จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย Makerspace
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Makerspace การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกระบวนการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ Active learning ณ ห้องประชุมโรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา สำนักงานเขตคลองเตย
วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 Starfish Education นำโดยคุณโยโกะ เตรูย่า รองประธานมูลนิธิสตาร์ฟิชเอ็ดดูเคชั่น พร้อมโค้ช เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Makerspace การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกระบวนการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ Active learning ณ ห้องประชุมโรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา สำนักงานเขตคลองเตย และได้รับเกียรติจาก นางเบญญา อินทรวงศ์โชติ ผู้อำนวยการเขตคลองเตย เป็นประธานในพิธีและกล่าวเปิดงานการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ประกอบด้วยโรงเรียนในเขตคลองเตย 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ โรงเรียนวัดคลองเตย โรงเรียนวัดสะพาน โดยมีข้าราชการครูเข้าร่วมอบรม จำนวน 84 คน
เพื่อยกระดับมาตรฐานและพัฒนาการศึกษาของศูนย์วิชาการเขต ให้เป็นไปตามมาตรฐานและเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ Makerspace ครูได้เรียนรู้เรื่องของการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านกระบวนการ STEAM Design Process และแนวทางการนำไปบูรณาการร่วมกับโครงการ After School สร้างกิจกรรมที่มีหลากหลายรูปแบบ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะแห่งอนาคต
จากการที่ได้ไปจัดอบรมให้กับคุณครูในเขตคลองเตยครั้งนี้ ทำให้เห็นภาพบรรยากาศการเรียนรู้ที่น่าปลื้มใจ คุณครูทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างตั้งใจ มีการแบ่งปันไอเดีย ชวนกันคิด ชวนกันสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นรูปธรรม ซึ่งครูก็ได้บอกกับทีมโค้ชว่า กิจกรรมสนุกมาก ไม่เหมือนกับการจัดอบรมทั่ว ๆ ไป ที่ครูต้องมานั่งฟังบรรยาย แต่เป็นการอบรมที่ได้ทั้งความรู้ ความสนุกสนานและได้ลงมือทำจริงทำให้เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ได้ชัดเจนขึ้น
สำหรับในการจัดอบรมในครั้งนี้ ผู้อำนวยการของทุกโรงเรียนมีความตั้งใจในการพัฒนาและส่งเสริมครูให้มีความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน จึงได้แบ่งครูออกเป็น 4 ฐานกิจกรรม ได้แก่ ฐานนักประดิษฐ, ฐานนักสร้างสรรค์, ฐานนักสร้างคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และ ฐานอาหารและผู้ประกอบการ โดยครูมีการทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งผลจากการที่ครูได้ลงมือปฏิบัติจริงนั้น โค้ชสังเกตเห็นถึงความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ มีการใช้วัสดุอุปกรณ์เหลือใช้มาสร้างชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์และมีความหลากหลาย รวมถึงมีการวางแผนและเรียงลำดับวิธีการทำงานได้อย่างเป็นระบบ
จากผลการสำรวจนั้น ครูส่วนใหญ่มองว่ากิจกรรมนี้เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย บรรยากาศในการเรียนรู้เป็นการสนับสนุนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีความเป็น Active Learning เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงผ่านกิจกรรม Makerspace โดยใช้กระบวนการ STEAM Design /Process เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้
ถึงแม้ว่าการจัดอบรมผ่านพ้นไปแล้ว แต่เราเชื่อว่าคุณครูทุกท่านจะนำกิจกรรม Makerspace ไปต่อยอดเพื่อจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในโครงการ After School เพื่อนำไปสร้างกิจกรรมที่มีความหมาย และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะแห่งอนาคต มีทักษะและสมรรถนะตามเป้าหมายและบริบทของโรงเรียนได้อย่างแท้จริง
บทความใกล้เคียง
Related Courses
การพัฒนาทักษะในอนาคตด้วย Makerspace
ในคอร์สนี้ จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมผู้เรียน เพื่อพัฒนาให้เกิดทักษะที่จำเป็นในอนาคต ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบ Ma ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...