ลองตั้งคำถามเพื่อให้เขาได้ตระหนักว่าเขามีส่วนรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น เช่นเมื่อลูกบอกว่า “ผมขี่จักรยานชนเพื่อน เพราะว่าเพื่อนนั่งเล่นขวางทางเอง” ให้ลองถามลูกกลับไปว่า “ลูกเห็นว่าเพื่อนนั่งอยู่ตรงนั้นก่อนแล้ว ลูกขี่จักรยานหลบไปอีกทางได้ใช่ไหม” หรือ “ลูกกดกระดิ่งส่งสัญญาณให้เพื่อนหลบได้นะ” การตั้งคำถามเช่นนี้ ทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้ว่าพวกเขามี “ทางเลือก” เสมอที่จะทำหรือไม่ทำอะไร เพื่อจะไม่ต้องขี่จักรยานชนเพื่อน หรือเมื่อชนแล้วหากไม่ตั้งใจ ลูกเลือกที่จะจอดจักรยาน และลงมาขอโทษเพื่อนได้ แทนการขี่จักรยานต่อไปโดยไม่สนใจเพื่อนที่กำลังเจ็บ การสอนให้เด็ก ๆ เข้าใจว่าพวกเขามี “ทางเลือก” ที่จะตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้เรื่องการยอมรับผิด เด็กที่เข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มาจากผลการกระทำของเขา และพวกเขาต้องรับผิดชอบเสมอ จะช่วยให้คุณหนู ๆ เลือกสิ่งที่ถูกต้องได้ง่ายขึ้น
  • เรียนรู้จากความผิดพลาด ทำให้ลูกเข้าใจว่าความผิดพลาด คือ โอกาสแห่งการเรียนรู้ เด็ก ๆ ที่เห็นว่าความความผิดพลาดเป็นบทเรียนสำคัญของชีวิต เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นพวกเขาก็จะไม่ต้องพยายามปกปิด ในทางกลับกันพวกเขาอาจหาทางเรียนรู้จากความผิดนั้น เพื่อจะไม่ทำผิดแบบเดิมซ้ำอีก ทำให้เด็ก ๆ เห็นว่าความผิดพลาดบางทีก็ไม่ใช่เรื่องแย่ไปทั้งหมด มีบทเรียนมากมายจากความผิดพลาดแต่ละครั้ง หากเราตั้งใจมองหา และเรียนรู้จากเหตุการณ์นั้น เช่น หากคุณพ่อขับรถชนท้ายรถคันข้างหน้า แทนที่จะหงุดหงิดหัวเสียจากความผิดพลาดของตัวเอง ลองบอกลูกว่า “พ่อขอโทษนะที่ประมาทไปหน่อย ลูกคงตกใจใช่ไหม คราวนี้พ่อเลยได้รู้ว่าเวลาขับรถพอจะต้องมีสติตลอดเวลา เผลอไม่ได้เลย” 
  • ชื่นชมความกล้าหาญ การทำโทษเมื่อเด็ก ๆ ทำผิดก็เรื่องหนึ่ง ส่วนการชื่นชมความกล้าหาญที่ลูกยอมรับผิด ก็เป็นอีกเรื่องที่ลืมไม่ได้ค่ะ การให้แรงเสริมทางบวกต่อพฤติกรรมที่เหมาะสมของลูก จะช่วยส่งเสริมให้ลูกทำพฤติกรรมดี ๆ เหล่านั้นต่อไป ดังนั้น หากลูกมาสารภาพผิด อย่าลืมเอ่ยชื่นชม อาจจะบอกว่า “แม่ดีใจนะที่ลูกบอกความจริง แม่ภูมิใจในตัวลูกมาก แต่สิ่งที่ลูกทำนั้นไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นแม่ก็ต้องทำโทษไม่ให้ลูกเล่นเกมอาทิตย์นี้นะ” หากคำสารภาพของเด็ก ๆ เป็นอะไรประมาณว่า “หนูจะไม่ผลักน้องหรอก ถ้าน้องไม่ทำให้หนูโมโห” คุณก็ควรเตือนลูกด้วยว่า ไม่มีใครบังคับให้ลูกทำอะไรได้ และลูกเป็นคนเลือกทำสิ่งนั้น ๆ ด้วยตัวลูกเอง รวมทั้งให้คำแนะนำว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก การรับมือที่ถูกต้องคืออะไร 

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
Starfish Academy

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

Starfish Academy
1186 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร

การเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กในวัยเรียนที่ครูและผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ พร้อมนำไปปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับเด็ก ในด้านก ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
2200 ผู้เรียน
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
6593 ผู้เรียน
เครื่องมือผู้ปกครอง
การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ

การจะเป็นพ่อแม่ที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยากเสมอไป ลูกๆ ต้องการแค่แบบอย่างที่ดี เพราะพ่อแม่คือต้นแบบในการดำเนินชี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ
Starfish Academy

สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ

Starfish Academy
1009 ผู้เรียน

Related Videos

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
175 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
30:16
Starfish Academy

การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”

Starfish Academy
77 views • 2 ปีที่แล้ว
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
34:03
Starfish Academy

เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน

Starfish Academy
34 views • 1 ปีที่แล้ว
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
367 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง