ปัญหาพี่อิจฉาน้องที่พ่อแม่ต้องรับรู้
เรื่องการทะเลาะกันระหว่างพี่น้องถือเป็นเรื่องปกติเอามากๆ เลยะนะคะ คุณพ่อคุณแม่คงคุ้นชินกับภาพพี่ทะเลาะกับน้อง แย่งตุ๊กตากันบ้าง แย่งของเล่นกันบ้าง หรือคนนั้นพูดไม่ดีบ้าง ไม่ยอมกันบ้าง ซึ่งเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้กับทุกครอบครัวและทุกเวลา แต่บางครั้งคุณพ่อคุณแม่เองก็แอบเครียดไม่น้อย บางคนอาจจะคิดว่านี่เราเลี้ยงลูกไม่ดีเหรอ ทำไมลูกถึงทะเลาะกัน
ซึ่งจริงๆ แล้วปัญหาพี่อิจฉาน้องมักจะเกิดจากเมื่อแม่มีลูกคนที่สองขึ้นไปนั่นเอง เนื่องจากช่วงแรกๆ ที่มีน้องใหม่เกิด คุณแม่ๆ ก็จะต้องไปคอยดูแลน้องคนเล็กมากกว่า จนกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเป็นพี่รู้สึกว่าโดนแย่งความรักไป จนกลายเป็นความอิจฉาน้องขึ้นมา
ซึ่งหากอยากให้พี่รักน้อง สิ่งที่พ่อแม่ควรจะต้องทำก็คือ
1. ควรบอกลูกก่อนที่น้องจะออกมาว่า “หนูกำลังจะมีน้องนะลูก” พร้อมกับทำท่าชี้ไปที่ท้องของคุณแม่ให้ดูว่าน้องอยู่ตรงนี้นะ
2. ลองให้ลูกดูแลน้องตั้งแต่อยู่ในท้อง อาจจะเป็นการหยิบวิตามินบำรุงครรภ์ส่งให้คุณแม่ทาน แต่ก็อย่าลืมชมเชยลูกคนโตด้วยะนะคว่า “ลูกเป็นพี่ที่ดีเลยนะคะ ที่ช่วยดูแลน้องตั้งแต่อยู่ในท้องเลย” แล้วให้พี่คนโตลูบท้องแม่ดูสักหนึ่งที
3. แสดงความรักกับน้องในท้องสม่ำเสมอ อย่างการที่ให้พี่คนโตกอดท้องคุณแม่เหมือนกอดน้องอยู่ สอนให้พี่คนโตบอกรักน้อง และเราก็ต้องบอกรักลูกคนโตด้วย
4. เวลาเล่านิทานคุณพ่อคุณแม่ก็พยายามสอนเขาเรื่องการมีน้อง พี่รักน้อง มาอ่านให้ลูกฟังด้วยก็จะดีมากค่ะ หรือเมื่อถึงเวลาเล่นนิทาน ก็ให้พี่คนโตจับท้องคุณแม่ แล้วอาจจะบอกว่าเราเล่านิทานให้น้องฟังด้วยกันนะลูก ก็จะทำให้พี่คนโตรู้สึกรักน้องได้มากเลยค่ะ
5. หากหลังจากน้องออกมาจากท้องแล้ว ต้องบอกพี่คนโตทันทีว่า “น้องออกมาจากท้องแม่แล้วนะลูก” และน้องก็คือน้องของหนูที่เราช่วยกันดูแลมาตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่นั่นเอง อาจจะมีการให้พี่คนโตสัมผัสตัวน้องดู หรือให้เขาลองอุ้มน้องอย่างใกล้ชิด แต่ต้องมีผู้ใหญ่คอยดูแลอยู่ใกล้ๆ ด้วยนะคะ
6. หากิจกรรมที่ทำพร้อมกันทั้งครอบครัว อาจจะเป็นกิจกรรมเดิมที่คุณพ่อคุณแม่เคยทำร่วมกับพี่ก่อนที่น้องจะเกิดมา
