5 เทรนด์การบริหารการศึกษายุคใหม่ที่ผู้บริหารต้องจับตามอง
หากพูดถึงการบริหารการศึกษาแล้ว หลายๆคนอาจนึกถึงวิธีการการบริหารในหลากหลายรูปแบบ จากตำรา จากการฝึกฝน จากการสอน หรือการเรียนรู้ในที่ต่างๆ แต่สำหรับใครหลายๆ คน อีกหนึ่งกลวิธีการเรียนรู้เรื่องการบริหารการศึกษาที่ดี และน่าสนใจไม่แพ้กันก็คือการศึกษาเรื่องเทรนด์ หรือแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นในที่ต่างๆ โดยเฉพาะในต่างประเทศ หรือในประเทศของเราเองที่แน่นอนว่าต่างมีนวัตกรรมหลากหลายมากมายที่กำลังถูกทดลองใช้หรือใช้งานจนเข้ามือและน่าสนใจ
แต่จะมีเทรนด์ไหนที่น่าลองหยิบจับ นำมาใช้งาน หรือเรียนรู้กันบ้าง ตาม Starfish Labz มาเรียนรู้กันในบทความนี้เลยค่ะ
5 เทรนด์การบริหารการศึกษายุคใหม่ที่ผู้บริหารต้องจับตามอง
1. Data-Driven Decision Making in School Administration
หากแค่ฟังก็ดูคูลสุดๆ แล้ว ก็เป็นเพราะนี่คือหนึ่งในเทรนด์ที่ไม่เพียงแค่น่าสนใจแต่ยังเหมาะต่อการนำมาประยุกต์ใช้อย่างยิ่ง Data-Driven Decision Making in School Administration คือเทรนด์แห่งการบริหารที่ว่าด้วยการหยิบจับศาสตร์ของการวิเคราะห์ข้อมูลอย่าง Data Analysis เข้ามาใช้เพื่อให้เกิดการตัดสินใจอย่างดีที่สุด ตั้งแต่การบริหารจัดการ การพัฒนาหลักสูตร ไปจนถึงการตัดสินใจเล็กๆ หรือใหญ่ๆ ต่างๆ ด้วยเครื่องมือ Data Analysis ผู้นำทางการศึกษาก็สามารถแก้ไขและจัดการสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นและตรงเผงอย่างมหัศจรรย์
2. Students’ Mental and Overall Well-Being
รายงานบทความจาก Education Week โดย Arianna Prothero เผยว่าในการศึกษาและสำรวจโดย Center for Democracy & Technology “นักเรียนมากกว่า 1,209 คนหันมาใช้แชทบอทที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อถามคำถามเกี่ยวกับวิธีจัดการกับความสัมพันธ์ของพวกเขา พวกเขากำลังถามคำถามแชทบอทที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์โรแมนติก การจัดการกับปัญหากับครอบครัวและเพื่อน ๆ และแม้แต่การรับมือกับความวิตกกังวลและปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ”
ผลการศึกษาดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นว่าเด็กๆ ในช่วงเวลาปัจจุบัน หรือไม่ว่าจะในช่วงเวลาไหนๆก็ตาม ล้วนปรารถนาการดูแล การซัพพอร์ต และการแนะนำจากผู้ที่มีความสามารถ และการหันหน้าไปพึ่ง AI อาจไม่ใช่หนทางที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขา รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ในการเข้าถึงการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ ด้วยปัญหาเหล่านี้ รวมถึงหลากหลายความละเอียดอ่อนในเรื่องจิตใจของเด็กๆ การหันมาให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพ หรือ Well-Being ของเด็กๆ รวมถึงบุคลากรจึงถือเป็นอีกหนึ่งเทรนด์การบริหารทางการศึกษาที่กำลังมาแรงอย่างยิ่ง ซึ่งส่วนหนึ่งก็อาจเป็นผลมาจากการเติบโตและการที่เรื่องสุขภาพได้รับการพูดถึงและมีความเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นในปัจจุบันนั่นเอง
3. Shared Decision-Making
บทความจาก FGCU ให้ความเห็นว่าผู้นำด้านการศึกษายุคใหม่มีความพยายามในการเปิดรับการทำงานร่วมกัน ในฐานะผู้นำเพื่อท้าทายโครงสร้างทีมผู้นำในรูปแบบเดิมและส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างนักการศึกษา และเจ้าหน้าที่สนับสนุนนักเรียน รวมถึงคุณครู การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เผยให้เห็นถึงคลื่นใหม่ในการทำงานด้านการศึกษา โดยเฉพาะการบริหารวิชาการ หรือการพัฒนาหลัการบริหารงานวิชาการที่แต่เดิมอาจยึดตามที่เคยมี ตามหลักสูตร หรือตามส่วนกลางให้กลายมาเป็นการพัฒนาที่น่าสนใจ ยืดหยุ่น สมัยใหม่ และเปิดรับการมีส่วนร่วมจากรอบด้าน
บทความ Edutopia ยังระบุว่าโรงเรียนมักล้มเหลวในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ดีที่สุดที่มีอยู่ นั่นก็คือ “ครู” ซึ่งเป็นผู้ที่มีข้อมูลเชิงลึกและประสบการณ์โดยตรงมากมายว่าอะไรได้ผล และอะไรใช้ไม่ได้ผลในโรงเรียนสำหรับตนเองและนักเรียน
