5 วิธีพาโรงเรียนสร้างความร่วมมือกับชุมชนสู่ความสำเร็จ
การสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนหรือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนและชุมชนจะสามารถช่วยขยายขอบเขตการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างกว้างขวางและสามารถเชื่อมโยงความรู้ให้เข้ากับเรื่องรอบตัวนักเรียนได้ดียิ่งขึ้นซึ่งหากท่านผู้บริหารเห็นความสำคัญและต้องการที่จะเริ่มสร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชนสามารถดำเนินการได้ตาม 5 วิธีต่อไปนี้
1)ค้นและระบุโอกาสจากทรัพยากรที่มีในชุมชน
มันคงเป็นเรื่องที่ยากหากเราจะทำอะไรร่วมกับชุมชนแต่ไม่รู้จักทรัพยากรต่างๆ ที่ชุมชนเรามีหรือเป็นก่อนยกตัวอย่างเช่น ผู้บริหารอาจจะให้บุคลากรในโรงเรียนร่วมค้นหาข้อมูลว่ามีใคร ทำอะไรในชุมชนของเราบ้าง เช่น กลุ่มธุรกิจในท้องถิ่น องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร องค์กรบริหารสังคม สมาคมต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง หน่วยงานรัฐ ห้องสมุดประจำเขต เป็นต้น หลังจากนั้นให้ทุกคนในโรงเรียนช่วยกันระบุความต้องการที่โรงเรียนต้องการและระบุทรัพยากรของโรงเรียนที่สามารถจัดสรรให้กับชุมชนได้รวมถึงการหาจุดเชื่อมโยงในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนร่วมกัน เช่น หากมีธนาคารใกล้กับโรงเรียนผู้บริหารสามารถเชิญชวนนักธนาคารและการเงินมาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมออกแบบหลักสูตรการเงินให้กับนักเรียนหรือสอนเกี่ยวกับการเก็บออมต่างๆ เป็นต้น
2)เข้าหาชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ร่วมกัน
หลังจากบุคลากรในโรงเรียนร่วมกันค้นหาองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วขอให้ผู้บริหารนำทีมคุณครูแกนนำไปพบปะองค์กรเหล่านั้นด้วยตนเองเพื่อพูดคุยและแลกเปลี่ยนเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกันถามความต้องการและความคิดเห็นขององค์กรนั้นๆ ว่า “โรงเรียนจะสามารถช่วยเหลือชุมชนได้ดีขึ้นอย่างไร” และขอให้ผู้บริหารจำไว้ว่าเป้าหมายของการสนทนา คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเพื่อการทำงานร่วมกันในอนาคตไม่ใช่เป็นการพูดคุยถึงแต่ความต้องการของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว
3)กำหนดวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับชุมชน
ควรคำนึงไว้เสมอว่าการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ดีร่วมกัน ควรมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่ชุมชนหรือองค์กรที่เราต้องการทำงานด้วย ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม เช่น อดีตผู้อำนวยการโรงเรียน The Park School จากเมือง Baltimore เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ใกล้เขตชุมชนของผู้สูงอายุจึงได้ริเริ่มโครงการทำงานร่วมกับชุมชนโดยการจัดช่วงเวลาให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีโอกาสได้เยี่ยมเยียนชุมชนผู้สูงอายุจึงทำให้นักเรียนมีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สูงอายุโดยการอ่านหนังสือให้พวกเขาฟัง พูดคุยกับพวกเขาและรับฟังเรื่องราวชีวิตของผู้สูงอายุเหล่านั้นและในขณะเดียวกันนั้นโรงเรียนยังสร้างภารกิจที่มีความหมายต่อชุมชนด้วยการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุที่พักอาศัยใกล้เคียงกับโรงเรียน จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าสิ่งสำคัญคือการกำหนดโอกาสที่ส่งผลดีต่อทั้งโรงเรียนและชุมชนเพื่อการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต
