ถอดประเด็นเวทีการประชุมระดับนานาชาติ didacta asia 2024 : Ministerial Panel on "Southeast Asia Education Policies"
การปรับนโยบายการศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ละประเทศในภูมิภาคนี้เผชิญกับความท้าทายด้านการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ และเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของแต่ละประเทศ
Q: นโยบายของแต่ละประเทศมีผลกระทบต่อระบบการศึกษาในปัจจุบันอย่างไร โดยเฉพาะในด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา
Datuk Dr.Hannah Abdul Rahim SEAMEO Secretariat Director
จากการรายงานและสถิติที่พบล่าสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2023 มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในการใช้เทคโนโลยีในหลาย ๆ ด้าน รวมถึงการศึกษา ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้ ทุกประเทศในภูมิภาคมีนโยบายที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระดับโรงเรียน เช่น ระบบการจัดการเรียนรู้ในไทย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ โดยมากกว่า 80% ของการเรียนการสอนในโรงเรียนเกี่ยวข้องกับช่องทางออนไลน์
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยียังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาในภูมิภาคนี้ได้อย่างทั่วถึง ยังมีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษา โดยเฉพาะระหว่างนักเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและนักเรียนที่มีฐานะยากจน รวมถึงครูผู้สอน ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้ขึ้นอยู่กับประเภทของเทคโนโลยีและรูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้ ครูจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเรียนรู้ นี่คือความท้าทายที่ต้องเผชิญ ซึ่งครูจำเป็นต้องพัฒนาทักษะและความสามารถในการจัดการเรียนรู้ให้ได้ตามความต้องการ ขณะเดียวกันแต่ละประเทศก็กำลังพยายามสนับสนุนการพัฒนานี้ เช่น การให้คำปรึกษาทางออนไลน์และการสร้างชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ในกัมพูชา อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย
H.E. Mr Nos Sies Secretary of State of the Ministry of Education, Youth and Sport Cambodia
ในประเทศกัมพูชา วิชาเทคโนโลยีและหลักสูตรได้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับนักเรียน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา และมีการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องในทุกระดับชั้น หลักสูตรได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยตามเนื้อหาที่นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้ เช่น ข้อมูลและโครงข่าย การคิดเชิงคำนวณ การเขียนโค้ด การใช้งานมัลติมีเดีย รวมถึงการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการใช้เทคโนโลยี ครูได้รับการอบรมและเตรียมความพร้อมเพื่อสอนนักเรียนให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะครูที่เน้นสอนด้านเทคโนโลยี เป้าหมายคือการพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจและความฉลาดทางเทคโนโลยี เพื่อสร้างให้ประชากรเป็นส่วนหนึ่งของสังคมดิจิทัล
Assoc. Prof. Dr. Rattachat Mongkolnavin Chairperson of The committee on Promoting and Enhancing Higher Education toward Quality and International Standards
ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบบการศึกษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเฉพาะในโครงสร้างการบริหารที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มุ่งเน้นให้การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ และผู้เรียนมีความสุขกับการศึกษา มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศได้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการศึกษาโดยเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น การวิจัยและเทคโนโลยี เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด รวมถึงการพัฒนาจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญเฉพาะของแต่ละสถาบันเป็นจุดแข็งที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เราต้องพัฒนาและเสริมสร้างความเข้าใจทางดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเยาวชนในยุคใหม่ การให้ความรู้เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ จะเป็นกุญแจสำคัญในการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต และการต่อยอดทักษะอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้เรารับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ละประเทศมีนโยบายอย่างไรในการนำเทคโนโลยีมาใช้และพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
Datuk Dr.Hannah Abdul Rahim SEAMEO Secretariat Director
การใช้เทคโนโลยีควรปรับให้เหมาะสมกับบริบทท้องถิ่นใกล้ตัว ไม่เพียงแต่ในระดับประเทศหรือในแง่มุมที่ห่างไกลจากชีวิตประจำวันเท่านั้น การพัฒนาผู้สอนเพื่อจัดการเรียนการสอนและการประเมินผู้เรียน รวมถึงการใช้เทคโนโลยี ควรคำนึงถึงความยั่งยืน ไม่ใช่เพียงแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ หรือมุ่งเน้นเทคโนโลยีแต่ควรเน้นการใช้งานที่สามารถขยายผลในระยะยาว ทั้งนี้ ครูยังคงมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนรู้และต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
H.E. Mr Nos Sies Secretary of State of the Ministry of Education, Youth and Sport Cambodia
นโยบายระดับชาติในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้เทคโนโลยี และการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้และพัฒนาเทคโนโลยีในโรงเรียน โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ รวมถึงการสร้างผู้นำและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษา
Assoc. Prof. Dr. Rattachat Mongkolnavin Chairperson of The committee on Promoting and Enhancing Higher Education toward Quality and International Standards
การใช้ AI ในการเรียนรู้และการสอน ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา โดยเน้นที่นโยบายการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพและเพียงพอ ในยุคที่ข้อมูลมีอยู่มากมายทั้งในระดับโลกและในพื้นที่ที่ยังขาดการเชื่อมต่อ AI ช่วยให้นักเรียนสามารถเป็นผู้เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การสร้างธนาคารหน่วยกิตและพื้นที่นวัตกรรมยังส่งเสริมให้นักเรียนมีอิสระในการจัดการเรียนรู้ ทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงความรู้จากผู้เชี่ยวชาญได้อย่างตรงเป้าหมาย ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างเหมาะสม
ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Starfish Education
เราตระหนักถึงความท้าทายที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานของเทคโนโลยีและคุณภาพเนื้อหา แต่ยังรวมถึงการเรียนรู้ที่ต้องทำให้รวดเร็วขึ้น ในขณะที่ต้องปรับโครงสร้างให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ เรายังมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ AI ซึ่งยังไม่ได้พูดถึงอีกมากมาย แต่นี่คือเครื่องมือที่สำคัญ โดยแต่ละประเทศควรให้ความสำคัญในการกำหนดนโยบายเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
Related Courses
โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว
โรงเรียนปลาดาว เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะสำคัญทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต ผ่าน ...
โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว
STAMPER Learning การเรียนรู้แบบบูรณาการ
STAMPER Learning เป็นการบูรณาการแบบใหม่ ครบจบทั้งขั้นตอนการเรียนรู้ และการประเมินผลสำหรับครู ซึ่งทำได้ง่ายๆ ในกิจกร ...
โรงเรียนปลาดาว ต้นแบบนวัตกรรมการเรียนรู้สู่อนาคต
โรงเรียนปลาดาว เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะสำคัญทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต ผ่าน ...
Micro Learning เรียนคณิตศาสตร์ ม.1-3
คอร์สนี้เป็นการเรียนรู้การเกี่ยวกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3 โดยแบ่งเป็นบทเรียนที่เหมาะสมกับต่ละรดับชั้น ...