เข้าใจเรื่อง Bully กับสิ่งที่ลูกต้องเจอในโรงเรียน
เรื่องราวรับเปิดเทอมนี้ไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องของโรคระบาด Covid 19 เท่าเราต้องระวังเท่านั้นนะคะ แต่นอกจากสุขภาพกายที่เราต้องเฝ้าระวัง แต่สุขภาพจิตใจของลูกๆก็สำคัญไม่แพ้กันค่ะ
ขึ้นชื่อว่าโรงเรียนก็จัดว่าเป็นสังคมที่ร้อยพ่อพันแม่จริงๆ ค่ะ เพราะถึงแม้เราจะเลือกสังคมคุณภาพให้ลูกจากรูปแบบของโรงเรียนได้ แต่นั่นก็เป็นสังคมกว้างๆค่ะ เพราะในกลุ่มเพื่อนเล็กๆ ที่ลูกต้องอยู่ใกล้และเรื่องการล้อเลียน กลั่นแกล้งกัน (Bully) ก็เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องที่เด็กๆ แทบทุกคนต้องพบเจอ
Bully ที่โรงเรียน เริ่มต้นจากที่บ้าน
ทราบไหมคะว่าเรื่องการกลั่นแกล้งนั้นเกิดที่โรงเรียนก็จริง แต่จริงๆแล้วพฤติกรรมการกลั่นแกล้งนั้น เริ่มต้นจากที่บ้านค่ะ งานวิจัยที่เผยแพร่ลงในเว็บไซต์ Live Science มีข้อมูลน่าสนใจ จากการสอบถามเด็กนักเรียนวัย 12 – 16 ปี จากโรงเรียน 14 แห่งในสหราชอาณาจักรที่เคยมีประสบการณ์กลั่นแกล้งเด็กคนอื่นๆ
เปรียบเทียบกับเด็กอีก 478 คนที่ไม่เคยแกล้งใครพบว่า ส่วนใหญ่แล้วเด็กที่ชอบแกล้งเพื่อนมักเติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่มีแค่แม่หรือพ่อเพียงคนเดียว อาศัยอยู่กับญาติ หรือพ่อแม่อุปถัมภ์ และไม่ได้รับความใส่ใจจากที่บ้านมากเท่าที่ควร ข้อมูลนี้สะท้อนความจริงสำคัญว่าสถาบันครอบครัวคือส่วนสำคัญที่สุดในการหล่อหลอมคนๆ หนึ่งให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่
กลั่นแกล้ง (Bully) แก้ได้ด้วยเมตตา (Mercy)
อ่านถึงตรงนี้หลายคนมีคำถามว่า เอ้า...แล้วเราจะไปแก้ไขปัญหาที่บ้านเด็กคนนั้นได้อย่างไร? เราทำไม่ได้หรอกค่ะ ได้เพียงแค่ “เข้าใจ” ทั้งเด็กที่เป็นเหยื่อ และเด็กที่แกล้งผู้อื่น ที่สำคัญ ไม่ควรตอบโต้ความรุนแรง ด้วยความรุนแรงค่ะ
แล้วถ้าลูกถูกเพื่อนแกล้งต้องทำอย่างไร?
ถ้าให้ลูกเดินหนี หรือวิ่งหนีจะไม่เป็นการหนีปัญหาหรือ? คงมีคำถามวนในหัวคุณพ่อคุณแม่ ในทางจิตวิทยาเราถือว่าการออกมาจากปัญหาช่วยนั้นเป็นการไม่สนองตอบต่อการกระทำที่เราไม่ต้องการ และเมื่อไม่ได้รับการตอบสนอง คนแกล้งก็ไม่รู้จะทำไปทำไมถูกไหมคะ? ดังนั้นการออกมาจากจุดนั้นให้เร็วที่สุดคือคำตอบค่ะ
แล้วเด็กๆ ที่ชอบกลั่นแกล้งเพื่อนจะต้องถูกลงโทษไหม? เราขอบอกเลยว่าการลงโทษนั้นจำเป็นค่ะ แต่ต้องไม่ใช่ความรุนแรงดังที่กล่าวไป griktนอกเหนือจากที่การลงโทษจะทำให้ผู้กลั่นแกล้งได้รู้ว่านี่เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่ควรทำแล้ว การลงโทษที่เหมาะสม ก็ยังกระตุ้นให้เหยื่อที่ถูกรังแกรู้สึกว่าพวกเขายังมีคนที่พึ่งพาได้ ไม่ถูกทิ้งไว้กลางทางอีกด้วย
แล้วถ้าลูกเราเป็นฝ่ายแกล้งเพื่อนล่ะ?
ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจลูกก่อนว่านี่ไม่ใช่เรื่องปกติ นั่นหมายความว่าลูกอาจจะเคยถูกแกล้งมาก่อน, ความพึงพอใจในตนเองต่ำ ไม่เห็นค่าของคนเอง หรือแม้แต่แท้จริงแล้วลูกรู้สึกโดดเดี่ยว นั่นสะท้อนกลับมาที่บ้านและตัวคุณพ่อคุณแม่เป็นหลักเลย หรือบางทีอาจจะเป็นเพราะลุกไม่รู้จะจัดการกับ “ความต่าง” ที่เกิดขึ้นกับผู้อื่นได้อย่างไร เช่น เชื้อชาติ, เพศ, สีผิว หรือแม้แต่ความพิการ ที่แตกต่างจากเขา หน้าที่จองคุณพ่อคุณแม่จึงต้องมาเติมเต็มตรงนี้
ใช้ความอ่อนโยนในการสร้างความเข้าใจให้แก่เด็กๆที่ชอบแกล้งเพื่อน พูดคุยให้พวกเขามองเห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในสังคม ให้โอกาสและเวลาพวกเขาในการปรับปรุงตัว การปฏิบัติต่อเด็กที่ก้าวร้าวด้วยความเคารพและเมตตาจะช่วยให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นได้มากกว่า
จะเห็นได้ว่าเราให้ความสำคัญกับเด็กที่ชอบแกล้งเพื่อนมากกว่าเหยื่อเพราะพวกเขาคือจุดเริ่มต้นของการกลั่นแกล้ง เด็กที่ชอบรังแกเพื่อน มีหลายคนที่เคยถูกรังแกมาก่อน ไม่ว่าจะจากเพื่อนหรือจากครอบครัวก็ตาม และพวกเขารู้สึกว่าต้องระบายความโกรธเกรี้ยวที่ตนเองได้รับออกไปให้ผู้อื่น ทำให้เกิดวงจรการแกล้งแบบไม่มีที่สิ้นสุด
Related Courses
สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้
คุณธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจ นำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างให้เด็กพร้อมที่จะเผชิญโลก และสังคมปัจจุ ...
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...