ผู้นำด้านการศึกษาจำนวนมากยังขยายบทบาทความเป็นผู้นำ สู่ผู้ให้คำปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในการมองสิ่งต่างๆ ลึกลงไปกว่าแค่ในฐานะผู้บริหาร พวกเขามีความละเอียดอ่อนมากขึ้นในการบูรณาการหรือใช้งาน ซึ่งสามารถให้มุมมองเพิ่มเติมเกี่ยวกับความต้องการของนักเรียน และการดำเนินงานของโรงเรียนแก่ครู รวมถึงบุคลากรคนอื่นๆ ในโรงเรียนได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบความเป็นผู้นำดั้งเดิม ไปเป็นรูปแบบความเป็นผู้นำในโรงเรียนแบบใหม่ที่มีการทำงานร่วมกันมากขึ้นเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีและมีประโยชน์ที่สุดต่อทุกคนโดยรวม
4. Innovation and Hybrid Environment for Best Learning
นวัตกรรมและการเรียนรู้แบบผสมผสาน เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่แน่นอนว่ากำลังเติบโตและมาแรงอย่างยิ่งในปัจจุบัน เทคโนโลยีการศึกษากำลังเข้ามามีบทบาทในการทำงานด้านต่างๆ ตั้งแต่การบริหารจนถึงการเรียนรู้ และห้องเรียนในปัจจุบัน ยังมีลักษณะของการผสมผสานระหว่างการเรียนรู้ทางกายภาพและการใช้งานเครื่องมือ เทคโนโลยีทางการศึกษาต่างๆ ผู้นำที่ดีในยุคปัจจุบันและอนาคตจึงปฏิเสธไม่ได้เลยที่จะแตะถึงความก้าวหน้าตรงนี้ ในการสร้างและจัดการการเรียนรู้ที่มีความเป็นสมัยใหม่ หรือตอบโจทย์ความต้องการที่ดีที่สุดให้นักเรียน ตลอดจนคุณครูในปัจจุบัน
5. Upskill and Development
ในปัจจุบันเรามักพูดถึงการ Upskill ในบริบทของการทำงานในบริษัท แต่ในโรงเรียนหรือแวดวงการศึกษาเอง ความสำคัญของการ Upskill หรือการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องของบุคลากร ก็เริ่มมีการถูกพูดถึงแล้วเช่นกัน โดยสำหรับในเทรนด์ดังกล่าวนี้ คุณสมบัติสำคัญของผู้นำก็คือการเข้าใจถึงความสำคัญของการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนความสามารถในอัปเดตความรู้และทักษะต่างๆ ในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของบุคลากร การออกโปรแกรมช่วยการพัฒนา หรือการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างทักษะและวิชาชีพของแต่ละสาขาหรือแผนก ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารงานวิชาการ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพการสอนและผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็กๆ
และนี่ก็คือ 5 เทรนด์การบริหารการศึกษาที่วันนี้ Starfish Labz ได้รวบรวมและนำมาฝากกัน แต่ละเทรนด์เรียกได้ว่าไม่เพียงเจ๋งแต่ยังมีแก่นของคุณประโยชน์ที่สามารถปฏิรูปรูปแบบการเรียนรู้ การสอน และการบริหารอย่างยิ่ง กล่าวได้ว่าใครที่กำลังมองหาแนวคิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ต้องลองเริ่มแตะหนึ่งใน 5 เทรนด์นี้เลยค่ะ
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
“FutureEd Fest 2023” งานเฉลิมฉลองเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมส่งเสริมและเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
วิธีพัฒนาตนให้ Modern อยู่เสมอ
FutureEd Fest งานเฉลิมฉลองสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักนวัตกรรมการศึกษา 2023
Related Courses
How to วิธีการหาทุนสำหรับมือใหม่
ทุกคนมีความฝัน แต่หลายคนกลับไปไม่ถึงฝันเพราะต้นทุนชีวิตน้อย การมองหาทุนการศึกษาจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีส่วนช่วยสนับสนุนก ...
ชุมชนการเรียนรู้ ชุมชนแห่งการพัฒนา
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้บุคลากรทางการศึกษาได้เรียนรู้แ ...
โอริกามิ สื่อการพับกระดาษญี่ปุ่น
การเรียนรู้เรื่องโอริกามิ การพับกระดาษแบบญี่ปุ่นจะได้เรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมา ความหมาย เทคนิคการพับกระดาษ และแนวกา ...
Curriculum, Pedagogical Innovations
คอร์สเรียนนี้มุ่งเน้นพัฒนาหลักสูตร และวิธีการสอนที่ทันสมัย เพื่อให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โดยผ่านกลยุทธ์ที่หลากหลาย ให้ความสำ ...