การเรียนรู้ที่เติมเต็มชีวิต และสร้างความหมายเชิงบวก โรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก
Starfish Learning Hub ศูนย์การเรียนรู้ที่ออกแบบมาเพื่อสร้างประสบการณ์และพัฒนาทักษะในอนาคตผ่านการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ โดยก้าวข้ามการเรียนรู้แบบเดิมๆ ด้วยการนำกระบวนการศึกษาแบบ EDICRA และกิจกรรม Makerspace พื้นที่นักสร้างสรรค์ มารวมเข้าด้วยกัน
เมื่อวันที่ 4-6 กรกฏาคม ที่ผ่านมา ทีมโค้ช Starfish Academy ได้มีโอกาสต้อนรับและจัด Workshop ในรูปแบบค่ายพัฒนาทักษะเด็กและผู้ปกครองให้กับตัวแทนผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก จำนวนทั้งหมด 84 คน ซึ่งครั้งนี้ได้มีโอกาสจัด Workshop ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ณ ศูนย์การเรียนรู้ Starfish Learning Hub
จากการเก็บ Impact ที่ผู้เขียนได้เข้าไปสัมภาษณ์พูดคุยร่วมกันกับตัวแทนคณะผู้เข้าร่วม Workshop ในครั้งนี้ ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ดร.พิษณุ กันแตง และคุณครูอธิป แย้มเสมอ โดยเล่าสะท้อนถึงประสบการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้ ซึ่งมีคำถามสัมภาษณ์อยู่ 5 ประเด็นด้วยกัน โดย ดร.พิษณุ กันแตง และคุณครูอธิป แย้มเสมอ ซึ่งเป็นผู้จัดโครงการนำร่องผู้ปกครองของโรงเรียนอนุบาลพิษณุโลกให้เข้ามาร่วมในครั้งที่ 2 นี้ เริ่มจากคำถามสัมภาษณ์ ดังนี้
1 ปีที่ผ่านมา มีการนำเอารูปแบบหรือกระบวนการไปปรับใช้กับกิจกรรมอะไรบ้าง ?
ดร.พิษณุ : ก่อนอื่นขอขอบคุณผู้จัดที่เปิดโอกาสให้โรงเรียนอนุบาลพิษณุโลกเข้ามาร่วมกิจกรรมและเยี่ยมชมในครั้งนี้ หลังจากที่ได้มาครั้งแรกเราเอาไปปรับใช้ในการสร้างแผนเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียน โดยนำกระบวนการการเรียนรู้ Makerspace พื้นฐานในการพัฒนาวิธีคิดของเด็ก ปรับห้องเรียนให้เป็นห้อง Makerspace โดยใช้ Concept ที่มีชื่อว่า Learn And Play เด็กๆ ได้มีโอกาสใช้ห้องกิจกรรมนี้ และมีความต้องการที่จะใช้ห้องเพิ่มขึ้นในระหว่างการทำกิจกรรมครับ
คุณครูอธิป : นำกระบวนการไปสอนและปรับใช้ในโรงเรียน เริ่มจากคุณครูปรับกระบวนการเรียนการสอน บูรณาการในการจัดกิจกรรม ซึ่งเราได้จัดพื้นที่ห้อง Makerspace ให้กับนักเรียนในโรงเรียนค่ะ
ความคาดหวังในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งที่ 2 นี้คืออะไร ?
ดร.พิษณุ : การนำผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ เป็นการเปิด Mindset ของผู้ปกครอง เพื่อให้รู้ว่ากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้เกิดทักษะในอนาคต จำเป็นต้องปรับการเรียนการสอน สิ่งที่คาดหวัง คือ ผู้ปกครองจะต้องเข้าใจกระบวนการสอนของเราและสามารถนำผลไปขยายต่อที่บ้านได้
คุณครูอธิป : เราคาดหวังให้ผู้ปกครองมาซึมซับและเข้าใจกระบวนการจาก Workshop ครั้งนี้ และสามารถนำกระบวนการไปเริ่มต้นที่บ้านร่วมกันและส่งต่อมาให้โรงเรียน ถึงโรงเรียนจัดกิจกรรม Makerspace อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นที่บ้านก็ต้องต่อเนื่องและสอดคล้องกับทางโรงเรียน มาให้เรียนรู้กระบวนการในการใช้คำถามในการทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียน และพัฒนาทักษะในชีวิตประจำวันร่วมกันได้
กิจกรรมนี้ตอบโจทย์ความต้องการไหม ?
ดร.พิษณุ : เราต้องการเปิด Mindset ของผู้ปกครอง เพราะฉะนั้นกิจกรรมนี้ตอบสนองความต้องการอย่างมาก โดยที่ผ่านมาได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ปกครองที่มาร่วมกิจกรรมครั้งนั้นด้วยกัน เขาเสนอความเห็นมาว่าทำไมไม่เปิดโอกาสให้เครือข่ายผู้ปกครอง หรือชั้นอื่นๆ ให้เข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย เพื่อจะเข้าใจวิธีการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ซึ่งเราก็เห็นว่า เป็นข้อเสนอแนะที่ดีและก็คาดหวังว่าทางผู้จัดจะเปิดโอกาสให้เรามาเป็นครั้งที่ 3
คุณครูอธิป : กิจกรรมนี้ตอบโจทย์ความต้องการ คือ
1. แยกผู้ปกครองกับเด็กออกจากกันได้ โดยให้ผู้ปกครองเรียนรู้กระบวนการร่วมกัน (เรามาเพื่ออะไรและกระบวนการนี้สำคัญกับการเลี้ยงดูบุตรหลานยังไง) พอหลังจากนั้น แทนที่จะเรียนรู้จากทฤษฎีอย่างเดียว ผู้ปกครองได้ลงมือปฏิบัติ ก็ได้เรียนรู้กระบวนการจากการลงปฏิบัติร่วมกันด้วย
2. เด็กได้ฝึกทักษะในการแก้ไขปัญหา การวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน การคิดวิเคราะห์และการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
เห็นการเปลี่ยนแปลงด้านผู้เรียนอย่างไรบ้าง ?
