พูดคุยกับ 5 คุณครูคนเก่ง ผู้พัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญ
หากพูดถึงการเป็นคุณครูแล้ว บางท่านอาจให้คำนิยามว่าคือการทำเพื่อเด็กๆ คือการสอนในสิ่งที่ตนเองสนใจ (Passion) หรืออาจจะเป็นการทำในสเกลที่ยิ่งใหญ่อย่างเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมหรือมุ่งหวังส่งต่อสิ่งดีต่อเด็กๆ รุ่นลูกรุ่นหลาน คำนิยามหรือความหมายเหล่านี้ของคุณครูแต่ละท่านอาจแตกต่างกันออกไป แต่ทว่าในบรรดาหลากหลายความหมายเหล่านี้ อีกหนึ่งฝากฝั่งของคุณครูที่มีเป้าหมายคล้ายคลึงกันแต่มีความเฉพาะเจาะจงยิ่งกว่าเดิมก็คือคุณครูผู้มุ่งหวังการพัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญและเพื่อการนำมาพัฒนาการเรียนการสอนต่อเด็กๆ
ในบทความนี้ เนื่องด้วยโอกาสอันดีงามในการมีจังหวะพูดคุยกับคุณครู 5 ท่านผู้ตัดสินใจพัฒนาตนเองสู่ความถนัดและความเชี่ยวชาญ Starfish Labz จึงขอเก็บตกความเห็นทัศนคติ รวมถึงมุมมองของพวกเขาในการตัดสินใจพัฒนาตนเองมาฝากชาว Starfish Labz ทุกคนกัน แต่ละท่านจะมีความคิดหรือมุมมองในการตัดสินใจพัฒนาตนเองอย่างไรกันบ้าง
ตาม Starfish Labz มาเรียนรู้มุมมอง ความคิดเห็น และเส้นทางการพัฒนาตนเองของพวกเขาในบทความนี้กันเลย
พูดคุยกับ 5 คุณครูคนเก่ง ผู้พัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญ
คุณครูปรียาดา ทะพิงค์แก
สำหรับคุณครูปรียาดา ทะพิงค์แก คุณครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านสันป่าสัก จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อมีโอกาสได้พบเธอและสอบถามถึงมุมมองในการพัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญ เธอก็ให้คำตอบแสนน่าสนใจกับทีมงานของ Starfish Labz ว่าในมุมมองของเธอ แน่นอนว่าครูเชี่ยวชาญต้องพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่มีความสำคัญยิ่งกว่าการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านวิชาการก็คือการมีทักษะอื่นๆ ร่วมด้วย โดยเฉพาะทักษะแห่งอนาคตใหม่อย่างทักษะหรือ “ความสามารถในการคิดค้นปรับเปลี่ยนซึ่งเป็นเส้นทางของวิจัยและนวัตกรรม จะต้องแสดงให้เห็นถึงการคิดค้นวิธีการใหม่ๆ มาพัฒนาหรือแก้ปัญหาผู้เรียนที่มุ่งสู่เป้าหมายการศึกษาของชาติ”
ในแง่นี้ นอกเหนือจากการเป็นคุณครู คุณครูผู้พัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญหลายๆ ท่านในบริบทปัจจุบันจึงมีบทบาทของการเป็นนักวิจัยรวมถึงนักนวัตกรรม มีความสามารถและศักยภาพในการเป็นผู้นำทิศทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน รวมถึงการพัฒนาในด้านต่างๆ ของคุณครู กล่าวได้ว่าในมุมมองของคุณครูปรียาดา การพัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญถือเป็นหัวใจหลักทั้งต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ และการพัฒนาระบบการศึกษาไทยในอนาคตเลยก็ว่าได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่และน่าชื่นชมจริงๆ ค่ะ
คุณครูปนางฐิติยา จองหมุ่ง
หากหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญของคุณครูปรียาดาคือการคิดค้นปรับเปลี่ยน สำหรับคุณครูสำหรับคุณครูคนเก่งอีกท่าน ณ โรงเรียนอนุบาลปาย(เวียงใต้ ) จังหวัดแม่ฮ่องสอนอย่างคุณครูปนางฐิติยา จองหมุ่ง การพัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญก็คงเปรียบเสมือนการก้าวสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อยู่ มีความชื่นชอบที่จะเรียนรู้อยู่ตอดเวลา รวมถึงกล้าที่จะยอมรับความผิดพลาด “มองว่าอุปสรรค ไม่ใช่ปัญหาแต่เป็นโอกาสที่จะลองหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อที่จะนำไปสู่ความเชี่ยวชาญและความสำเร็จ”
ในแง่นี้ สำหรับคุณครูปนางฐิติยา ทักษะชีวิตและการทำงานในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญมากสำหรับเธอและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญจึงคือ Growth Mindset หรือการมีกรอบความคิดแบบเติบโตได้ เธอมองว่าด้วยกรอบความคิดและทัศนคตินี้ คุณครูพัฒนาจะสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง กล้าที่จะลองผิดลองถูก และปรับปรุงเรียนรู้อยู่เสมอ
คุณครูนันทวรรณ นิลวรรณา
โบกมือลาคุณครูปนางฐิติยาแล้วมาสนทนาต่อกับคุณครูนันทวรรณ นิลวรรณา คุณครูคนเก่งอีกหนึ่งท่านจากโรงเรียนบ้านบนเขาแก่งเรียง จังหวัดกาญจนบุรี
