8 ตัวชี้วัด วPA สู่การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย

Starfish Labz
Starfish Labz 2698 views • 3 เดือนที่แล้ว
8 ตัวชี้วัด วPA สู่การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย

8 ตัวชี้วัด PA สู่ความสำเร็จในชั้นเรียน จะต้องมีการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของนักเรียนและประสบการณ์ใหม่ ให้นักเรียนมีโอกาสในการสร้างความรู้ใหม่ มีเกม รางวัลและคำชม ในการเสริมแรงจูงใจให้นักเรียนอยู่ในกิจกรรมการเรียนการสอน และมีการออกแบบกิจกรรมให้เด็กได้สืบค้นข้อมูลหาความรู้ด้วยตนเอง นักเรียนต้องได้ฝึกปฏิบัติ เช่น ได้คิด แสดงออกและทำกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงมีการออกแบบสิ่งแวดล้อม สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ นักเรียนต้องได้ฝึกการกำกับตัวเองในการเรียนรู้ ครูต้องมีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาและกระบวนการสอนด้วย

เดี๋ยวเรามาเรียนรู้แต่ละตัวชี้วัดที่สร้างขึ้นมาและเราจะสามารถออกแบบการเรียนรู้ได้อย่างไรบ้าง

ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรีย

1.เนื้อหา (Content) หรือมโนทัศน์ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือฝึกฝน มีความถูกต้องและตรงตามหลักสูตร

2.ออกแบบและจัดโครงสร้างบทเรียนเป็นระบบและใช้เวลาเหมาะสม 

3.ใช้สื่อประกอบบทเรียนได้เหมาะสมและช่วยในการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ของบทเรียน

4. แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจบทเรียน

5. แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 2 ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่

1.มีการทบทวนความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดิม เช่น การใช้คำถาม แบบฝึก หรือ กิจกรรม ฯลฯ

2.มีการเข้าถึงผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ใหม่

3.มีการช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังมีความรู้ ทักษะ หรือ ประสบการณ์เดิมไม่เพียงพอที่จะเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ใหม่ เช่น การอธิบาย ยกตัวอย่าง การใช้คำถาม เกมหรือ กิจกรรม ฯลฯ

4.มีการใช้วิธีสอนที่แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาและให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (มีบันทึกหลังการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่ จากการเรียนรู้

1.ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ให้เหมาะสมกับวัยและบริบทของผู้เรียน

2.ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้หรือทักษะหลากหลาย

3.ใช้เทคนิคให้ผู้เรียนสรุปความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ด้วยตนเอง เช่น แผนที่ความคิด ตารางวิเคราะห์ การทดลองปฏิบัติ การนำเสนอ ฯลฯ

4.แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือสร้างประสบการณ์ใหม่

5.แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 4 ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ 

1.กิจกรรมการเรียนรู้เชื่อมโยงสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน บริบทชุมชน หรือสภาพจริงของผู้เรียน

2.วิธีการหรือกิจกรรมการเรียนรู้ มีความท้าทายและมีระดับความยากง่าย เหมาะสมกับวัย สภาพ และพัฒนาการของผู้เรียน

3.ผู้เรียนมีโอกาสสะท้อนการเรียนรู้ นำเสนอความสำเร็จ หรืออธิบายข้อผิดพลาดหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้น

4.แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน

5.แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน(มีบันทึกหลังการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 5 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้

1.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้

2.ผู้เรียนได้บูรณาการทักษะต่าง ๆ ลงสู่การปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้

3.ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้รับการพัฒนาในสถานการณ์หรือการแก้ปัญหาใหม่ ๆ

4.แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญของผู้เรียน

5.แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 6 ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้

1.มีการสังเกตหรือค้นหาข้อผิดพลาดในการปฏิบัติหรือมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียนในระหว่างการเรียนรู้

2.มีการประเมินผลระหว่างการเรียนรู้โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม เช่น การใช้คำถาม แบบทดสอบ การปฏิบัติ ฯลฯ

3.มีการนำผลการสังเกต หรือผลการค้นหา หรือผลการประเมินระหว่างเรียนรู้สะท้อนกลับให้ผู้เรียน

4.แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนปรับปรุงการเรียนรู้จากข้อมูลสะท้อนกลับของครู

5.แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน(มีบันทึกหลังการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 7 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศที่เหมาะสม

1.ผู้เรียนได้รับแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา พฤติกรรมแสดงออก และเจตคติจากครูผู้สอน

2.กระตุ้นให้ผู้เรียนมั่นใจมีอิสระในการคิดหรือทดลอง และรับรู้ความสามารถของตนเอง

3.ใช้สื่อการเรียนหรือตัวอย่างประกอบที่หลากหลาย และกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบจากสื่อการเรียนหรือตัวอย่างเหล่านั้น

4.แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการสร้างบรรยากาศชั้นเรียนที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

5.แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน(มีบันทึกหลังการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้แบบนำตนเอง

1.ผู้เรียนได้รับโอกาสในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ หรือการลงมือปฏิบัติ

2.ผู้เรียนได้ประเมินตนเองหรือถูกเพื่อนประเมินในระหว่างเรียน หรือเมื่อจบบทเรียน

3.ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นหรือการมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกฝน หรือเรียนรู้ต่อเนื่องเพิ่มเติมภายหลังจบบทเรียน

4.แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการกำกับการเรียนรู้และการเรียนรู้แบบนำตนเองของผู้เรียน

5.แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

กระบวนการนี้ ไม่ง่ายและคิดว่าก็ไม่ยากเกินไป เชื่อว่าครูทุกคนสามารถทำได้แน่นอน การเรียนการสอนในปัจจุบันต้องมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพของนักเรียนในทุกด้าน "8 ตัวชี้วัด PA สู่ความสำเร็จในชั้นเรียน" จึงเป็นแนวทางที่สำคัญในการสร้างการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและน่าสนใจ มาร่วมกันสร้างห้องเรียนที่เต็มไปด้วยความรู้ ความสนุก และการพัฒนาตนเอง ด้วย 8 ตัวชี้วัด PA เพื่อความสำเร็จในชั้นเรียนกัน 

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5843 ผู้เรียน
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
3:00 ชั่วโมง

เปิดโลกการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Google Lens

Google Lens เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเรียนรู้กลายเป็นเรื่องง่ายและสนุกสนาน ผ่านการใช้กล้องสมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียว ผู้ ...

Google for Education Partner
Google for Education Partner
เปิดโลกการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Google Lens
Google for Education Partner

เปิดโลกการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Google Lens

Google for Education Partner

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7002 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3714 ผู้เรียน

Related Videos

วัดผลผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ก้าวสู่ “ครูมืออาชีพ”
01:06:06

วัดผลผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ก้าวสู่ “ครูมืออาชีพ”

113 views • 4 เดือนที่แล้ว
วัดผลผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ก้าวสู่ “ครูมืออาชีพ”
คลิปแรงบันดาลใจ ประตูสู่ความสำเร็จ วPA
01:18:20

คลิปแรงบันดาลใจ ประตูสู่ความสำเร็จ วPA

766 views • 7 เดือนที่แล้ว
คลิปแรงบันดาลใจ ประตูสู่ความสำเร็จ วPA
PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด
01:01:51

PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด

356 views • 1 เดือนที่แล้ว
PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด
เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
01:28:36

เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

412 views • 8 เดือนที่แล้ว
เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน