ไขข้อข้องใจการเรียนรู้ร่วมกันหมายความว่าอย่างไร ทำไมถึงสำคัญ
เรียกว่าเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่กำลังมาแรง สำหรับ การเรียนรู้ร่วมกัน ที่เน้นให้ผู้เรียนร่วมกันทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม แต่ การเรียนรู้ร่วมกันคืออะไร และสำคัญอย่างไรนั้น มาดูกัน
การเรียนรู้ร่วมกันคืออะไร
การเรียนรู้ร่วมกัน หรือ Collaborative Learning คือรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนทำงานในรูปแบบทีมหรือกลุ่มแทนการเรียนรู้แบบเดี่ยวรูปแบบเดิม ซึ่ง การเรียนรู้ร่วมกัน จะมาพร้อมประโยชน์ดังนี้
- ช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสาร การทำงานกับผู้อื่นจะช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารให้ผู้เรียน ทั้งด้านการทำความเข้าใจสิ่งที่เพื่อนร่วมทีมต้องการสื่อสารและการพูดอธิบายองค์ความรู้ที่ตัวเองมีให้กับผู้อื่นได้เข้าใจ
- ช่วยฝึกการคิดวิเคราะห์ แน่นอนว่าเมื่อทำงานด้วยกันหลายคนย่อมมีการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย จึงเป็นการช่วยฝึกฝนการคิดวิเคราะห์และหาข้อมูลเพื่อนำมาสนับสนุนแนวคิดหรือโต้แย้งความคิดเห็นของเพื่อนร่วมทีมอย่างสร้างสรรค์
- ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ถึงแม้ว่าการทำงานแบบกลุ่มหรือทีมมีโอกาสเกิดปัญหาได้มากกว่าการทำงานแบบเดี่ยว แต่ถึงอย่างนั้นการได้ทำงานร่วมกับผู้อื่นจะช่วยเสริมทักษะการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานด้วย
- ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน เนื่องจากการได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้สึกมั่นใจและกล้าแสดงความคิดมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการเรียนและบุคลิกภาพในอนาคต
- สร้างบรรยากาศในการเรียนให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น การทำงานในรูปแบบทีมหรือกลุ่มทำให้บรรยากาศโดยรวมของชั้นเรียนมีความสนุกสนานและน่าสนใจมากขึ้น แตกต่างจากชั้นเรียนแบบเดิม เพราะผู้เรียนรู้สึกเหมือนได้สื่อสารหรือโต้เถียงกับผู้เรียนคนอื่นตลอดเวลา
แนวทางจัดการสอนให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
สำหรับขั้นตอนการจัดการสอนแบบ การเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ต่างจากการสอนในรูปแบบอื่น โดยเริ่มต้นจากการกำหนดงาน กำหนดปัญหาหรือสถานการณ์ ประชุมเพื่อวางแผนการเรียนรู้ ดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้ นำเสนอผลงาน และประเมินผลงานร่วมกัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญคือการจัดกลุ่มการเรียนรู้ ซึ่งมีเทคนิคที่ได้รับความนิยมดังนี้
- เทคนิคการจัดทีมแข่งขัน หรือ Team Games Tournament (TGT) เป็นเทคนิคการจัดการสอนด้วยการแบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก โดยคละความสามารถของนักเรียนเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการแข่งขันและเกิดกระบวนการช่วยเหลือกันภายในทีมด้วย
- เทคนิคการต่อเรื่องราว หรือ Jigsaw เป็นเทคนิคการจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีระดับความรู้แตกต่างกันมาร่วมกันอภิปรายและแลกเปลี่ยนความรู้ แต่ทั้งนี้ผู้สอนต้องมีการประเมินให้คะแนนเป็นรายบุคคลเท่านั้น
- เทคนิคร่วมกันคิด หรือ Numbered Heads Together (NHT) เป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับตรวจสอบความเข้าใจของสมาชิกในกลุ่มที่มีระดับความรู้แตกต่างกัน โดยให้ผู้เรียนทุกคนร่วมกันค้นหาความรู้จากโจทย์ปัญหาที่ผู้สอนกำหนด แต่การประเมินผู้สอนจะใช้การประเมินรายบุคคลเพื่อประเมินความช่วยเหลือของทีม
- เทคนิคเพื่อนคู่คิด 4 สหาย หรือ Think Pair Square เป็นเทคนิคการจัดการสอนแบบให้ผู้เรียนค้นคว้าหาคำตอบของโจทย์ปัญหาที่ผู้สอนตั้งขึ้นด้วยตัวเอง หลังจากนั้นจึงนำคำตอบที่ค้นคว้าได้มาอภิปรายพร้อมกัน 4 คน เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ค้นคว้ามาได้
- เทคนิคคู่ตรวจสอบ หรือ Pairs Check เป็นเทคนิคที่ให้ผู้เรียนทำงานเป็นคู่ โดยให้ผู้เรียนสลับบทบาทระหว่างผู้ทำงานและผู้นำเสนอ ซึ่งหลังจากตอบคำถามผู้สอนจะให้ทั้งสองแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และตรวจสอบคำตอบของผู้เรียนอื่นด้วย ซึ่งทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่หลากหลายขึ้น
- เทคนิคเล่าเรื่องรอบวง หรือ Round Robin เป็นเทคนิคการจัดกลุ่มให้ผู้เรียนแต่ละคนผลัดกันเล่าเรื่อง อธิบาย ถามตอบ ด้วยการเขียนหรือวาดให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งนอกจากเป็นการเรียนรู้ร่วมกันแล้ว ผู้เรียนยังได้ฝึกการสื่อสารไปพร้อม ๆ กันด้วย
สื่อโซเชียลมีประโยชน์อย่างไรกับการเรียนรู้ร่วมกัน
ถึงแม้ว่า การเรียนรู้ร่วมกัน จะเน้นการทำงานแบบกลุ่ม แบบทีม และการสื่อสารระหว่างกัน แต่ปัจจุบันยังมีการนำเทคโนโลยี อย่างสื่อโซเชียลหรือคอร์สเรียนออนไลน์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน เนื่องด้วยมีประโยชน์ดังต่อไปนี้
- ช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งความรู้มากขึ้น เพราะในปัจจุบันนี้การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังสามารถหาความรู้จากคอร์สออนไลน์และบทความได้เช่นกัน โดยมีให้เลือกทั้งแบบเสียเงินและฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ง่ายและกว้างขึ้น
- ช่วยสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เพราะสื่อโซเชียลช่วยย่อโลกการเรียนรู้ให้ใกล้กันและไม่จำกัดเวลา ทำให้ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็นและสื่อสารกันได้อย่างไม่มีข้อจำกัด
- ช่วยดึงความสนใจของผู้เรียนมากยิ่งขึ้น เพราะการสื่อสารที่รวดเร็วและเข้าถึงได้ง่าย อย่างการใช้สื่อโซเชียลแสดงความคิดเห็นบน ชุมชนออนไลน์ การเข้าชมการถ่ายทอดสด หรือกระทั่งการทำแบบฝึกหัดออนไลน์ จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้มากขึ้นกว่าการเรียนรูปแบบเดิม ๆ ที่เป็นเพียงการรับฟังสรุปจากผู้สอนหรือหนังสือ
เป็นอย่างไรบ้างสำหรับข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ การเรียนรู้ร่วมกัน ที่เรานำมาฝาก ซึ่งจะเห็นว่าเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่น่าสนใจและช่วยเสริมทักษะในด้านต่าง ๆ ให้กับผู้เรียน แต่สำหรับคนที่อยากเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนคนอื่นผ่านช่องทางออนไลน์ แนะนำ Starfish Labz แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์แห่งแรกของประเทศไทยที่มาพร้อมคอร์สเรียนและบทความน่าสนใจมากมายสำหรับทุกคน
ที่มาข้อมูล
- https://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/viewFile/62/61
- https://prezi.com/onbvrds3ld51/collaborative-learning/
- https://www.hmhco.com/blog/benefits-of-small-group-instruction
- https://dekdee.org/th/news/115841-10-เทคนิค-สอนให้ผู้เรียนร่วมมือกันเรียนรู้
- https://socialbu.com/blog/role-of-social-media-in-education
Related Courses
สพป. เชียงใหม่ เขต 5
สำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 5 404 หมู่ 10 ฮอด-วังลุง ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 50240
สพป. สมุทรสาคร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2/3 หมู่ 8 ถ.เศรษฐกิจ1 ต.ท่าทราย อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร 74000
สพป. เชียงใหม่ เขต 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 เลขที่ 134 หมู่ 8 ถนน เชียงใหม่-ฮอด ตำบลสันกลางอำเภอสันป่าตอง จังห ...
สพป. เชียงใหม่ เขต 6
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 190 หมู่ 15 ต.ข่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 50160