4)เริ่มต้นเล็กๆ แล้วค่อยขยายใหญ่
บ่อยครั้งเมื่อเราเจอองค์กรที่อยากทำงานไปในทิศทางเดียวกันผู้บริหารอาจจะอยากสร้างหรือจัดงานยิ่งใหญ่เพื่อเด็กๆ และชุมชนแต่อย่าลืมว่าการจัดงานครั้งหนึ่งใช้ระยะเวลานาน และงบประมาณที่มากมาย ดังนั้น ข้อแนะนำ คือ การเริ่มต้นทดลองทำงานร่วมกันในเป้าหมายที่เล็กลงก่อน เช่น บางครั้งผู้บริหารอาจจะมีเป้าหมายสร้างโครงการสร้างอาชีพให้นักเรียนทั้งโรงเรียน แต่เราอาจจะต้องแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม โดยเริ่มต้นทดลองกับนักเรียนชั้น ม.3 ก่อน โดยการเชิญวิทยากรในชุมชนมาให้ความรู้กับนักเรียน และหลังจากนั้นค่อยขยายผลออกไปในระดับชั้นอื่นๆ เป็นต้น เพื่อไม่ให้เสียเวลาไปกับการเตรียมงานที่มากเกินไป
5)สรุปผลการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
กระบวนการนี้จะช่วยทำให้ชุมชนหรือองค์กรที่ทำงานร่วมกับโรงเรียนมั่นใจว่าเรากำลังเดินทางไปในทิศทางเดียวกันและสามารถสานต่อการทำงานร่วมกันในอนาคตได้ ดังนั้น ผู้บริหารควรมีการประเมินและสรุปการทำงานร่วมกันทั้งในแง่ของประโยชน์ที่ได้รับร่วมกันความรู้สึกของคนในชุมชนการเรียนรู้ที่ดีขึ้นของนักเรียนและการทำงานที่มีประสิทธิภาพขึ้นของคุณครู ไม่เพียงแต่การประเมินในด้านบวกเท่านั้นควรจะต้องมีการประเมินและพูดคุยกันถึงความท้าทายที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานร่วมกันด้วยเพื่อวางแผนการทำงานต่อไป
สุดท้ายนี้ขอให้ผู้บริหารคำนึงไว้ว่า“โรงเรียนไม่ได้เป็นที่ให้ความรู้นักเรียนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น” ถึงแม้ว่าโรงเรียนจะเป็นสถานที่หลักที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนแต่อย่าลืมว่าองค์กรต่างๆในพื้นที่ ผู้ปกครอง ชุมชน ต่างมีประสบการณ์ที่มากมายสามารถช่วยเติมเต็มศักยภาพของโรงเรียนได้เช่นกัน ดังนั้น ขอให้ผู้บริหารใช้ความเชี่ยวชาญของชุมชนให้เกิดประโยชน์เพื่อเป็นการตอบแทนที่ได้เอื้อทรัพยากรและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
แปลและเรียบเรียง
School-Community Engagement : 5 Steps to Creating Impactful Partnership
บทความใกล้เคียง
ครู SMART ทำได้สร้างห้องเรียนสมรรถนะ ตามเกณฑ์ วPA – วงคุยเคล็ดลับ วPA จากผู้ปฏิบัติจริง
กิจกรรม PLC ครั้งที่ 3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้มุ่งสู่การพัฒนา (Portfolio)โครงการ Starfish Future Labz
ยกระดับการเรียนรู้โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา ด้วย 3 นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการศึกษา จาก Starfish Education
Related Courses
How to วิธีการหาทุนสำหรับมือใหม่
ทุกคนมีความฝัน แต่หลายคนกลับไปไม่ถึงฝันเพราะต้นทุนชีวิตน้อย การมองหาทุนการศึกษาจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีส่วนช่วยสนับสนุนก ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...
โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว
โรงเรียนปลาดาว เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะสำคัญทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต ผ่าน ...