คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องความเท่าเทียม

Starfish Labz
Starfish Labz 3074 views • 9 เดือนที่แล้ว
คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องความเท่าเทียม

ความเท่าเทียมเป็นหลักพื้นฐานสำคัญในสังคมประชาธิปไตย ที่ให้คุณค่ากับความยุติธรรมแก่ประชาชน โดยไม่เลือกว่าแต่ละคนมีปูมหลัง ที่มา ตัวตน ความเชื่อ และอยู่ในสถานะทางสังคมแบบใด ทุกคนล้วนต้องเข้าถึงโอกาส สิทธิ และได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน การสอนวัยรุ่นเรื่องความเท่าเทียม ไม่เพียงทำให้พวกเขาตระหนักถึงความไม่เท่าเทียมกันที่มีอยู่ในสังคมเท่านั้น แต่ยังเป็นการบ่มเพาะความเห็นอกเห็นใจ เอื้อเฟื้อ ไปจนถึงการเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคลไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์ภายนอก หรือมุมมองความคิดเห็นที่ต่างกัน เพราะถึงแม้ความเท่าเทียม จะเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสำคัญ และออกมาเรียกร้อง แต่ก็ในความเป็นจริง เราต่างเห็นกันอยู่ว่ามีความ “ไม่เท่าเทียม” มากมายในสังคม การที่พ่อแม่บ่มเพาะเรื่องความเท่าเทียมในใจลูก อาจเป็นอีกทางออกหนึ่งที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า เมื่อเยาวชนเติบโตขึ้นมาพร้อมมองเห็นคุณค่าของคนที่ “เท่ากัน” 

ทำความเข้าใจความเท่าเทียมในหลายมิติ การสอนวัยรุ่นเรื่องความเท่าเทียม อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เมื่อเทียบกับการสอนให้อดออม รับผิดชอบ หรือซื่อสัตย์กตัญญู เพราะแม้สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นจะเป็นนามธรรม แต่ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวที่แต่ละบุคคลสามารถพัฒนาด้วยตนเองได้ แต่สำหรับความเท่าเทียมนั้น นอกจากจะเป็นนามธรรมแล้ว ก็ยังต้องหมั่นสังเกตบริบทต่างๆ ในสังคม เพื่อทำความเข้าใจความแตกต่าง ก่อนจะเกิดเป็นการยอมรับในความต่างนั้นๆ เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครอง อธิบายให้เยาวชนเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมได้ง่ายขึ้น เราจึงแบ่งความเท่าเทียมเป็นหลายมิติดังนี้ 

1. ความเท่าเทียมทางเชื้อชาติ: หมายถึงปัจเจกบุคคล ที่ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ชนชาติใด ย่อมต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ ความพยายามเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเชื้อชาติ เช่น ไม่เหยียดเชื้อชาติ ไม่เหมารวมตัดสินเชื้อชาติที่ต่างจากเรา ส่งเสริมความหลากหลายและสนับสนุนความคิดริเริ่มที่ยกระดับชุมชนชายขอบ

2. ความเท่าเทียมทางเพศ: หมายถึงโอกาสการเข้าถึงสิทธิ โอกาสและปฏิบัติอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะเพศใด ซึ่งการจะสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ อาจเริ่มจากการไม่เหมารวมทางเพศ ให้โอกาสแต่ทุกคนได้พัฒนาความสามารถของตนโดยไม่จำกัดว่าเป็นเพศใด รวมถึงสนับสนุนนโยบายความเท่าเทียมทางเพศด้วยการลงชื่อสนับสนุนกฎหมาย เป็นต้น

3. ความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ: หมายถึงโอกาสที่จะเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุน ความรู้อันเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตได้อย่างเท่าเทียมกัน เริ่มจาก น้ำประปา ไฟฟ้า อาหาร ยา เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ประชาชนในประเทศควรเข้าถึงทรัพยากรพื้นฐานเหล่านี้ ซึ่งการจะประสบความสำเร็จได้ต้องเริ่มจากนโยบายของรัฐที่จริงจังในการขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยการเพิ่มโอกาสเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน 

4. ความเท่าเทียมทางสังคม: เป็นการขมวดรวมด้านต่างของชีวิตในสังคม เช่น การเข้าถึงการศึกษา การสาธารณสุข ไปจนถึงอำนาจการตัดสินใจ ที่ประชาชนไม่ว่าเพศ สถานะทางสังคม เชื้อชาติใด ควรมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน 

 5  วิธีสอนวัยรุ่น เรื่องความเท่าเทียม เมื่อรู้แล้วว่าความเท่าเทียมนั้นมีด้านใดบ้าง ต่อไปนี้เป็น 5 วิธีที่พ่อแม่จะปลูกฝังค่านิยมเรื่องความเท่าเทียมกันให้กับวัยรุ่น

