สอบสัมภาษณ์อย่างไรให้ผ่าน คู่มือการเตรียมตัวในการสอบสัมภาษณ์
ช่วงเวลาในการสอบสัมภาษณ์ถือเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญของผู้สมัครงานแทบทุกคน แต่สำหรับผู้สมัครหลายๆ คนที่อาจจะเป็น First Jobbers หรือเป็นผู้สมัครงานเป็นครั้งแรกๆ ความกลัว ความกังวลก็ยิ่งมักล้นกว่าผู้สมัครท่านอื่นๆไหนจะต้องเตรียมตอบคำถามไหนจะต้องเตรียมสิ่งอื่นๆ หรือเปล่าที่เราอาจจะยังไม่เคยรู้ ในฐานะผู้สมัคร First Jobbers แล้ว เราควรต้องรู้อะไรบ้าง หรือเตรียมอะไรบ้างเพื่อให้ช่วงเวลาในการสอบสัมภาษณ์ของเราออกมาอย่างดีที่สุดในบทความนี้ Starfish Labz มีคำตอบ ~ มาพกคู่มือการเตรียมตัวในการสอบสัมภาษณ์ฉบับครบแถมกะทัดรัดนี้เก็บไว้ข้างกายกันเลย
สอบสัมภาษณ์ฉบับมือโปร คู่มือการเตรียมตัวในการสอบสัมภาษณ์ฉบับ First Jobbers จบ ครบ ง่ายใน 3 สเต็ป
สเต็ปที่ 1 การเตรียมตัวก่อนการสอบสัมภาษณ์
ในทุกๆ การสอบสัมภาษณ์งาน สิ่งที่เราจะได้เผชิญก็คือ 3 สเต็ป หรือ 3 ช่วงระยะเวลาสำคัญ นั่นคือ 1) ช่วงเวลาการเตรียมตัวก่อนการสัมภาษณ์, 2) ช่วงเวลาเตรียมตัวในวันสัมภาษณ์ และ 3) ช่วงเวลาการติดตามหรือจัดการตนเองในจุดต่างๆ หลังการสัมภาษณ์เสร็จสมบูรณ์
การแบ่งกระบวนการสัมภาษณ์ออกเป็น 3 ช่วงระยะเวลาสำคัญๆ แบบนี้ ช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมของสิ่งสำคัญที่เราต้องเตรียมตัวอย่างแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างดีและชัดเจนยิ่งขึ้น โดยสำหรับในช่วงเวลาแรกสุดหรือก่อนการสัมภาษณ์ สิ่งที่เราควรเตรียมตัวอย่างดีที่สุดก็คือ
1. การศึกษา ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท
อาจฟังดูเหมือนเป็นการตระเตรียมที่ไม่สำคัญหรือคงไม่เกิดประโยชน์เลยสำหรับ First Jobbers แต่รู้ไหมคะว่าเกือบ 90% หรืออาจจะเกือบ 100% เลยก็ว่าได้ของในกระบวนการสัมภาษณ์ทุกๆบริษัทจะมีการสอบถาม หรือดูความสนใจจริงๆ ของเราในการทำงานที่นี่อยู่เสมอ
หากไม่ถามตรง ทางบริษัทก็อาจจะใช้วิธีการสังเกต หรือชวนถามเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบริษัทเพื่อดูว่าเรารู้จักที่นี่จริงๆไหม เรามาสมัครที่นี่เพราะอะไร เรามาสมัครเล่นๆ หรือเปล่า หรือเราสนใจจริงๆ การดูความตั้งใจและความสนใจของเราในการมาสมัครถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สัมภาษณ์ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้ว เขาก็ต้องการคนที่สามารถครองตำแหน่งในระยะยาว มีความสนใจจริงๆ ไม่ได้มาเพราะกดสุ่มส่ง Resume มาเล่นๆ หรือมั่วๆ นั่นเอง
2. การเตรียมหรือฝึกซ้อมตอบคำถาม ตลอดจนการทำแบบทดสอบ (หากมี)
คำถามในกระบวนการสมัครส่วนใหญ่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 หมวดหลักๆ ในหมวดแรกเป็นคำถามที่เรามีโอกาสเจอแน่ๆ อย่างน้อย 2 หรือ 3 คำถาม ถือเป็นคำถามมาตรฐานหรือพื้นฐานในทุกๆ การสัมภาษณ์งาน ได้แก่
- กรุณาแนะนำตัว
- คุณรู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทเราบ้าง
- คุณสนใจอะไรในตำแหน่งนี้
- ทำไมถึงลาออกจากบริษัทเดิม
- ช่วยอธิบายการทำงานในตำแหน่งเดิมของคุณ หรือประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา
- ต้องการฐานเงินเดือนเท่าไหร่
- มีคำถามอะไรไหม เป็นต้น
ในหมวดที่ 2 อาจมีความยากขึ้นมาอีกนิด บางบริษัทอาจเตรียมคำถามในหมวดนี้เพิ่มเติมเข้ามาเพื่อสำรวจมุมมอง ความเห็น และความเหมาะสมต่างๆ คำถามในหมวดนี้อาจมีความชี้เฉพาะ (specific) หรือเฉพาะทางในด้านความชำนาญที่เรามาสมัคร อาทิ
- เรามองตัวเองอย่างไรในอนาคต
- เรามีรูปแบบการทำงานอย่างไรโดยปกติ
- จุดอ่อน-จุดแข็งของเราคืออะไร
- เราชอบการทำงานแบบไหน
- เรามีทักษะนี้ไหม หรือหากมี เรามีในระดับใด เป็นต้น
โดยในการเตรียมตัวตอบคำถาม นอกเหนือจากการลองร่างหรือเตรียมคำตอบ ผู้สมัครยังควรลองฝึกกล่าว หรือเอ่ยออกมาอย่างง่ายๆ ตอบในแบบฉบับที่เรารู้สึกว่าผ่อนคลาย เป็นตัวเรา หากเรามีทักษะการสื่อสารที่ดีอยู่แล้ว การสนทนาในจุดนี้ก็เป็นสิ่งง่ายๆ แต่หากเรายังรู้สึกว่าตัวเองยังขาด ก็อาจควรต้องมีการพัฒนาตนเองเองในจุดนี้เพิ่มสักนิด เพื่อให้เรามั่นใจว่าเราจะสามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้สัมภาษณ์อย่างดีที่สุด นอกเหนือจากการเตรียมตัวตอบคำถามแล้ว บางบริษัทยังอาจมีแบบทดสอบเล็กๆ หรือใหญ่ๆ หลังการสัมภาษณ์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการแจ้งเราล่วงหน้าในการนัดหมาย อย่างไรก็ดี บางครั้ง บางบริษัทก็อาจไม่ได้ระบุถึงกระบวนการในการทดสอบนี้ ผู้สมัครที่พร้อมจึงอาจควรเผื่อใจไว้ด้วยว่าในบางกรณี ก็อาจมีแบบทดสอบหลังการสัมภาษณ์ แต่ First Jobbers อย่างเราก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะแบบทดสอบโดยส่วนใหญ่แล้วก็จะเกี่ยวกับทักษะในตำแหน่งที่เราสมัคร หากเรามีสกิล มีความพร้อมอยู่แล้ว ก็แสดงศักยภาพ และความสามารถของเราออกไปให้เต็มที่ อย่างดีที่สุดกันเลย
3. การเตรียมเอกสารต่างๆ ที่มีการกำหนดหรือเรามองเผื่อว่าจำเป็น
บางบริษัทอาจระบุมาเลยว่าต้องการเอกสารอะไรบ้างในวันสัมภาษณ์ แต่บางบริษัทก็ไม่ได้ต้องการและแจ้งเรา สิ่งที่ดีที่สุดคือเตรียมไปก่อนเพื่อให้อุ่นใจ โดยเอกสารส่วนใหญ่ที่มักมีการขอหรือใช้ในช่วงวันสัมภาษณ์ ได้แก่ บัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, ใบ Transcript หรือหลักฐานการจบการศึกษา, Resume และ Portfolio ของเรา ซึ่งหากเรากังวลว่าจะต้องเตรียมสิ่งใดๆ เหล่านี้ไปหรือเปล่า ยังสามารถลองสอบถามกับทางบริษัทได้ ยกเว้นสิ่งที่ควรเตรียมไปอย่างแน่นอนก็คือตัว Resume หรือใบประวัติส่วนตัวของเรา ควรพกไว้ติดตัวเผื่อในวันสัมภาษณ์ เนื่องจากหลายๆ ครั้ง ผู้สัมภาษณ์อาจกล่าวถึงทักษะหรือจุดๆ ต่างใน Resume ของเรา ซึ่งถ้าหากเราจำไม่ได้ ก็จะช่วยให้เราสามารถหยิบ Resume ของเราขึ้นมาดูเพื่อตอบคำถามและก็คงอาจจะไม่เหมาะหากเราจะขอทางผู้สัมภาษณ์ดูว่าใน Resume เราเขียนอะไรลงไปนั่นเอง
4. การเตรียมตัวเรื่องแต่งกายและบุคลิกภาพโดยรวม
เตรียมทุกอย่างก่อนถึงวันสัมภาษณ์แล้ว สิ่งสุดท้ายก็คือการแต่งกายและฝึกหรือดูบุคลิกภาพของเราโดยรวม เราควรใส่ชุดอะไรไปในการสมัครที่นี่ ชุดนี้เหมาะไหม รวมถึงบุคลิกภาพการเดิน ท่าทาง หรือการนั่งเวลาสนทนาต่างๆ ของเราควรมีการฝึกเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนไหม หากเราใส่กระโปรง นั่งแบบนี้จะดีหรือเปล่า จะรู้สึกถนัดเวลาเดินทาง สบายเวลานั่งและเหมาะสมไหม สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เรานี้ช่วยเปลี่ยนวันสัมภาษณ์ที่น่ากังวลให้เป็นวันที่แสนสบายเลยก็ว่าได้ค่ะ
สเต็ปที่ 2 การเตรียมตัวในวันสัมภาษณ์
