เจาะลึก Project based vs. Problem based ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ต่างกันอย่างไร
หลายคนอาจจะยังสงสัยถึงความแตกต่างของการเรียนรู้แบบ Project Based-Learning และ Problem Based Learning ซึ่งทั้งสองรูปแบบการเรียนรู้นี้มีทั้งความเหมือนและความต่างโดยบทความนี้จะนำเอาประสบการณ์การสอนของ Sara Segar จากเว็บไซต์ SpacesEDU มาแลกเปลี่ยนกันดังนี้
PBL (Project Based Learning) และ PrBL (Problem Based Learning) เริ่มต้นมาจากการนำเอาปัญหาในโลกจริงมาเป็นโจทย์ในการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งสองรูปแบบเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยการบูรณาการหลากหลายวิชาเข้าด้วยกันและเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นแก่นักเรียน เช่น ทักษะการแก้ปัญหา การคิดเชิงวิพากษ์ ความคิดสร้างสรรค์ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและการใช้ข้อมูลเพื่อนำเสนอ เป็นต้น
Project Based Learning เป็นการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหาหรือความสนใจของผู้เรียนโดยมีหัวข้อที่เฉพาะเจาะจง เกี่ยวข้องกับตัวของผู้เรียนและอาจมีกระบวนการและผลลัพธ์ที่แตกต่างจาก Problem Based Learning
Problem Based Learning เป็นการเรียนรู้ที่เน้นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับตนเอง และสิ่งต่างๆ ในโลกผู้เรียนจะต้องค้นหาปัญหา แยกแยะ และค้นหาวิธีแก้ไขปัญหานั้นนอกจากนั้นต้องมีการสำรวจมุมมองและประสบการณ์ที่มีความหลากหลายต่อปัญหานั้นๆ เพื่อรวบรวมเป็นแผนงานที่ครอบคลุมในการแก้ปัญหานั้นได้จริง
ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้แบบ PBL และ PrBL โดยการเลือกหัวข้อการศึกษาการอนุรักษ์หมาป่าในรัฐมินนิโซตา
Problem Based Learning
1.นักเรียนสำรวจปัญหาจำนวนหมาป่าที่มีความเสี่ยงในรัฐมินนิโซตาผ่านการเรียนรู้จากปัญหา (PrBL) ขนาดประชากรหมาป่าในรัฐมินนิโซตามีขนาดเล็กจนเป็นอันตรายในบางครั้ง การมองปัญหานี้ผ่าน PrBL จะทำให้นักเรียนต้องดูที่มาของปัญหาก่อน (หมาป่ามีชื่อเสียงว่าเป็นอันตราย พวกมันกินปศุสัตว์เป็นอาหาร การสูญเสียถิ่นที่อยู่ที่สำคัญ การสูญเสียทางพันธุกรรม ฯลฯ)
*การสำรวจสาเหตุของปัญหาที่มีหลายมิติ เป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้แบบ PrBL
2.นักเรียนได้รวบรวมสาเหตุของปัญหาทั้งหมดแล้วเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่มากมาย เช่น การเปลี่ยนแปลงหรือสร้างนโยบายเพื่อปกป้องทั้งหมาป่าและเกษตรกร สร้างความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างเกษตรกรและนักอนุรักษ์และส่งเสริมเทคโนโลยีที่ป้องกันไม่ให้หมาป่าทำลายปศุสัตว์โดยตรง
*เป้าหมายของ PrBL เพื่อให้นักเรียนเห็นสาเหตุของปัญหาที่ครอบคลุมทุกมิติก่อนที่จะลงมือแก้ไขปัญหา
3.นักเรียนได้แผนงานแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมความซับซ้อนหลากหลายมิติ
4.เมื่อนักเรียนได้แผนงานแล้ว ก็สามารถลงมือทำได้
*แต่คุณครูจะไม่ได้คาดหวังว่าแผนนั้นจะต้องประสบความสำเร็จ หรือดำเนินการตามแผนที่คาดหวังไว้ทั้งหมด
Project Based Learning
แทนที่จะศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุ และการแก้ปัญหาอย่างครอบคลุมนักเรียนควรที่จะ
1.ส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชน
2.สร้างผลงาน หรือแก้ไขปัญหาให้แก่กลุ่มเป้าหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง
3.ส่งมอบผลงานให้แก่ชุมชน หรือกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง
เช่น ตัวอย่างงานศึกษาหมาป่า นักเรียนได้ติดต่อประสานกับกลุ่ม Wildlife Science Center (WSC) in มินิโซตา เพื่อร่วมมือกับพวกเขาในการอนุรักษ์หมาป่า
*การเรียนรู้แบบ PBL จะช่วยให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมและแก้ปัญหาได้อย่างเต็มที่
สรุปความเหมือนและความต่างของการเรียนรู้ทั้ง 2 แบบ
Problem - Based Learning
- ตั้งต้นจากปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง โดยให้นักเรียนสำรวจสาเหตุของปัญหาอย่างรอบด้าน รวบรวมแนวทางการแก้ปัญหา เลือกแนวทางการปัญหา และวางแผนงาน โดยใช้วิธีการสืบค้นหาข้อมูลไปเรื่อยๆ
- ใช้เวลาในการเรียนรู้ 2-5 วัน
- ประสบการณ์ในการเรียนรู้อาจจะไม่จำเป็นต้องดึงการมีส่วนร่วมของชุมชนเข้ามาเกี่ยวข้อง
- วิธีการแก้ปัญหาอาจเป็นแค่ในเชิงทฤษฎีก่อนเบื้องต้นยังไม่ต้องลงมือปฏิบัติ
Project- Based Learning
- ตั้งต้นแบบเดียวกับ PrBL แต่เพิ่มเติมในเรื่องของการดึงผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม
- ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1-4 สัปดาห์
- นักเรียนสำรวจวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย แต่เลือกมา 1-2 วิธีการ
- นักเรียนมีโอกาสได้ลงมือทำจริง ได้รับประสบการณ์ตรง
- ชุมชนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
- นักเรียนสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่สังคมด้วยตัวเอง
- ทักษะที่จะได้รับ คือ การทำงานร่วมกับชุมชน กับเพื่อน การสื่อสาร และการเรียนรู้ด้วยตนเอง
สิ่งที่เหมือนกัน
- นำปัญหาในโลกจริงมาเป็นโจทย์การเรียนรู้
- บูรณาการหลากหลายวิชาในหนึ่งหน่วยการเรียนรู้
- ได้พัฒนาทักษะที่หลากหลายแก่นักเรียน
แต่อย่างไรก็ตามคุณครูสามารถที่จะผสมผสานการเรียนรู้แบบ PrBL ให้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้แบบ PBL ได้โดยการเริ่มต้นจากปัญหาใช้เวลาในการสืบเสาะหาสาเหตุต่างๆ ขยายเวลาในการเรียนรู้เพิ่มโอกาสให้นักเรียนได้สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนและได้ลงมือสร้างผลงานที่เป็นของตนเองเพื่อส่งต่อแก่ชุมชนได้เพราะท้ายที่สุดแล้วการเรียนรู้ทั้งสองแบบก็ได้ส่งเสริมทักษะที่สำคัญสำหรับนักเรียนมากมาย อาทิเช่น การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ การสร้างเครือข่าย การสื่อสารและการทำงานร่วมกัน เป็นต้น
แปลและอ้างอิง
From Boring Lessons to Engaged Learners: How Project-Based and Problem-Based Learning Can Transform Your Teaching https://shorturl.at/bcyG7
บทความใกล้เคียง
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...