พลังของคำชม ชมอย่างไรให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรม
บ่อยครั้งที่คุณครูอาจเห็นเด็กนักเรียนบางคนมีพฤติกรรมก่อกวนเรียกร้องความสนใจจากคุณครูมีงานวิจัยมากมายบอกว่าการชมเชิงบวกที่เฉพาะเจาะจงสามารถลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้และมากกว่านั้นคือ เราอาจใช้คำชมเชิงบวกที่เฉพาะเจาะจงเพื่อเพิ่มพฤติกรรมอันพึงประสงค์ที่เราต้องการสร้างให้เด็กก็ทำได้เช่นกัน สิ่งที่น่าสนใจคือ อัตราการใช้คำชมของคุณครูต่อการตำหนิ คือ 4:1 โดยมีการชมประมาณ 6 ข้อความในทุกๆ 15 นาที ซึ่งอาจจะฟังดูเหมือนเยอะแต่อยากให้คุณครูลองปรับมุมมองดูว่าเราสามารถชื่นชมนักเรียนได้อย่างไม่จำกัดแต่ต้องชมอย่างมีเป้าหมายด้วยเช่นกัน เพื่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงแก่นักเรียนมากที่สุดมาดู 7 ลักษณะของการชมเชยที่สร้างแรงบันดาลใจกัน
1. ชมอย่างจริงใจและต้องเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะเด็กๆ จะรู้ว่าเราชมเขาอย่างจริงใจหรือไม่ หากคุณครูไม่เคยชื่นชมเด็กๆ เลยอาจจะเริ่มต้นด้วยการบอกว่า “คุณครูขอชมเราหน่อยได้ไหม” เป็นวิธีการที่ดีที่จะเริ่มให้เด็กๆ เปิดใจกับเราและเมื่อเด็กๆ พร้อมที่รับคำชมขอให้คุณครูสบตาและชมในพฤติกรรมที่คุณครูเห็นเขาทำ
2. ชมแบบเฉพาะเจาะจงและสังเกตได้ คุณครูจะต้องระบุชื่อนักเรียน กลุ่มนักเรียน หรือพฤติกรรมที่นักเรียนทำได้ดี หากคำชมยังไม่ชัดเจน คุณครูขอให้นักเรียนทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีกครั้ง แทนที่จะชมว่า “ทำได้ดีมาก” เท่านั้น
3. ชมทันทีที่เห็นเหตุการณ์นั้น เพราะจะช่วยให้นักเรียนเห็นถึงความชัดเจนของพฤติกรรมที่ดีที่ตนเองได้ทำ เช่น เด็กชายเอ ดีมากเลยที่อ่านทวนโจทย์ปัญหานั้นอีกครั้งก่อนที่จะตอบคำถามครู เธอเป็นคนละเอียดรอบคอบดีมากๆเลย” เป็นต้น
4. ชมที่กระบวนการ ไม่ใช่ความสามารถ คือ คุณครูต้องชื่นชมนักเรียนที่สามารถมีความพยายาม หรือความรอบคอบ มากกว่าการชื่นชมว่า “ใครเก่ง”
5. ชมที่ทักษะของนักเรียนที่คุณครูเห็น เช่น เมื่อเห็นนักเรียนพยายามแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ คุณครูอาจจะบอกว่า “ว้าว ครูเห็นเจมส์พยายามวาดรูปความเชื่อมโยงของปัญหาที่ซับซ้อนเพื่อให้ตนเองเข้าใจได้มากขึ้น นี่คือทักษะที่นักคณิตศาสตร์ที่ดีเขาทำ”
6. ชมที่พฤติกรรมที่สนับสนุนการจัดการห้องเรียนที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เช่น “ขอบคุณบอลมากเลยนะ ที่ช่วยนำอุปกรณ์ต่างๆ มาให้ครูเพื่อที่จะให้กลุ่มอื่นๆ สามารถทำงานต่อได้อย่างทันเวลา”
7. ชมที่ทักษะที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่คุณครูสอน เช่น “หญิง เธอออกเสียงตัว R และตัว L ได้ชัดเจนดีมากเลยนะ” นอกจากคำชมที่คุณครูมอบให้นักเรียนแล้วคุณครูอาจจะต้องแสดงความตื่นเต้นทำให้นักเรียนรู้สึกถึงความพิเศษของตนเองที่ทำพฤติกรรมเชิงบวกเพราะคำชื่นชมจะกระตุ้นให้สมองหลั่งโดปามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำให้นักเรียนรู้สึกดีและมีแรงจูงใจในช่วงแรกของการเริ่มต้นชื่นชมคุณครูอาจจะต้องใช้เวลาเพื่อทำให้เป็นธรรมชาติแต่ขอให้คุณครูนึกเอาไว้เสมอว่าเราควรต้องชื่นชมนักเรียนด้วยความจริงใจเป็นอันดับแรกและขอให้มีความเชื่อว่านักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาได้
แปลและเรียบเรียง
Related Courses
ปรับ Mindset เปลี่ยนวิธีคิด สร้างสุขให้ตัวเอง
คอร์สเรียนนี้จะเป็นการเรียนรู้เพื่อปรับ Mindset เปลี่ยนวิธีคิดของตนเอง เพื่อสร้างความสุข ฝึกให้เรามีความมั่นใจ รู้จักตัวตนแล ...
ปรับ Mindset เปลี่ยนวิธีคิด สร้างสุขให้ตัวเอง
ต้องใช้ 100 เหรียญ
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...