ถึงวันสัมภาษณ์ เมื่อเราเตรียมตัวก่อนวันอย่างดีแล้ว เมื่อถึงวัน จริงๆ แล้วก็ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมาก ก่อนถึงวันเพียงแค่ควรพักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอ ตื่นนอนควรหาอะไรรองท้องและควรเผื่อเวลาการเดินทางอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง ป้องกันรถติดหรือสิ่งต่างๆ ผิดพลาด อย่าลืมปากกา เอกสารที่เราเตรียมไว้ และชุดคู่ใจของเรา
สเต็ปที่ 3 การจัดการตนเองในช่วงเวลาหลังการสอบสัมภาษณ์
หลังสอบสัมภาษณ์เสร็จแล้ว บางบริษัทอาจแจ้งระยะเวลาที่แน่นอนในการแจ้งผลกลับ ในขณะที่บางบริษัทอาจบอกเพียงแค่คร่าวๆ ว่าหากผ่าน จะมีการติดต่อกลับไป ในช่วงนี้ โดยขั้นต่ำแล้ว อย่างเร็วที่สุดเราอาจต้องรอประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรืออย่างช้าที่สุดคือราว 1 เดือน แนวทางของแต่ละบริษัทมักแตกต่างกันไป แต่หากเกิน 1 เดือนหรือใกล้ครบ 1 เดือนแล้วยังไม่มีการตอบกลับ เราก็อาจอีเมลสอบถามทางบริษัทเกี่ยวกับผลลัพธ์เพิ่มเติมได้หากทางบริษัทไม่ได้กำหนดวันแจ้งผลที่แน่นอน หากผลออกมาว่าเราผ่าน มีโอกาสได้ทำงาน ผู้สมัครเองก็ยังมีโอกาสพิจารณาและเลือกที่ต่างๆ หากเรามั่นใจว่าเป็นที่นี่ ก็สามารถ SAY YES ตอบตกลงได้ทันที ซึ่งหลังจากนั้นก็จะเป็นการสอบถามถึงวันที่สามารถเริ่มทำงานได้ และรายละเอียดต่างๆ แต่หากเราเองรับการสัมภาษณ์แล้วพบว่าไม่ถูกใจ คงไม่เหมาะกับเรา หรือมีตัวเลือกอื่นๆ ที่เราสนใจกว่า เราก็สามารถปฏิเสธทางบริษัทได้เช่นกัน ผ่านการเขียนอีเมลตอบกลับอย่างเป็นทางการ แสดงถึงความเคารพ และการขอบคุณต่อโอกาสจากทางบริษัท และความเป็นไปได้ข้างหน้าที่เราอาจจะกลับมาพบกันในอนาคต
และนี่ก็คือคู่มือการเตรียมตัวในการสอบสัมภาษณ์ฉบับครบ จบในที่เดียวที่วันนี้ Starfish Labz ได้นำมาฝากทุกคนกันค่ะ ไม่ยากเลยใช่ไหมละคะเมื่อลองแบ่งออกมาในลักษณะการเตรียมตัวในการสอบสัมภาษณ์ 3 สเต็ปง่ายๆ แบบนี้แล้ว First Jobbers ท่านไหนที่กำลังเตรียมสอบสัมภาษณ์ อ่านคู่มือนี้แล้ว เชื่อว่าจะต้องช่วยให้เห็นภาพและเตรียมตัวได้อย่างดีขึ้นแน่นอน
อ้างอิง:
Related Courses
โลกเปลี่ยนไป ปรับตัวกับภัยธรรมชาติอย่างไรให้อยู่รอด
"โลกเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่คิด” ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การเตรียมตัวล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด คอร์สนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจกา ...
โลกเปลี่ยนไป ปรับตัวกับภัยธรรมชาติอย่างไรให้อยู่รอด
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เกมจิตวิทยาค้นหาตัวตน
อยากรู้ตัวเองมากขึ้นไหม? มาเล่นเกมค้นหาตัวตนกัน! คอร์สออนไลน์สนุกๆ ที่จะพาคุณไปเจอตัวเองที่แท้จริง" ค้นพบความถนัด ศักยภ ...
ไอเดียตั้งต้นเริ่มทำธุรกิจฉบับวัยทีน
อยากมีรายได้เสริม? อยากทำธุรกิจเป็นของตัวเอง? มาเรียนรู้แนวคิดในการสร้างรายได้และการต่อยอดไอเดียธุรกิจไปกับเรา! คอร์ ...
ไอเดียตั้งต้นเริ่มทำธุรกิจฉบับวัยทีน
ต้องใช้ 100 เหรียญ
5 เทคนิคเลคเชอร์ ให้จำได้ ทบทวนบทเรียนแบบง่ายๆ
อยากเกรด A ต้องทำยังไง? คอร์สนี้มีคำตอบกับ 5 เคล็ดลับ! สุดเจ๋ง ที่จะช่วยให้จดจำเนื้อหาได้ยาวนาน ทบทวนสนุก สมองปลอดโปร่ง ...