6 วิธีการสร้างความรับผิดชอบให้แก่นักเรียน
ความรับผิดชอบเปรียบเสมือนคำมั่นสัญญาในการเรียนรู้และเติบโตของนักเรียนเอง ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน มีผลกระทบต่อลักษณะนิสัยความรับผิดชอบของนักเรียนด้วย ดังนั้นเมื่อทุกอย่างกำลังเข้าสู่สภาวะปกติ ทั้งคุณครูและผู้ปกครองต้องกลับมาสร้างคุณลักษณะนิสัย “ความรับผิดชอบ” ในตัวนักเรียนให้กลับมาได้ ดังวิธีการต่อไปนี้
1. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ “เหมาะสม” สำหรับนักเรียน
คำว่า “เหมาะสม” หมายถึง นักเรียนรู้สึกปลอดภัยและเชื่อมโยงกับผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะอายุ เพศ หรือสัญชาติ เพราะเมื่อนักเรียนรู้สึกปลอดภัยและเชื่อมโยงกับผู้อื่น นักเรียนจะเริ่มรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง ใส่ใจความรู้สึกของผู้อื่น โดยมีคุณครูและเพื่อนคอยช่วยเหลือ
2. กำหนดความคาดหวังที่ชัดเจน
ความคาดหวังที่ชัดเจนจะช่วยให้นักเรียนเห็นเป้าหมายของความรับผิดชอบนั้นชัดเจนขึ้น เช่น การออกแบบตัวชี้วัด หรือ เกณฑ์การให้คะแนนที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ จะทำให้นักเรียนรู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อไป ผ่านการออกแบบใบงานหรือการให้การบ้านที่คำอธิบายชัดเจน
3. ให้นักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณครูมักจะได้ยินนักเรียนอ้างว่า “พ่อแม่ของหนูไม่ได้เอาการบ้านใส่กระเป๋ามาให้” เป็นต้น นั่นหมายถึงนักเรียนยังไม่ได้เป็นเจ้าของการเรียนรู้ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือ ผู้ปกครองหรือคุณครูให้โอกาสนักเรียนได้เตรียมความพร้อมตนเองสำหรับการเรียนรู้หรือไม่ เช่น แทนที่จะทำให้นักเรียน แต่ขอให้นักเรียนจัดการเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง ถึงแม้ว่าอาจจะเกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง ก็ขอให้คุณครูและผูัปกครองวางใจว่าการผิดพลาด คือ การเรียนรู้ เพราะถ้าคุณครูและผู้ปกครองต่อว่านักเรียนทันที นักเรียนจะมีความรู้สึกกลัวและไม่อยากรับผิดชอบงานใดๆ อีก
4. ให้นักเรียนประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอ
การประเมินตนเองเป็นส่วนที่สำคัญในการสร้างความรับผิดชอบ เพราะนักเรียนสามารถติดตามจุดแข็งและจุดที่ต้องพัฒนาของตัวเองได้อย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างการประเมินตนเองที่ทำได้ เช่น ใบงานติดตามอารมณ์ความรู้สึกที่นักเรียนสามารถระบายสีเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองในงานชิ้นนั้นๆ หรือการประเมินความรู้ของนักเรียนสั้นๆ ในห้องเรียน เช่น การชูนิ้วโป้ง แสดงว่านักเรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียน หรือคว่ำนิ้วโป้งลง หมายถึง นักเรียนยังไม่เข้าใจในสิ่งที่เรียน การประเมินจะช่วยให้นักเรียนรู้ว่าจะต้องทำอะไร และนั่นเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างนิสัยความรับผิดชอบ
5. ให้การสนับสนุนผู้ปกครอง
ครอบครัวเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ บทบาทของคุณครู คือ การช่วยเหลือด้านการเรียนรู้ของนักเรียนเมื่อกลับไปถึงบ้าน เช่น คอยติดตามความก้าวหน้าของชิ้นงานนักเรียน คอยสอบถามปัญหาในด้านต่างๆ คอยเป็นที่ปรึกษาให้แก่ครอบครัว
6. สร้างความสัมพันธ์ ผ่านการประชุมร่วมกัน
การประชุมที่ครบถ้วนจะต้องประกอบไปด้วย พ่อแม่ คุณครู และนักเรียน เพราะการเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามาร่วมประชุม คือ การให้นักเรียนเป็นผู้ตัดสินใจในกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง นักเรียนจะเป็นผู้เล่าปัญหาที่เกิดขึ้น และค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาของตนเอง โดยมีครูและผู้ปกครองคอยรับฟังและให้คำปรึกษาอยู่อย่างใกล้ชิด
ในฐานะที่เป็นคุณครู ผู้ปกครอง หรือนักการศึกษา บทบาทที่สำคัญที่สุด คือ การทำให้นักเรียนรู้สึกสบายใจ รู้สึกปลอดภัย อยากที่จะมาโรงเรียน ซึ่งจริงๆ แล้วการที่นักเรียนมาโรงเรียนทุกวันก็คือหนึ่งในความรับผิดชอบที่พวกเขามี ดังนั้น ขอให้คุณครูช่วยเสริมแรงเชิงบวกให้แก่นักเรียนอย่างสม่ำเสมอค่ะ
แปลและเรียบเรียง How to increase student accountability
บทความใกล้เคียง
Related Courses
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การวางแผนพัฒนาตนเอง
การวางแผนพัฒนาตนเองช่วยให้คุณครูกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการวางแผน และช่วยให้ครูเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม มีการกำหนดระ ...