โอกาสทางการศึกษาคืออะไร? ทำความเข้าใจเพื่อการร่วมกันแก้ไขอย่างถูกจุด

Starfish Labz
Starfish Labz 1359 views • 2 เดือนที่แล้ว
โอกาสทางการศึกษาคืออะไร? ทำความเข้าใจเพื่อการร่วมกันแก้ไขอย่างถูกจุด

หากพูดถึงการพัฒนาการศึกษาไทยในอนาคต หลายๆ คนคงอาจนึกถึงเพียงแค่การพัฒนาหลักสูตรหรือการพัฒนาด้านการบริหารในด้านต่างๆ แต่อีกหนึ่งด้านที่มีความสำคัญไม่แพ้กันทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยของเราก็คือเรื่องของโอกาสทางการศึกษาหรือลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษานั่นเองค่ะ

แต่ว่าโอกาสทางการศึกษานี้คืออะไร ใช่อย่างที่เราเคยรู้หรือเข้าใจกันจริงๆไหม วันนี้ Starfish Labz มีคำตอบมาให้ มาเรียนรู้เพื่อร่วมช่วยกันดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกันเลยค่ะ

โอกาสทางการศึกษา (Educational Opportunity) คืออะไร?

แต่เดิมนั้นโอกาสทางการศึกษามักถูกนิยามว่าหมายถึง การเข้าเรียนต่อ การวัดโอกาสทางการศึกษาในอดีตที่ผ่านมา จึงมักวัดด้วยอัตราการเรียนต่อของเด็กในวัยเรียนเป็นหลักเฉยๆ หรือหากเมื่อเราพูดถึงโอกาสทางการศึกษา เราก็อาจนึกถึงแต่ภาพของโอกาสในการเข้าศึกษาหรือเรียนต่อ แต่รู้ไหมคะว่าจริงๆ แล้ว ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาความหมายของโอกาสทางการศึกษาได้มีการถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยยะสำคัญเลยทีเดียว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังว่าก็มาจากการศึกษาเกี่ยวกับโอกาสทางการศึกษา และผลลัพธ์จากการเข้าถึงการศึกษาหลากหลายแห่งที่ให้ผลลัพธ์ไปในทิศทางเดียวกันว่า การใช้การเรียนต่อเป็นตัวชี้วัดโอกาสเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะโอกาสในการเรียนต่อไม่ได้เป็นหลักประกันว่าเมื่อเข้าเรียนแล้วเด็กๆ หรือผู้เรียนจะได้ประโยชน์จากการศึกษาในโรงเรียนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเสมอไป ทั้งประสิทธิภาพการสอนที่แตกต่างกันในโรงเรียนแต่ละแห่ง ปัจจัยส่วนตัวในด้านสุขภาพของเด็กๆ แต่ละคน รวมถึงลักษณะการบริหารจัดการงานต่างๆ ของโรงเรียนแต่ละที่ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนถือเป็นองค์ประกอบของโอกาส

ด้วยเหตุนี้ในช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่านมาจึงได้มีข้อเสนอให้หลากหลายโรงเรียนรวมถึงระบบการศึกษาขยายขอบเขตการประเมินให้ครอบคลุมถึงโอกาสการเรียนรู้ในภาพรวม ที่มีความลึกซึ้งรวมถึงโอกาสในการเลือกเรียนในด้านที่ผู้เรียนต้องการหรือปรารถนา

การสร้างตัวชี้วัด หรือการมองปัจจัยเรื่องโอกาส ให้มีความละเอียดอ่อนกว่าเดิมนี้ก็เพื่อการสร้างกระบวนการประเมินและการแก้ไขอย่างตรงจุด เพราะเมื่อเรามองกันดีๆ แล้ว เราก็จะเห็นว่าปัญหาเรื่องโอกาสทางการศึกษาของเด็กคนหนึ่งๆ อาจไม่ได้เกิดจากการเรื่องการมีโอกาสได้เรียนต่อหรือไม่เรียนต่อเพียงอย่างเดียวเสมอไป ซึ่งถ้าหากเราไปโฟกัสแต่เพียงแค่เรื่องของการมีโอกาสเรียนต่อ เราก็อาจพลาดจุดสำคัญอื่นๆ ต่างที่อาจช่วยให้เราสามารถปฏิรูปโอกาสทางการศึกษาได้อย่างตรงจุดเลยนั่นเอง

