โรงเรียนแห่งความสุขของครูและนักเรียน
เด็ก ๆ อยากมาโรงเรียน คุณครูก็ตั้งทำใจงาน ส่วนผู้บริหารเห็นวิสัยทัศน์ก้าวไกลพร้อมเปิดรับทุกความคิดเห็นและขอความร่วมมือจากชุมชนเมื่อสถานศึกษากลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับทุกคนได้พัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่นิยามคำว่าโรงเรียนแห่งความสุขโดย ผอ. กิตติมา มุ่งวัฒนา (ผอ.อ้อม) โรงเรียนบ้านทุ่งค่าย สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ประกอบไปด้วย ความสุขของเด็ก ครู ผู้ปกครอง และชุมชน เพราะโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน สโลแกนประจำโรงเรียนแห่งรอยยิ้ม ทุ่งค่ายยืนหนึ่งคุณภาพทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ครูหรือนักเรียน เมื่อก้าวเท้าเข้ามาในประตูรั้ว เขาจะรู้สึกมีคุณค่า ทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น เด็ก ๆ ต้องได้รับการสนับสนุนทั้งด้านปัญญา วิชาการ และเรื่องของอารมณ์ เพราะวิชาการ กับอารมณ์ส่งผลต่อการเรียนของเขา โรงเรียนต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้จริง ๆ
ปัจจัยชี้วัดโรงเรียนแห่งรอยยิ้ม ตามแบบฉบับ โรงเรียนบ้านทุ่งค่าย
- บุคลากร เราเป็นมนุษย์มีความรู้สึกและบางครั้งก็ซับซ้อน ดังนั้นสัมพันธภาพในโรงเรียนเด็กด้วยกันเองเพื่อนห้องเดียวกัน เด็กกับรุ่นพี่ รวมถึงเด็กกับครู ถ้าความสัมพันธ์ลงตัวจะเป็นเหมือนสะพานให้ทุกอย่างราบรื่น
- กระบวนการ วิธีการสอน เช่น เรื่องเศษส่วน วิชาคณิตศาสตร์ ต้องอธิบายให้นักเรียนเข้าใจในชีวิตประจำวันเขาจะได้ใช้ มันเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่แค่เรื่องตัวเลขเท่านั้น เมื่อทำแบบนี้เด็กจะเห็นคุณค่ากับสิ่งที่เขาเรียนในห้อง
- สภาพแวดล้อม มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งเผย สภาพแวดล้อมส่งผลต่อการเรียนรู้ ถ้ารอบข้าง มีการก่อสร้าง การเรียนการสอนอาจดำเนินไปด้วยความยากลำบาก ทั้งการสื่อสาร รวมถึงสมาธิของเด็ก ๆ ที่ถูกรบกวน
เช็กลิสต์ 4 ข้อ เมื่อโรงเรียนไม่ใช่สถานที่แห่งความสุข
- เกิดการรังแก มีแนวโน้มที่พบเจอได้ง่าย
- ปริมาณงานที่มากไปสำหรับนักเรียน และภาระอันหนักอึ้งของคุณครู
- บรรยากาศเชิงลบ เสียงสุนัขเห่า รอบข้างเต็มไปด้วยความวุ่นวาย
- วิธีการพูดของผู้สอน ถ้ามีคำที่รุนแรง ก็ส่งผลกระทบจิตใจของผู้เรียน และอาจทำให้ไม่ชอบวิชานั้นไปเลย
แนวทางของโรงเรียนบ้านทุ่งค่าย โรงเรียนแห่งความสุข ผอ. อ้อม จะใช้แบบสำรวจความต้องการจากเด็ก ทำผ่าน Google Form หรือใช้การคุยในห้อง ถามความเห็นเขา ฝั่งคุณครูก็มีแบบสอบถาม รวมถึงผู้ปกครองจะคุยเปิดใจแบบตรงไปตรงมาอะไรทำได้ทันทีเราจะเริ่มให้ แต่ถ้าติดเรื่องงบก็จะแจ้ง ผอ. พอได้ข้อมูลครบทุกฝ่าย จะชวนคุณครูมาประชุมก่อน เรียงลำดับความสำคัญ อันไหนทำได้ก่อนหลัง หรือจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ปกครอง
โรงเรียนรัฐบาลงบค่อนข้างจำกัดแต่เมื่อเด็กอยากได้โรงเรียนสวย ๆ จึงเกิดโปรเจกต์ พลิกโฉม เติมสีสัน บ้านทุ่ง ผอ. อ้อมทำทุกทางให้งานชิ้นนี้สำเร็จ ทั้งเชิญประชุมกรรมการสถานศึกษา คุยกับผู้ปกครอง สำรวจความต้องการของเด็ก สุดท้ายได้สปอนเซอร์จากหน่วยงานภายนอก และเงินขายสลาก รวมถึงคุณครู น้อง ๆ อาสามาช่วยลงแรง ชุมชนใกล้เคียงก็มาทำอาหารให้เด็ก ๆ ผลัดกันดูแลความปลอดภัย วันแรกที่เปิดเทอมนักเรียนดีใจมาก ห้องเรียนสวย