7. มีน้องแล้วก็ต้องอย่าลืมหาเวลาชดเชยมาให้ความสนใจกับพี่คนโตบ้าง แล้วอาจจะให้คนในครอบครัวดูแลน้องคนเล็กแทน เพื่อไม่ให้พี่คนโตรู้สึกว่าแม่หรือพ่อไม่มีเวลาให้กับเขาเหมือนเดิมก่อนหน้านี้
8. สอนพี่คนโตให้รู้สึกแบ่งปันสิ่งต่างๆ ให้กับน้องคนเล็ก และต้องสอนให้พี่เป็นคนที่คอยดูแลน้องรักน้อง และปกป้องน้องด้วยค่ะ
9. หลีกเลี่ยงคำพูดที่กระทบกระเทือนจิตใจของพี่คนโต อย่างการพูดว่าตอนนี้แม่มีน้องอยู่ จะทำให้พี่คนโตรู้สึกว่าตัวเองเป็นหมาหัวเน่า ไม่มีใครรักใครสนใจ หรือ ไปเล่นที่อื่นก่อน แม่ต้องดูแลน้อง ไปเล่นห่างๆ น้องเลย อย่าจับน้องนะ ไม่มีใครรักแล้ว คำพูดเหล่านี้จะทำให้เขาหมดความมั่นใจในความรักของพ่อแม่ไปเลยค่ะ
10. หากเกิดปัญหาพี่อิจฉาน้องขึ้นมาจริงๆ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบเข้าไปพูดคุยกับลูกคนโต ให้เขาพูดถึงความรู้สึกและลองให้เขาได้ระบายความรู้สึกออกมา และทำความเข้าใจกับความรู้สึกของลูก พร้อมกับอยู่เคียงข้างเขาและพูดให้ลูกคนโตเข้าใจ ประคับประคองจิตใจเขาไปด้วยความเห็นใจค่ะ
11. มอบหมายหน้าที่ให้ลองช่วยดูแลน้อง โดยอาจจะให้คุณพ่อคุณแม่ทำลิสต์งานเลี้ยงน้องง่ายๆ ให้พี่คนโตดู เช่น การจัดเก็บผ้าอ้อมเข้าตู้ การเตรียมผ้าอ้อมผืนใหม่หลังอาบน้ำ เก็บผ้าอ้อมที่น้องใช้แล้วลงตระกร้า หยิบขวดนมให้แม่เมื่อน้องหิว เชื่อเลยว่าหากเขาทำสำเร็จเขาจะเกิดความภูมิใจว่าเขาเป็นพี่ที่ดีให้กับน้องได้นั่นเองค่ะ
เป็นยังไงกันบ้างคะกับวิธีแก้ปัญหาพี่อิจฉาน้องที่ผู้เขียนได้เขียนไปทั้งหมด หวังว่าคุณพ่อคุณแม่คงจะเข้าใจและเห็นใจพี่คนโตขึ้นมาบ้างนะคะ พี่คนโตก็คือลูกของเราคนหนึ่ง มีเจ้าตัวน้อยคนใหม่แล้วก็อย่าลืมแบ่งเวลามาให้พี่คนโตบ้างนะคะเดี๋ยวเขาจะน้อยใจเอา ทางที่ดีที่สุดคุณพ่อคุณแม่อาจจะให้เขารู้ไว้ล่วงหน้าเลยก็ได้ค่ะว่าแม่กำลังจะมีน้อง ให้เขาได้เลี้ยงน้องตั้งแต่อยู่ในท้อง คอยกอด คอยหอมท้องแม่ เชื่อว่าก็ช่วยได้ในระดับหนึ่งเลยนะคะ
Related Courses
สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้
คุณธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจ นำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างให้เด็กพร้อมที่จะเผชิญโลก และสังคมปัจจุ ...
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...