ตัวอย่างการออกแบบตัวชี้วัดโอกาสทางการศึกษา

เมื่อเข้าใจคำนิยามของโอกาสทางการศึกษากันแล้ว เพื่อนๆ ก็คงจะเห็นได้อย่างชัดเจนแล้วใช่ไหมละคะว่าความหมายของโอกาสทางการศึกษานั้น ครอบคลุมมากกว่าเพียงแค่โอกาสในการเรียนต่อ ซึ่งแม้ว่าในแต่ละโรงเรียน สถาบัน หรือระบบการศึกษาหนึ่งๆ อาจจะมีการออกแบบตัวชี้วัดการประเมินโอกาสที่แตกต่างกัน แต่หากเราลองอ้างอิงจากผลการศึกษาของUser (2004) Demeuse (2005) OECD (2005) UNESCO (2005) Omoeva (2013) Spaull และ Taylor (2015) Demeuse (2011) และ Barrett and Sorensen (2015) เราก็อาจจะพอสกัดตัวอย่างการออกแบบตัวชี้วัดที่ดีได้ นั่นก็คือตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนโอกาสทางการศึกษาได้ดีขึ้นอย่างน้อยอาจต้องมี 9 ด้านดังนี้

1) สัดส่วนของเด็กที่ได้เรียนต่อในโรงเรียน เมื่อเทียบกับเด็กทั้งหมดที่มีสิทธิและเลือกจะเรียนในโรงเรียนนั้น (Access to school)

2) การเข้าถึงทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก (Access to education resources)

3) โอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อให้นักเรียนและ ผู้ปกครองไม่ต้องกังวลเรื่องทุนการศึกษา (Access to funding)

4) ผลการเรียนเมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมชั้น (Within class performance inequality)

5) ผลการเรียนเมื่อเทียบกับทั้งโรงเรียน (Within school performance inequality)

6) ผลการเรียนเมื่อเทียบกับนักเรียนที่มีปัจจัยพื้นฐาน ระดับครอบครัวและระดับตัวนักเรียนใกล้เคียงกัน (Within group performance inequality)

7) อัตราการเรียนจบ (Graduation rate)

8) อัตราการได้เรียนต่อของผู้ที่ต้องการเรียนต่อ (Progression rate)

9) อัตราการได้งานทำของผู้ที่ต้องการทำงาน (Employment rate)

ในการประเมินจริงๆ แน่นอนว่าแต่ละพื้นที่ย่อมมีปัจจัยหรือตัวชี้วัดที่แตกต่างกันออกไป แต่หากใครที่ยังไม่รู้ว่ะพอจะเริ่มตรงไหน Starfish Labz แนะนำให้ลองเริ่มจาก 9 ตัวชี้วัดนี้ หรือทำการสำรวจค้นคว้าแบบอย่างการประเมินที่ดีจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ก็สามารถช่วยให้เราเริ่มต้นได้อย่างดีเช่นเดียวกัน 

สถานการณ์การพัฒนาโอกาสทางการศึกษาในปัจจุบันของประเทศไทย

ในปัจจุบัน แรงงานไทยมีระดับการศึกษาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากความพยายามของรัฐบาลในการเพิ่มการเข้าถึงและการปรับปรุงคุณภาพของการระบบการศึกษา แต่แน่นอนว่าหากพิจารณาดูในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะในด้านที่ลงลึกเรื่องประสิทธิภาพ เรายังคงอาจมองเห็นหลากหลายช่องว่างที่ซ่อนตัวอยู่

อัจฉรีย์ ทิพธนธรณินทร์ และสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ (2556) ทำการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเท่าเทียมทางการศึกษากับการพัฒนาการศึกษาพบว่าการศึกษาของภาครัฐที่เป็นการให้เปล่ามีบทบาทสำคัญในการสร้างความเท่าเทียมในโอกาสทางการศึกษา อย่างไรก็ดี ความพยายามดังกล่าวยังคงเกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดสำคัญ 8 อย่าง นั่นคือ

1) การจัดการศึกษาของไทยที่จัดโดยภาครัฐยังมีการรวมศูนย์ เมืองใหญ่และสถาบันอุดมศึกษาได้รับการจัดสรรงบเป็น สัดส่วนสูง ขณะที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการศึกษายังต่ำกว่าที่ได้ลงทุนไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการกระจายทรัพยากร ทางการศึกษาที่ไม่เอื้อต่อการสร้างความเท่าเทียม

2) ระบบการจัดการศึกษาเป็นระบบราชการเพื่อประโยชน์ของข้าราชการมากกว่าเพื่อประชาชนและสังคมส่วนรวม

3) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีการควบคุมโดยส่วนกลาง ที่แม้จะเปิดโอกาสให้พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาได้ แต่ในเชิงปฏิบัติสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

4) ระบบคุณภาพของครูไทยเพื่อก้าวเข้าสู่ระบบใบประกอบวิชาชีพครูนั้นไม่มีการจำแนกประเภทของใบประกอบ วิชาชีพครูตามระดับการศึกษาที่สอน

5) การให้เปล่าในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ไม่ได้ครอบคลุมถึงอุปกรณ์การเรียนที่จำเป็น ซึ่งเป็น ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในเชิงคุณภาพของการศึกษาในพื้นที่ที่มีความแตกต่างทางเศรษฐกิจและเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ต่างกัน