ดร.พิษณุ : เห็นกิจกรรม Workshop ในครั้งนี้ สิ่งแรกที่ประทับใจ คือ เด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 2 กล้าแสดงออกอย่างมาก นั่นเป็นเพราะว่าก่อนมาโรงเรียนได้นำกระบวนการเรียนการสอน Makerspace ไปใช้ในห้องเรียนแล้ว เพราะฉะนั้นเด็กจะถูกฝึกมาเป็นระยะหนึ่งแล้ว เพียงแต่ว่าวันนี้ผู้ปกครองได้มาเห็นครั้งแรกก็รู้สึกประทับใจลูกหลานเป็นอย่างมาก ซึ่งมองดูแล้วผู้ปกครองก็เข้าใจและเขาถึงพัฒนาการของลูกหลานมากขึ้น
คุณครูอธิป : ส่วนตัวผู้เรียนจากที่เคยก้าวร้าวหรือทำงานสะเปะสะปะ ผู้เรียนกลับมาอยู่ในกระบวนการมากขึ้น เราเห็นผลตรงนี้ได้อย่างชัดเจนค่ะ เพราะที่ผ่านมาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน เด็กรู้จักการวางแผน การออกแบบ รู้จักการแก้ไขปัญหา ทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้จักการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน คิดสร้างนวัตกรรมที่มีความหมายของตนเอง
อยากบอกอะไรให้กับผู้ปกครองที่กำลังติดตามและยังไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้บ้าง ?
ดร.พิษณุ : อยากให้ผู้ปกครองเปิด Mindset และอย่าเพิ่งตัดสินใจว่า “ในสิ่งที่ทำเป็นสิ่งที่นอกกรอบ ลองนำตัวท่านเองมาดูประสบการณ์ทางทีม Starfish จะช่วยเปิด Mindset ของท่านอย่างไร และพัฒนาทักษะลูกหลานของท่านอย่างไร แล้วค่อยตัดสินใจว่ากระบวนการนี้เหมาะสมที่จะสร้างทักษะและองค์ความรู้ให้กับลูกหลานต่อไปได้ไหม”
คุณครูอธิป : พูดตรงๆ คือ “ใครไม่มาถือว่าพลาด” เพราะว่าการสละเวลาให้กับลูก แล้วมาใช้ชีวิตร่วมกับลูก เต็มๆ อยู่ในค่ายนี้จำนวน 3 วัน ผู้ปกครองจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของลูกหรือความสามารถของลูกเหนือความคาดหมาย จากการที่ผู้ปกครองให้คำถามให้กระบวนการ ลูกจะอัศจรรย์กว่าที่คุณพ่อคุณแม่เห็นที่บ้านลองดูค่ะ ครั้งต่อไปต้องมา
เป็นยังไงบ้างคะจากบทสัมภาษณ์ของทั้ง 2 ท่าน ที่เลือกมาทำค่ายพัฒนาทักษะเด็กและผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก ณ ศูนย์การเรียนรู้ Starfish Learning Hub โดยทีม Starfish Education เป็นผู้จัดกิจกรรม Workshop กระบวนการพัฒนาทักษะให้เป็นครั้งที่ 2 จะเห็นได้ว่าทางโรงเรียนมีความพึงพอใจกับทางทีมงานเป็นอย่างมาก และทำให้ผู้ปกครองยอมรับในกระบวนการที่สามารถนำไปปรับใช้กับบุตรหลานที่บ้านได้ และสืบเนื่องจากทางโรงเรียนได้นำร่องสร้างพื้นที่ Makerspace ให้นักเรียนได้เรียนรู้ และทำกิจกรรมผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะ สมรรถนะตามศักยภาพของผู้เรียน โดยเน้นการเรียนรู้ที่มีความหมาย และสอนให้เด็กมีความสุขกับการเรียนร่วมกัน
บทความใกล้เคียง
“FutureEd Fest 2023” งานเฉลิมฉลองเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมส่งเสริมและเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
วิธีพัฒนาตนให้ Modern อยู่เสมอ
FutureEd Fest งานเฉลิมฉลองสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักนวัตกรรมการศึกษา 2023
Related Courses
สพป. สมุทรสาคร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2/3 หมู่ 8 ถ.เศรษฐกิจ1 ต.ท่าทราย อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร 74000
สพป. เชียงใหม่ เขต 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 เลขที่ 134 หมู่ 8 ถนน เชียงใหม่-ฮอด ตำบลสันกลางอำเภอสันป่าตอง จังห ...
สพป. เชียงใหม่ เขต 5
สำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 5 404 หมู่ 10 ฮอด-วังลุง ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 50240
สพป. เชียงใหม่ เขต 6
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 190 หมู่ 15 ต.ข่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 50160