เมื่อมีโอกาสได้สนทนา Starfish Labz ก็ถามเธออย่างชื่นชมว่าเพราะอะไรถึงอยากที่จะพัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญ ซึ่งคำตอบของเธอก็คือเธอมองเห็นโอกาส ทั้งโอกาสใน “การพัฒนาตนเอง” และโอกาสในการพัฒนา “คุณภาพการศึกษาของนักเรียนไปพร้อมๆ กัน” ซึ่งแม้การทำวิทยาฐานะอาจจะยากในช่วงเริ่มต้น เพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไรในช่วงแรก แต่เธอให้ข้อคิดว่าเมื่อค่อยๆ เริ่มแล้ว ในที่สุดเราก็จะรู้สึกได้เองว่าไม่ได้ยากอย่างที่คิดและถือเป็นก้าวที่ดีงามในการพัฒนาตนเองสู่หนึ่งในจุดสูงสุดหรือความสำเร็จในการทำงาน รวมถึงเพื่อการศึกษาไทยในปัจจุบันตลอดจนการศึกษาไทยในอนาคตนั่นเอง
คุณครูสุภาดา คำตา
เดินทางมาต่อกันวิทยาลัยเทคนิคนำพอง จังหวัดขอนแก่นซึ่งมีคุณครูคนเก่งอีกท่านอย่างคุณครูสุภาดา คำตาผู้มีความเชี่ยวชาญไม่เพียงแค่การสอนในวิชาของตนเองแต่ยังมีทักษะการสอนเชิงบวกที่ยอดเยี่ยม
เธอให้ความเห็นในส่วนของการพัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญ รวมถึงการบูรณาการทักษะการสอนเชิงบวกว่าการพัฒนาตนเองของเธอมาจากการตระหนักรู้ว่าคุณครูต้องพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเมื่อพูดถึงการพัฒนาตนเองสำหรับคุณครู หลายๆ คนอาจนึกถึงการพัฒนาด้านวิชาการหรือความเชี่ยวชาญในด้านเนื้อหา แต่สำหรับเธอ นอกเหนือจากด้านเนื้อหายังรวมถึงการสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอนและการสร้างทักษะชีวิตที่ดีให้กับเด็กๆ “แม้ว่าครูจะมีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ดีเพียงใดก็คงจะไม่สำเร็จลุล่วงหากบรรยากาศในชั้นเรียนนั้นไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูซึ่งเปรียบเสมือนโค้ชในห้องเรียนจะสร้างบรรยากาศเชิงบวก ที่ส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียน เพื่อให้นักเรียนเรียนมีอิสระในการคิด และมีโอกาสในการสื่อสารทั้งความสำเร็จหรือข้อผิดพลาดของผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น” คุณครูสุภาดากล่าว
เธอตั้งใจที่จะมอบทั้งความรู้และ “ห้องเรียนแห่งความสนุกสนาน” ให้กับเด็กๆ “ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนที่เหมาะสม นักเรียนกล้าคิด กล้าแสดงออก รู้ถึงคุณค่าของตนเองและสิ่งที่ทำอยู่” รวมถึงการฝึกมีความคิดสร้างสรรค์ ด้วยรูปแบบการสอนนี้การพัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญของคุณครูสุภาดาจึงมีความยั่งยืนและมีแรงจูงใจให้เธออยากพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
คุณครูจินตนา ยังจีน
พูดคุยกับคุณครูสุภาดาเสร็จแล้ว Starfish Labz ก็ขออนุญาตมาต่อกับท่านสุดท้ายนั่นก็คือคุณครูจินตนา ยังจีน อีกหนึ่งคุณครูผู้เชี่ยวชาญจากโรงเรียนท่าชนะ จังหวัดชุมพร เราถามเธอถึงความตั้งใจในการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้สู่ความเชี่ยวชาญ เธอกล่าวว่า “การได้เห็นนักเรียนเติบโตมีความพร้อมทั้งกายใจได้เรียนรู้อย่างมีความสุขนั่นคือการสร้างพลังบวก ให้กับคุณครู” ในการพัฒนาตนเองและสร้างสรรค์ผลงาน การมีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างรากฐานการเรียนรู้และใช้ชีวิตในองค์รวมที่ดีของเด็กๆ คือพลังที่ช่วยให้เธออยากพัฒนาตนเองและเรียนรู้อยู่เสมอ
และนี่ก็คือบทสัมภาษณ์สุด Exclusive จากคุณครูคนเก่ง 5 ท่านที่ได้เลือกพัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญและบนเส้นทางเพื่อการศึกษาไทยในอนาคต กล่าวได้ว่านืคือหนึ่งในตัวอย่างคุณครูระดับคุณภาพที่น่าชื่นชมและยกย่องอย่างยิ่ง และคุณครูท่านใดที่กำลังอยากลองเริ่มต้นการพัฒนาตนเอง ไม่ว่าจะสู่ความเชี่ยวชาญหรือเพื่อการเรียนการสอนอย่าง ตลอดจนในด้านส่วนตัว เชื่อว่าบทความนี้จะต้องสามารถจุดประกาย สร้างแรงจูงได้ไม่มากก็น้อยเลยใช่ไหมละคะ
บทความใกล้เคียง
“FutureEd Fest 2023” งานเฉลิมฉลองเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมส่งเสริมและเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
วิธีพัฒนาตนให้ Modern อยู่เสมอ
FutureEd Fest งานเฉลิมฉลองสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักนวัตกรรมการศึกษา 2023
Related Courses
สพป. สมุทรสาคร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2/3 หมู่ 8 ถ.เศรษฐกิจ1 ต.ท่าทราย อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร 74000
สพป. เชียงใหม่ เขต 5
สำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 5 404 หมู่ 10 ฮอด-วังลุง ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 50240
สพป. ลำพูน เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 65/2 หมู่4 ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000
สพป. เชียงใหม่ เขต 6
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 190 หมู่ 15 ต.ข่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 50160