6) ถึงแม้ว่าในเรื่องตำราเรียนที่ควบคุมคุณภาพโดยส่วนกลางของไทยจะเปิดโอกาสให้สานักพิมพ์จัดพิมพ์ได้โดยขออนุญาตจากส่วนกลาง แต่การ นำเสนอของสำนักพิมพ์ไม่เปิดเผยทำให้ครูยังไม่มีโอกาสเลือกตำราเรียน

7) ไม่มีการกำหนดให้สอนซ่อมเสริมจนสอบผ่านการสอบโดยข้อสอบมาตรฐานระดับชาติ

8) การเชื่อมโยงการศึกษาในระบบโรงเรียนและ 38 การศึกษาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษาฯ การศึกษานอกระบบของไทยที่มีเอกภาพเชิงนโยบายแต่ไม่มีความหลากหลายในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง 

เมื่อพิจารณาดูข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้แล้ว แน่นอนว่าเป็นที่ชัดเจนว่าเราอาจยังต้องมีการขับเคลื่อนและการเปลี่ยนแปลงเรื่องในด้านโอกาสทางการศึกษาอีกมาก แต่อย่างน้อยที่สุด เราก็เดินมาถึงจุดที่มีความเข้าใจ มีการมองเห็น และมีความพยายามในการร่วมด้วยช่วยกันเปลี่ยนแปลง และในอนาคต เชื่อว่าอย่างน้อยที่สุดจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แม้อาจจะช้าหรือดูดำเนินไปอย่างเล็กๆ น้อยๆ ต่อภาพรวมของโอกาสทางการศึกษาทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศของเรานั่นเอง

อ้างอิง:

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การศึกษาในอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

How to วิธีการหาทุนสำหรับมือใหม่

ทุกคนมีความฝัน แต่หลายคนกลับไปไม่ถึงฝันเพราะต้นทุนชีวิตน้อย การมองหาทุนการศึกษาจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีส่วนช่วยสนับสนุนก ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to วิธีการหาทุนสำหรับมือใหม่
Starfish Academy

How to วิธีการหาทุนสำหรับมือใหม่

Starfish Academy
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

STAMPER Learning การเรียนรู้แบบบูรณาการ

STAMPER Learning เป็นการบูรณาการแบบใหม่ ครบจบทั้งขั้นตอนการเรียนรู้ และการประเมินผลสำหรับครู ซึ่งทำได้ง่ายๆ ในกิจกร ...

Starfish Academy
Starfish Academy
STAMPER  Learning การเรียนรู้แบบบูรณาการ
Starfish Academy

STAMPER Learning การเรียนรู้แบบบูรณาการ

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

โอริกามิ สื่อการพับกระดาษญี่ปุ่น

การเรียนรู้เรื่องโอริกามิ การพับกระดาษแบบญี่ปุ่นจะได้เรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมา ความหมาย เทคนิคการพับกระดาษ และแนวกา ...

Starfish Academy
Starfish Academy
โอริกามิ สื่อการพับกระดาษญี่ปุ่น
Starfish Academy

โอริกามิ สื่อการพับกระดาษญี่ปุ่น

Starfish Academy
1111 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เรียนคณิตศาสตร์ ม.1-3

คอร์สนี้เป็นการเรียนรู้การเกี่ยวกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3 โดยแบ่งเป็นบทเรียนที่เหมาะสมกับต่ละรดับชั้น ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เรียนคณิตศาสตร์ ม.1-3
Starfish Academy

Micro Learning เรียนคณิตศาสตร์ ม.1-3

Starfish Academy

Related Videos

เครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ร่วมกัน
50:30

เครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ร่วมกัน

46 views • 6 วันที่แล้ว
เครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ร่วมกัน
เส้นทางสู่ผู้บริหารเชี่ยวชาญ วPA
01:28:13
Starfish Academy

เส้นทางสู่ผู้บริหารเชี่ยวชาญ วPA

Starfish Academy
1593 views • 9 เดือนที่แล้ว
เส้นทางสู่ผู้บริหารเชี่ยวชาญ วPA
Leader Club Live หัวข้อ ยืดหยุ่น ปรับตัว ท้าทาย กลยุทธ์ผู้นำยุคใหม่
01:16:10

Leader Club Live หัวข้อ ยืดหยุ่น ปรับตัว ท้าทาย กลยุทธ์ผู้นำยุคใหม่

284 views • 2 เดือนที่แล้ว
Leader Club Live หัวข้อ ยืดหยุ่น ปรับตัว ท้าทาย กลยุทธ์ผู้นำยุคใหม่
Starfish Education
03:55

Starfish Education

194 views • 6 เดือนที่แล้ว
Starfish Education