บอกลูกอย่างไร เมื่อต่อไปจะไม่มีพ่อหรือแม่
เมื่อหลายครอบครัวที่ความรักจบลง ปัญหาไม่ได้ตามมาแค่การดำเนินชีวิตที่จะต้องแตกต่างออกไป แต่มีอีกเรื่องใหญ่ที่หนีไม่ก็ไม่พ้นเรื่องของลูก จึงมีคำถามมากมายในหัวว่าจะบอกเรื่องนี้กับลูกอย่างไร? ต้องโกหกไหม? หรือปล่อยผ่านไปดี? วันนี้เราจึงมีคำแนะนำเล็กๆ ฝากไว้เพื่อให้ไปปรับใช้กันนะคะ
บอกลูกตามพัฒนาการ
เลือกบอก “ความจริง” ตามพัฒนาการของลูกในช่วงวัยที่ต่างกันค่ะ เช่น ถ้าลูกอายุน้อยกว่า 3-4 ปี ก็บอกว่า “พ่อไม่อยู่ พ่อไปนอนที่อื่น" ก็เพียงพอแล้ว เพราะเด็กในวัยนี้ก็จะมีความเข้าใจในเรื่องที่ซับซ้อนมากไม่ได้ แต่หากลูกอายุมากกว่า 4 ปีก็สามารถอธิบายเพิ่มได้ว่า “เราอยู่กัน 2 คนไม่มีพ่อนะ” เพราะพ่อต้องไปอยู่ที่อื่น
เพราะแท้จริงแล้วเมื่อเด็กโตขึ้น สิ่งที่เด็กต้องการรู้มากที่สุด ไม่ใช่ว่าพ่อหรือแม่อาศัยอยู่ที่ไหน แต่เขาต้องการรู้มากที่สุดว่า ที่พ่อหรือแม่ไม่ได้อยู่กับเขา ไม่ได้เป็นเพราะพ่อหรือแม่ไม่รักเขาแล้ว
ไม่โกหกแต่ไม่ต้องพูดทุกเรื่อง
บางเรื่องไม่จำเป็นต้องเล่าละเอียด แต่บอกให้ลูกรู้และเข้าใจตามพัฒนาการของเขา เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปีส่วนใหญ่จะไม่สามารถเข้าใจในเรื่องของนามธรรม โดยเฉพาะเรื่องของนามธรรมที่ซับซ้อนมากนัก เราจึงไม่เห็นความจำเป็นของการลงรายละเอียดให้กับเด็กๆ
เช่น พ่อเด็กไปมีคนอื่นแล้ว เราก็ไม่ต้องลงรายละเอียดว่า พ่อไม่ดียังไง พ่อด่าแม่ยังไง แล้วผู้หญิงคนนั้น หน้าตายังไง เขาทำยังไง โทรมาหากี่ครั้งฯ เรื่องเหล่านี้รังแต่จะเป็นการพูดให้ลูกรู้สึกโกรธ/เกลียดอีกฝ่าย จะทำให้เด็กที่มีเลือดของพ่ออยู่ครึ่งหนึ่ง ทำตัวไม่ถูก ทำใจไม่ได้ ไม่รู้ว่าตนเองจะรักพ่อดีมั๊ย หรือจะเกลียดดี ซึ่งค้านกับความต้องการลึกๆในจิตใต้สำนึก จึงมีผลเสียต่อพัฒนาการด้านจิตใจและบุคลิกภาพในระยะยาวได้
เปลี่ยนคนใหม่ ให้เป็นคนในครอบครัว
ให้เลือกอธิบายเชิงบวกแทนกับคนรักใหม่ของพ่อหรือแม่แทน รวมถึงลูกติดที่มากับพวกเขาด้วย เช่น แนะนำภรรยาใหม่ของพ่อว่า พี่หรือน้าคนนี้เป็นคนที่พ่อรัก และเราก็มีลูกด้วยกัน ซึ่งเด็กคนนั้นก็เป็นน้องของลูกเหมือนกันนะ จะทำให้ลูกไม่รู้สึกผิด และไม่รู้สึกแปลกแยกกับสมาชิกใหม่
ยอมรับอย่างเข้าใจและใช้ความอดทน
ก่อนอื่นคุณต้องยอมรับก่อนว่าการเลิกกันนั้นไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่เด็กๆจะทำความเข้าใจได้ทันที แน่นอนย่อมมีคำถามมามากมาย นอกจากการตอบเชิงบวกตามที่เราบอกไปแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องใส่ใจคือการไม่ปฎิเสธกับความอยากรู้ อยากถาม ของลูก บางคนหงุดหงิดและตัดบทใส่ลูกว่าไม่ให้พูดเรื่องนี้อีก นั่นทำให้ลูกรู้สึกผิดและรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องต้องห้าม ทั้งๆที่จริงๆแล้วลูกต้องอยู่ในความสัมพันธ์นี้ไปตลอด จึงไม่ควรให้เขารู้สึกผิดกับมัน
ให้ความมั่นใจกับลูก
หน้าที่ของคุณคือยังต้องทำให้เค้ามั่นใจว่า “พ่อรักเขา” และ “แม่รักเขา” แม้ว่า “พ่อ-แม่จะไม่รักกันแล้วก็ตาม พูดง่ายๆ ก็คือ ยังเป็นที่รักของพ่อและแม่อยู่ “ และสามารถยอมรับได้ว่า “พ่อแม่ไม่รักกัน” ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่ได้เกิดขึ้นทันทีค่ะ เด็กจะเข้าใจตามพัฒนาการของเขา แน่นอนว่าเรื่องนี้ต้องใช้เวลา
ที่สำคัญคือถึงแม้พ่อกับแม่จะไม่ได้อยู่ด้วยกัน แต่พ่อกับแม่ก็ยังคงสถานะเดิม และลูกก็ยังคงเป็นลูกของทั้งคู่อยู่นั่นเอง
เมื่อคุณทำให้ลูกมั่นใจด้วยการให้ความรักและความห่วงใยแล้ว ก็ไม่รู้สึกขาดอะไรค่ะ เพราะได้รับความรักจากพ่อหรือแม่อย่างเต็มที่แล้ว และพร้อมที่จะเป็นกำลังใจให้พ่อและแม่เลี้ยงเดี่ยวต่อไปค่ะ
Related Courses
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...