เราไม่จำเป็นต้องคิดอะไรหวือหวา เพียงแต่รู้ว่าทำแล้วนักเรียนได้อะไร เขาจะมีส่วนร่วม การเรียนการสอนเมื่อก่อน เป็น Passive นักเรียนนั่งฟังคุณครูพูด แต่ปัจจุบันผู้สอนต้องปรับใช้ Active ให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็น ต้องรู้จักชมเขา เมื่อทำได้สำเร็จ ผอ. อ้อมจะบอกคุณครูเสมอ คุณครูลองชวนเด็กทำกิจกรรมไปด้วยกัน อย่างการจัดบอร์ด ให้เขาได้ออกแบบ สุดท้ายเด็กเขาไม่ทำลายบอร์ดเลย เพราะเขาเป็นผู้สร้าง เขาจะรู้สึกหวงแหน กิจกรรมต่าง ๆ เราสามารถแทรกในโครงการอะไรก็ได้ และต้องถามผู้รับบริการเสมอ
เพราะการฟังเสียงของทุกคนเป็นเรื่องสำคัญ ต้องเช็ก และนำมาประมวลผล ตัวอย่างจากโรงเรียนบ้านทุ่งค่าย ที่รวบรวมข้อมูลทั้งหมด แบ่งออกมาเป็นหัวข้อใหญ่ ดังนี้ ความต้องการด้านวิชาการ เรียนเสริม , ติวเพื่อเรียนต่อ , ทักษะภาษาอังกฤษ ความต้องการด้านกิจกรรม ดนตรี , กีฬา , ศิลปะ , ว่ายน้ำ ความต้องการด้านกายภาพ แปลงดอกไม้ ผัก เกษตร , ศาลาทางเชื่อม , ห้องน้ำ , รั้วโรงเรียน ในอนาคต ผอ. อ้อม อยากทำกิจกรรมแคปซูลกาลเวลา ให้เด็กเขียนเป้าหมายสั้น ๆ ก่อนและใส่ลงไปในแคปซูล อาจจะตั้งโจทย์ว่า ภายใน 1 เดือน เขาจะเป็นคนแบบไหน เขาจะพัฒนาตัวเองด้านใดบ้าง สิ่งที่คาดหวังในอนาคต อยากได้อะไร พับใส่แคปซูล หย่อนลงไปในกล่อง เขียนวันที่ ก่อนจะเปิดแคปซูล ให้โอกาสเขาได้เปลี่ยนแปลง หรือปรับตัวอะไรบางอย่าง ถ้าเขาทำสำเร็จ ความสุขมันจะเกิด แต่ถ้ามันไม่สำเร็จ คุณครูก็สามารถเข้าไปช่วย ให้เขาวิเคราะห์ตัวเอง อะไรที่เป็นปัจจัยทำให้ไม่สำเร็จ และเดือนต่อไปตั้งเป้าใหม่อีกที กิจกรรมแคปซูลกาลเวลาเป็นเหมือนสิ่งเตือนใจ ให้รู้ว่ามีสิ่งที่ต้องทำ และวันที่เปิดก็แฮปปี้ ต่อให้มันไม่สำเร็จ แต่อย่างน้อย ได้ลองตั้งเป้าหมาย
นิยามคำว่าโรงเรียนแห่งความสุข ไม่ใช่แค่ ผอ. กับครูที่จะสร้างความสุข นักเรียนกับครู ผอ. กับนักเรียน นักเรียนกันเองที่มีความรักความผูกพัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันนอกจากนี้ก็เป็นชุมชนเข้ามาซัพพอร์ต สร้างให้ชุมชนแข็งแกร่งชาวบ้านที่เป็นผู้ปกครองชาวบ้านที่เป็นร้านค้าบริเวณนั้นยื่นมือเข้ามา ผอ.อ้อม แนะวิจัยช่วยพัฒนาโรงเรียนไปได้ไกล และต้องกล้าลองผิดลองถูก ความสำเร็จมันจะปรากฏผล ถึงแม้จะช้า แต่จะเกิดขึ้นแน่นอน อย่างน้อยเราได้เห็นรอยยิ้มของเด็ก ๆ ทุกวัน
Related Courses
Curriculum, Pedagogical Innovations
คอร์สเรียนนี้มุ่งเน้นพัฒนาหลักสูตร และวิธีการสอนที่ทันสมัย เพื่อให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โดยผ่านกลยุทธ์ที่หลากหลาย ให้ความสำ ...
Micro Learning - เทคนิคการช่วยเหลือผู้เรียน
การช่วยเหลือผู้เรียนสำคัญต่อการลดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างครูกับผู้ปกครอง
สอนศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยอย่างไรดี
ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย จะได้เรียนรู้ความสำคัญ พัฒนาการทางศิลปะ กิจกรรมศิลปะและหลักการจัดประสบการณ์ศิลปะให้แก่เด็กปฐมวัย
Visionary Leadership, Building community and Technology
ในการจะก้าวสู่การเป็นผู้นำในอนาคต อาจจะต้องพัฒนา 3 ทักษะสำคัญ ได้แก่ Visionary Leadership ปลุกพลังวิสัยทัศน์ นำทางสู่คว ...