ดนตรี กับ (การบำบัด) ชีวิต 2

วนัชพร พิพัฒน์ธนวงศ์
วนัชพร พิพัฒน์ธนวงศ์ 3278 views • 4 ปีที่แล้ว
ดนตรี กับ (การบำบัด) ชีวิต 2

เมื่อบทความที่แล้วได้คุยกับท่านผู้อ่านว่า การรับบริการดนตรีบำบัดนั้น ผู้รับบริการไม่จำเป็นต้องเล่นดนตรีเป็น และการบำบัดไม่ใช่การกระทำอย่างง่าย เช่น ให้ฟังเพลง หรือเล่นดนตรีออกมาแล้วทำให้เกิดความผ่อนคลายสนุกสนาน หากยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกมากมายที่ลึกซึ้ง เป็นระบบ และผู้บำบัดต้องอาศัยการฝึกฝน

กระบวนการสำคัญของดนตรีบำบัด คือ การเข้าใจปัญหาพัฒนาการแต่ละด้านของผู้รับบริการ จนนำไปสู่การวางแผน และปฏิบัติการบำบัดอย่างเหมาะสมกับบุคคลนั้น เพื่อนำไปสู่เป้าหมายทั่วไปของจิตบำบัด แน่นอนว่าต้องเป็น non-musical goals กล่าวคือ ดนตรีบำบัดใช้ดนตรีเป็น “สื่อกลาง” ทว่าเป้าหมายนั้นไม่ใช่เพื่อการเล่นดนตรีให้ได้ดีมีทักษะ หากเป็น “เป้าหมายแห่งการสร้างสัมพันธภาพเชิงการบำบัดระหว่างผู้บำบัดและผู้รับบริการ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ”

แล้วเราจะเสริมสัมพันธภาพเชิงการบำบัดได้อย่างไร... สัมพันธภาพระหว่างผู้บำบัดและผู้รับบริการเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำให้เกิดขึ้น ลองนึกถึงตอนมีคนแปลกหน้ายื่นกลองให้เราตี เราก็อาจจะงงๆ กลัว หรือไม่ไว้ใจ เช่นเดียวกับจิตบำบัด นอกจากนักดนตรีบำบัดจะต้องมีทักษะในการใช้ดนตรีเป็นสื่อกลางแล้ว คุณลักษณะที่ผู้บำบัดพึงมี คือ ความไวต่อความรู้สึก การรักษาความลับหรือเรื่องราวส่วนตัวของผู้รับบริการ และการให้ความปรารถนาดีอย่างไม่มีเงื่อนไข หากผู้บำบัดสามารถถ่ายทอดสิ่งดังกล่าวไปยังผู้รับบริการได้ ความไว้เนื้อเชื่อใจต่อผู้บำบัดจะเกิดขึ้น จนอาจส่งผลดีต่อความร่วมมือ และประสิทธิภาพของการบำบัดด้วย

นอกจากสัมพันธภาพเชิงการบำบัดที่ต้องสร้างแล้ว ขั้นต่อไปคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ นั้นคือ การแก้ไข หรือส่งเสริมพัฒนาการเป้าหมายที่บกพร่อง โดยจะขอยกตัวอย่างกิจกรรมตามพัฒนาการ ดังนี้

  1. ด้านร่างกาย - การเล่นดนตรี การเคลื่อนไหวประกอบเพลง เพื่อการฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่-เล็ก เพิ่มความแข็งแรงคงทน ช่วยเรื่องท่าทางและการทรงตัว
  2. การสื่อสาร - การร้องเพลงนิทาน เพื่อฝึกการออกเสียง การหายใจ การควบคุมปาก การพูดคุยโต้ตอบ
  3. ด้านอารมณ์และสังคม – การเล่นดนตรีแบบด้นสด เกมกลุ่มเกี่ยวกับดนตรี เพื่อการสังเกตอารมณ์และส่งเสริมการเรียนรู้อยู่กับสังคม
  4. ด้านปัญญา – การใช้เพลงประกอบการสอนหนังสือ การใช้การเล่นเครื่องดนตรีเพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ เช่น การระบุตำแหน่ง เป็นต้น
  5. ด้านการรับรู้ - การเล่นดนตรี ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น การได้ยิน (เสียงเพลง) การมองเห็น (โน้ตเพลง) และการสัมผัสพื้นผิว (เครื่องดนตรี)

ก่อนจะเริ่มทำดนตรีบำบัด ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า “เป้าหมายและกระบวนการ” ของมันเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ผู้บำบัดทุกคนควรตระหนักไว้ “เพื่อประสิทธิภาพการบำบัดและผลประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้รับบริการ”

รายการอ้างอิง:

1.หนังสือ “สร้างชีวิตใหม่ คู่มือจิตบำบัดและการให้คำปรึกษาแนว Humanistic – Existential – Experiential” ของ ศาสตราจารย์ พญ. อุมาพร ตรังคสมบัติ

2.whmusictherapy.com/about-music-therapy/

3.ภาพประกอบจาก pexels.com

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การพัฒนาสุขภาวะกาย

คอร์สนี้จะทำให้ได้เรียนรู้ถึงและเข้าใจการสร้างสุขภาพกายที่ดีสำหรับเด็กประถมศึกษา เพราะสุขภาพกายมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ

Starfish Academy
Starfish Academy
การพัฒนาสุขภาวะกาย
Starfish Academy

การพัฒนาสุขภาวะกาย

Starfish Academy
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
6738 ผู้เรียน
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย

บทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ความสำคัญของพัฒนาการ สมรรถนะตามวัย กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เน้นการทำกิจกรร ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย
Starfish Academy

พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย

Starfish Academy
13294 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

แนะนำหลักสูตร well being

คอร์สเรียนนี้จะชวนให้ทุกคน กลับมาดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กๆ กันนะคะ เพราะทั้งสองเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์โดยตรง ...

แนะนำหลักสูตร well being

แนะนำหลักสูตร well being

Starfish Labz

Related Videos

ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร
31:53
Starfish Academy

ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร

Starfish Academy
933 views • 2 ปีที่แล้ว
ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
615 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
โรงเรียนประถม รุ่งอรุณ
04:34
โรงเรียนรุ่งอรุณ

โรงเรียนประถม รุ่งอรุณ

โรงเรียนรุ่งอรุณ
1959 views • 6 ปีที่แล้ว
โรงเรียนประถม รุ่งอรุณ
นวัตกรรมการเรียนการสอนระดับปฐมวัยบ้านปลาดาว
02:43
โรงเรียนปลาดาว

นวัตกรรมการเรียนการสอนระดับปฐมวัยบ้านปลาดาว

โรงเรียนปลาดาว
1787 views • 5 ปีที่แล้ว
นวัตกรรมการเรียนการสอนระดับปฐมวัยบ้านปลาดาว