7 วิธีการชวนครูเชื่อมความสัมพันธ์กับนักเรียนใหม่
ในทุกๆ การเปิดเทอม หรือเปิดภาคเรียนใหม่ มักจะมีนักเรียนเข้ามาระหว่างภาคเรียนเสมอ ดังนั้น คุณครูอาจจะต้องสร้างพื้นที่เชื่อมความสัมพันธ์ให้แก่นักเรียนใหม่ที่เข้ามาเพื่อให้เขาสามารถปรับตัวกับเพื่อนร่วมห้องได้อย่างดีและเรียนได้อย่างมีความสุข โดยคุณครูสามารถต้อนรับและสร้างความสัมพันธ์กับนักเรียนใหม่ได้โดยวิธีการต่อไปนี้
1. ชี้แจงสมาชิกในห้องเรียนเกี่ยวกับเพื่อนใหม่ คุณครูชี้แจงกับสมาชิกในห้องเรียนว่า “วันนี้จะมีเพื่อนใหม่เข้ามานะ” หลังจากนั้นให้คุณครูตั้งคำถามกับสมาชิกในห้องเรียนว่า
- ใครเคยย้ายโรงเรียน หรือเคยไปอยู่สถานที่ใหม่ๆ ที่เราไม่รู้จักใครเลยบ้าง ?
- เวลาเราอยู่ไปที่ใหม่ๆ ที่ไม่มีรู้จักใคร คิดว่าเราต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติมบ้าง ?
- สมาชิกทุกคนในห้องเรียจะช่วยเหลือเพื่อนใหม่ในเรื่องใดบ้าง ?
เพื่อให้สมาชิกคิดถึงความรู้สึกและความต้องการของเพื่อนใหม่ และเพื่อนๆ ช่วยเตรียมโต๊ะ และเก้าอี้ของเพื่อนใหม่ให้พร้อม
2. แจกแฟ้มข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับโรงเรียนให้นักเรียนใหม่ การแจกแฟ้มส่วนตัว เพื่อแนะนำโรงเรียนให้แก่นักเรียนใหม่ จะทำให้นักเรียนรู้สึกอบอุ่น และสบายใจมากขึ้น ซึ่งในแฟ้มอาจจะประกอบไปด้วย 1.ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน เช่น ชื่อ-นามสกุล / สิ่งที่ชอบ/ไม่ชอบ อาหารที่แพ้ อื่นๆ โดยให้นักเรียนกรอกข้อมูลเอง 2.วันสำคัญต่างๆ ของโรงเรียน/วันหยุด 3.รายชื่อเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในโรงเรียน เช่น บรรณารักษ์ ครูในห้องพยาบาล เป็นต้น 4.กฎกติกาของห้องเรียน 5.แผนที่ห้องเรียน 6.ตารางสอน
3. จับคู่บัดดี้ให้นักเรียนใหม่เมื่อมีนักเรียนใหม่เข้ามาเขาอาจจะรู้สึกโดดเดี่ยวหากต้องทำอะไรคนเดียวในช่วงแรกคุณครูควรเลือกนักเรียนให้เป็นบัดดี้กับนักเรียนใหม่ เพื่อให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยบัดดี้ที่ครูเลือกอาจจะต้องมีลักษณะนิสัยดังนี้ 1.เป็นนักเรียนที่พึ่งได้ 2.เป็นนักเรียนที่มีส่วนร่วมกับโรงเรียน หรือการสอนในห้องเรียน 3.เป็นนักเรียนที่ร่าเริงแจ่มใส 4.เป็นนักเรียนที่มีความมั่นใจ
4. เล่นเกมทำความรู้จักกัน คุณครูชวนสมาชิกในห้องเรียนและนักเรียนใหม่ทำความรู้จักกันผ่านการเล่นเกมต่างๆ เช่น เกมจดจำชื่อเพื่อน เกมชวนให้รู้จักกันเชิงลึกมากขึ้น กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนรู้สึกผ่อนคลายจากความกังวลมากขึ้น แต่ข้อสำคัญ คือ การเคารพกฎและกติการ่วมกัน
5. ประเมินความสามารถของนักเรียนใหม่ ในช่วงแรกของการรู้จักกัน คุณครูอาจจะประเมินความสามารถของนักเรียนไม่ได้ 100% เพราะฉะนั้น คุณครูอาจจะต้องสังเกตนักเรียนใหม่เป็นพิเศษทั้งในเรื่องความท้าทายของนักเรียน รูปแบบการเรียนรู้ ความสนใจในเนื้อหาต่างๆ เพื่อที่จะช่วยเหลือหากนักเรียนใหม่ต้องการอะไรเพิ่มเติม
6. Check-in กับนักเรียนคุณครูต้องคอยสร้างความเชื่อใจกับนักเรียนใหม่ โดยการจัดสรรช่วงเวลาตอนเช้า หรือตอนหลังเลิกเรียนเพื่อพูดคุยกับนักเรียนถึงความรู้สึกต่างๆ หลังจากที่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกของห้องเรียนแล้ว เพราะหากนักเรียนมีปัญหา คุณครูจะได้ช่วยแก้ไขได้ทันเวลา แต่ในช่วงแรกนั้น นักเรียนอาจจะยังไม่เปิดใจ ขอให้คุณครูใช้ความสม่ำเสมอในการพูดคุยกับนักเรียนต่อไป
7. พูดคุยกับผู้ปกครองในช่วงแรกคุณครูอาจจะต้องพูดคุยกับผู้ปกครองของนักเรียนใหม่บ่อยกว่าปกติ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพราะเป็นช่วงปรับตัว เพื่อให้ผู้ปกครองช่วยเหลือ ติดตาม สังเกตอาการของนักเรียนเมื่อกลับถึงบ้าน และมาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลให้แก่กันและกัน
ทั้ง 7 วิธีการจะช่วยให้คุณครู นักเรียนใหม่ และสมาชิกในห้องเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาอีกเช่นกัน ขอให้คุณครูอดทนพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในห้องเรียนให้เกิดขึ้น เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับนักเรียนทุกคน
อ้างอิง
7 New Student Orientation Tips to Welcome a Child Into an Established Classroom
บทความใกล้เคียง
Related Courses
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.4-6
เด็กระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จะอยู่ในช่วงวัยที่เริ่มเรียนรู้จักพัฒนาตนเอง สนใจความรู้สึกตนเองและผู้อื่น เริ่มให้ความสนใจเพศตร ...
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 50 เหรียญ