ความไม่เท่าเทียมของการศึกษาช่วงโควิด
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบมากมายของชีวิตมนุษย์ทั่วโลก โดยเฉพาะด้านการศึกษา ที่ตอนนี้ก็ได้มีการเลื่อนเปิดภาคเรียนออกไปอีก ทำให้ตอนนี้ทั้งตัวเด็กเองและโรงเรียนก็เริ่มนำเอาการศึกษาแบบออนไลน์เข้ามาและมีการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ขึ้น เพื่อให้โรงเรียนและเด็กสามารถดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่วางไว้ได้นั่นเอง
แต่สำหรับประเทศไทยเองก็ได้มีการนำรูปแบบการเรียนออนไลน์มาใช้ควบคู่กับการเรียนการสอนแบบทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อให้นักเรียนได้เรียนที่บ้านกันอย่างปลอดภัย แต่ใช่ว่าทุกคนจะพร้อมกับการเรียนออนไลน์เสมอไป ถึงแม้จะปลอดภัยห่างไกลจากไวรัสโควิด-19 แต่ก็ยังมีความไม่พร้อมในหลายๆ อย่างเกิดขึ้น ทั้งตัวเด็กเอง คุณครู รวมไปถึงระบบการศึกษา
โดยเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยี ทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการเรียนออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน และสัญญานอินเทอร์เน็ต ที่ไม่ใช่นักเรียนทุกคนจะมีอุปกรณ์พร้อมเสมอ รวมถึงเด็กๆ เองก็ด้วย อย่างเด็กอนุบาลที่ต้องมีการเรียนรู้ผ่านการสัมผัส และปฏิบัติจริงๆ เขาก็ไม่สามารถเรียนแบบออนไลน์ได้ อีกทั้งพ่อแม่ที่ต้องจัดสรรเวลาเพื่อช่วยลูกเวลาเรียน หากพ่อแม่ไม่มีเวลาว่าง ก็ทำให้เด็กๆ ไม่สามารถเรียนได้อย่างเต็มที่ด้วย ทำให้การเรียนออนไลน์ในช่วงวิกฤติแบบนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้น คุณพ่อคุณแม่จะเห็นได้ว่าในการเรียนออนไลน์ก็ทำให้เกิดความไม่พร้อมในหลายๆ อย่างเกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นถึง “ความไม่เท่าเทียมของการศึกษา” ที่ชัดเจนมากขึ้น ทำให้เด็กๆ หลายคนที่ไม่พร้อมในส่วนนี้ทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ก็มีแนวโน้มที่จะเรียนไม่ทัน หรืออาจจะไม่ได้เรียนในช่วงนี้ได้
ทำให้พบว่า ผลสำรวจในข้อมูลที่ OECD บันทึกไว้พบว่า นักเรียนไทยอายุ 15 ปี ราว 81.6% เข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต แต่ในเด็กนักเรียนที่มีฐานะยากจนที่สุด มีเพียง 57% เท่านั้นที่บ้านเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ ส่วนโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนและโทรศัพท์ แม้ว่าเด็กไทยส่วนใหญ่เข้าถึงได้ แต่ในกลุ่มเด็กฐานะยากจนที่สุด 20% ไม่มีแม้แต่โทรศัพท์มือถือใช้เลยด้วยซ้ำ
นอกจากปัญหาข้างต้นแล้ว ปัญหาการเรียนผ่านช่องทางโทรทัศน์ดิจิทัลและดาวเทียมก็มีปัญหาเช่นกัน เพราะเด็กที่อยู่ห่างไกลจำนวนมากมีจำนวนโทรทัศน์ที่ไม่เพียงพอ แถมสัญญาณอินเทอร์เน็ตฟรีก็เข้าไม่ถึง แถมส่วนใหญ่พ่อแม่ของเด็กๆ ที่อยู่ห่างไกล ก็ยังทำงานเป็นแรงงาน เกษตรกร หรือบางส่วนอาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย ก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่สำหรับการเรียนออนไลน์ของเด็กๆ เหล่านั้น
สรุปเลยก็คือ เด็กๆ ที่มีพื้นฐานทางบ้านที่ดีกว่า ย่อมมีความพร้อมในการเข้าถึงการเรียนการสอนแบบออนไลน์มากกว่าเด็กๆ ที่มีพื้นฐานทางบ้านที่ไม่ดี ในบ้านที่พอจะมีฐานะก็จะหาอุปกรณ์ต่างๆ ในการเรียนออนไลน์ให้กับลูก หรืแแม้แต่การหาครูสอนออนไลน์ก็ทำได้เช่นกัน แต่เด็กที่มีฐานะยากจนนอกจจากอุปกรณ์ที่ไม่พร้อมแล้ว ยังมีเรื่องปัญหาด้านการเงินที่ไม่สามารถสนับสนุนให้ลูกเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้อีก จึงทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมของการศึกษาในช่วงวิกฤติโควิดนี้ได้อย่างเห็นได้ชัดนั่นเอง
Related Courses
เมนูถนอมอาหารสำหรับสถานการณ์ COVID-19
การงดการเดินทางที่ไม่จำเป็นอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยควบคุมสถานการณ์ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ต้องรับประทานอาหารบาง ...
เจลล้างมือมีความจำเป็นอย่างไร
การเรียนรู้ 7 ขั้นตอนล้างมือด้วยสบู่เมื่อเด็กๆอยู่ที่บ้าน ความจำเป็นที่ต้องใช้เจลล้างมือ ขั้นตอนการผลิตเจลล้างมือแบบง่ายๆ และประ ...
ปลูกผักไร้ดิน กินเองที่บ้าน (การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์)
ในปัจจุบันทุกคนต้องกักตัวที่บ้านเนื่อง จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งอาจทำให้ขาดแคลนอาหาร การปลูกผักแบบไร้ดินจึงเป็น ...
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...