รู้ทัน 3 เหตุผลของการตั้งเป้าหมายที่ไม่สำเร็จและวิธีการตั้งเป้าหมายที่ดี
อย่างที่รู้กันว่าการตั้งเป้าหมายนั้นใครก็ทำได้แต่การยึดมั่นในการทำเป้าหมายให้สำเร็จนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิดในบทความนี้จะชวนทุกคนมารู้ทันเหตุผล 3 ข้อว่าทำไมเราถึงไม่สามารถทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ รวมถึงบอกวิธีการที่จะทำให้เราเอาชนะปัญหานี้ได้
เหตุผลที่ 1 คือ เราตั้งเป้าหมายโดยที่เราไม่ย่อยเป้าหมายนั้นให้อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา อย่างที่ Desmond Tutu เคยกล่าวไว้ว่า “มีทางเดียวที่จะกินช้างได้ทั้งตัว คือ กินทีละคำ” เราต่างต้องการสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตเหมือนกับช้างแต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการตั้งเป้าหมายก็คือการรับรู้ของเราต่อเป้าหมายนั้น มนุษย์เราทุกคนมีศักยภาพที่จะสามารถทำให้เป้าหมายสำเร็จได้ แต่ต้องหาวิธีที่เหมาะสมในการลงมือทำด้วย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 : การกำหนดเป้าหมายตามหลักการ SMART Goal โดยมีการระบุความเจาะจง วัดผลได้ บรรลุผลได้และต้องกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เมื่อมีหลักหรือแนวคิดในการตั้งเป้าหมายแล้วเราก็จะเห็นเส้นทางที่จะเดินหน้าต่อไปได้ชัดเจนขึ้น ขั้นตอนที่ 2 : แตกย่อยเป้าหมายออกมาให้เป็น “การกระทำ” ที่จับต้องได้ และระบุออกมาว่าเป็นรายเดือน รายปี หรือรายสัปดาห์ เช่น คุณครูมีโปรเจกต์ที่จะต้องทำให้เสร็จภายในเวลา 6 เดือน คุณครูอาจจะแบ่งงานออกเป็น 3 เดือนแรกและ 3 เดือนหลัง และจัดทำแผนรายเดือนว่าจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้เสร็จบรรลุผล ขั้นตอนที่ 3: ปรับเปลี่ยนนิสัยให้มีวินัยในตนเองมากยิ่งขึ้น
เหตุผลที่ 2 คือ เราไม่ติดตามเป้าหมายที่เราทำอย่างที่เหตุผลแรกบอกว่าการตั้งเป้าหมายจะต้องมีการวัดผลได้เพราะการติดตามนั้นจะทำให้เราเห็นความก้าวหน้าของตนเอง ดังนั้น หากเราไม่สามารถติดตามเป้าหมายของเราได้ นั่นอาจแปลได้ว่าเป้าหมายของเรายังไม่สามารถวัดผลได้ หรือยังไม่ชัดเจนพอ มีงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีการบันทึกการติดตามความก้าวหน้าจะมีโอกาสบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ยกตัวอย่างการติดตามเป้าหมาย เช่น เราต้องการลดน้ำหนักให้ได้ 10 กิโลในเวลา 1 เดือน และเราได้กำหนดเป้าหมายย่อยว่า ใน 1 สัปดาห์ เราสามารถลดน้ำหนักได้กี่กิโล เมื่อเราเห็นตัวเลขของน้ำหนักที่ลดลง เราก็จะมีกำลังใจในการลดน้ำหนักให้ได้ตามเป้าหมายต่อไป
เหตุผลที่ 3 คือ เราไม่ได้พยายามที่จะบรรลุเป้าหมายด้วยการใช้กลยุทธ์ที่ดี เช่น เคยรู้สึกว่าทำงานหนักแต่ไม่บรรลุเป้าหมายไหม ? นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าเรากำลังไปผิดทางนอกจากการตั้งเป้าหมายแบบ SMART Goal แล้วยังมีกลยุทธ์แบบ G’SOT ที่จะช่วยให้เรามีทิศทางมากขึ้น G - Goal (เป้าหมาย) คือ ผลลัพธ์ที่เราอยากมองเห็นแบบกว้างๆ S - Strategy (กลยุทธ์) คือ กลยุทธ์แนวทางพื้นฐานที่เราจะใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย O - Objective (วัตถุประสงค์) คือ ขั้นตอนพื้นฐานที่เราดำเนินการเพื่อให้บรรลุกลยุทธ์ T - Tactic (เครื่องมือ) คือ เครื่องมือที่ทำให้เราบรรลุวัตถุประสงค์ยกตัวอย่าง เช่น G - ทำโครงการภาคการศึกษาให้เสร็จภายใน 6 เดือน S - แบ่งโครงการออกเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 3 เดือน และจัดสรรงานต่างๆ ลงไปในแต่ละเดือนอย่างชัดเจน O - ในแต่ละวัน วางแผนที่จะอ่านงานให้จบ 2 บท และแก้ไขส่วนที่เสร็จเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ เขียนวัตถุประสงค์ในแต่ละวันและทำเครื่องหมายหากเราทำสำเร็จ T - ใช้เครื่องมือติดตามนิสัย เช่น Habitify เพื่อเขียนงานประจำวันของเราเมื่อการบรรลุเป้าหมายไม่มีเส้นทางลัดที่ทำให้สำเร็จเพราะฉะนั้นเราต้องออกแบบเส้นทางของเราเพื่อไปสู่ความสำเร็จแทน และอย่าพยายามลดเป้าหมายของเรา แต่จงเพิ่มความพยายามและปรับแต่งกลยุทธ์เพื่อให้เราไปถึงเป้าหมายที่เราวางไว้แทน
แปลและเรียบเรียง
บทความใกล้เคียง
กิจกรรม PLC ครั้งที่ 3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้มุ่งสู่การพัฒนา (Portfolio)โครงการ Starfish Future Labz
3 ก.สร้างสุขสู่การแนะแนวเพื่อให้นักเรียนมีความสุขในการมาโรงเรียน
Starfish Future Labz แนะแนวทักษะชีวิต 5 เคล็ดลับ ช่วยลูกพัฒนาสมาธิ พร้อมจดจ่อในทุกสถานการณ์
Related Courses
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอการเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยา ...
เมนูของว่างรองท้อง สูตรสร้างอาชีพ
ใครที่กำลังต้องการหาไอเดียทำอาหารว่าง เพื่อสร้างอาชีพ ทำกำไรแบบง่ายๆสำหรับมือใหม่ ใช้ทุนน้อย และใช้อุปกรณ์ที่สามารถหาได้ที่บ้าน ...
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...
สารพัดวิธีรับมือ และเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติ
ความแปรปรวน ของสภาพอากาศโลกและภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้งที่มีความรุนแรงขึ้น จึงมีความจำเ ...