  1. เป็นตัวอย่างที่ดี สิ่งที่สำคัญกว่าคำสอน คือ การกระทำของพ่อแม่ เริ่มจากเคารพความแตกต่าง ไม่เหมารวม ด่วนตัดสินคนที่ต่างจากเรา พูดถึงคนที่มีความคิดความเชื่อต่างจากเราด้วยการให้เกียรติและเคารพในสิทธิของพวกเขา การกระทำของพ่อแม่ในชีวิตประจำวันมีส่วนอย่างมากที่จะหล่อหลอมความคิดของลูกเกี่ยวกับความเท่าเทียมในสังคม
  2. เปิดบทสนทนา หาโอกาสพูดคุยกับวัยรุ่นถึงประเด็นในสังคม โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับปัญหาเรื่องความเท่าเทียม เช่น การเหยียดเพศ การบูลลี่คนที่แตกต่าง ไปจนถึงการออกกฎหมายหรือเดินขบวนเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียม ครอบครัวควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้วัยรุ่นได้แสดงความคิดเห็น สอบถาม หรือขอคำแนะนำในประเด็นเหล่านี้ 
  3. เปิดโลกความแตกต่าง ชวนลูกท่องเที่ยว อ่านหนังสือ ดูสารคดีที่นำเสนอให้เห็นความหลากหลายในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ประสบการณ์จากโลกกว้าง จะช่วยให้วัยรุ่นเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมได้ง่ายขึ้น
  4. รู้ทันอคติและสิทธิพิเศษ สำหรับใครหลายคนที่ได้อ่านบทความนี้ เชื่อว่าคุณน่าจะมี
  5. สิทธิพิเศษ (Privilege) กว่าคนบางกลุ่มในสังคมไม่มากก็น้อย ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ถึงเราจะเรียกร้องความเท่าเทียม แต่ความ “ไม่” เท่าเทียมก็ไม่อาจหมดไป แต่การตระหนักรู้ถึงสิทธิพิเศษของตนเอง ไปจนถึงอคติที่นำไปสู่การเหมารวมว่ามีอยู่จริงนั้น จะช่วยให้วัยรุ่นได้ไตร่ตรองว่าปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือมุมมองต่อผู้อื่นที่ต่างจากเราอย่างไรบ้าง ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเอาใจเขาใส่ใจเรามากขึ้น
  6. ร่วมกิจกรรมส่งเสริมความเท่าเทียม: ความเท่าเทียมอาจเริ่มต้นที่ตัวเราเองได้ จากการเคารพ และปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แต่ในระดับสังคมแล้ว อาจต้องการการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมมากกว่า หากมีกิจกรรมอาสาสมัครที่เกี่ยวกับความเท่าเทียม ลองเปิดโอกาสให้วัยรุ่นได้เข้าร่วมเพื่อเรียนรู้ และอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้

ในสังคมที่มีความเท่าเทียม ทุกคนจะมีโอกาสเข้าถึงศักยภาพสูงสุดของตนเองได้ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน มีความเป็นอยู่โดยรวมที่ดีขึ้น ปราศจากความเครียดจากการเลือกปฏิบัติ แม้ในความเป็นจริงแล้ว ความเท่าเทียม อาจเกิดขึ้นได้ยาก แต่อย่างน้อยๆ การบ่มเพาะให้เยาวชนเห็นความสำคัญของความเท่าเทียม ก็เปรียบเสมือนการหว่านเมล็ดพันธุ์ ที่จะช่วยลดช่องว่างในความแตกต่างให้แคบลง 

แหล่งอ้างอิง (Sources) :

HOW TO ADDRESS DIVERSITY, EQUITY, AND INCLUSION WITH YOUR TEEN

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
Starfish Academy

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

Starfish Academy
1211 ผู้เรียน
คุณธรรมและจริยธรรม
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้

คุณธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจ นำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างให้เด็กพร้อมที่จะเผชิญโลก และสังคมปัจจุ ...

ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้
ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง

สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้

ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

การดูแลสุขภาพใจเด็กประถมศึกษา

ในคอร์สนี้เป็นการดูแลสุขภาพใจของเด็ก เพราะการมีสุขภาพใจที่ดีนั้นส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ทำให้อารมณ์ดี สามารถจัดการภาวะอาร ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การดูแลสุขภาพใจเด็กประถมศึกษา
Starfish Academy

การดูแลสุขภาพใจเด็กประถมศึกษา

Starfish Academy
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1409 ผู้เรียน

Related Videos

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
43:36
Starfish Academy

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น

Starfish Academy
294 views • 1 ปีที่แล้ว
108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
30:16
Starfish Academy

การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”

Starfish Academy
80 views • 2 ปีที่แล้ว
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
177 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
375 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง