แนวทางเตรียมความพร้อมสำหรับ PISA เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษา
ผลคะแนน PISA ที่ผ่านมาสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั้งวงการการศึกษาและสังคมไทยที่แสดงถึงคุณภาพการศึกษาของประไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ทั่วโลก PISA ถือเป็นเกณฑ์การประเมินทางการศึกษาที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกซึ่งนำเสนอภาพรวมของความสามารถของนักเรียนในการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในสถานการณ์จริงถึงแม้การทดสอบนี้จะเป็นการทดสอบในระดับใหญ่และไม่ได้เป็นเป้าหมายในการจัดการศึกษาของประเทศแต่ถือว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการวัดคุณภาพการศึกษาของประเทศเมื่อเทียบกับนานาชาติได้ข้อสอบ PISA เป็นลักษณะ Computer-Based โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงคำถามมีหลายลักษณะโดยถูกออกแบบให้ไม่ได้วัดเพียงแต่ว่านักเรียนรู้คำตอบหรือไม่แต่นักเรียนสามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้โดยครอบคลุม
• ทักษะการอ่าน: ทดสอบความสามารถของนักเรียนในการเข้าใจและตีความข้อความในรูปแบบและสถานการณ์ต่างๆ ประเมินทักษะในการเข้าถึงข้อมูล, การเข้าใจ, การตีความ และการทบทวนเนื้อหา
• ทักษะคณิตศาสตร์: ประกอบด้วยการใช้หลักคณิตศาสตร์ในสถานการณ์จริงปัญหามักนำเสนอในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคยเพื่อทดสอบทักษะวิเคราะห์และการใช้เหตุผล
• ทักษะการวิทยาศาสตร์: เน้นที่ความเข้าใจของนักเรียนในแนวคิดทาง วิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีระบบ
• ความรู้ทางการเงิน (เลือกเข้าร่วมได้): ประเมินทักษะที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทางการเงินและความรู้เกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลและองค์กร
• Global Competence (เลือกเข้าร่วมได้): ประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทั่วโลก, ทักษะในการสื่อสารกับผู้คนต่างภูมิหลังและทัศนคติ ต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ข้อมูลภูมิหลังผู้เรียน นอกจากนี้ยังมีการสำรวจข้อมูลด้านอื่นๆ เพื่อนำมาประกอบการรายงานนอกเหนือจากข้อสอบนักเรียนจะต้องกรอกแบบสอบถามเบื้องหลังที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานะทางสังคม-เศรษฐกิจ นิสัยในการเรียนรู้ ทัศนคติต่อโรงเรียนและสภาพแวดล้อมที่บ้านผู้อำนวยการโรงเรียนต้องกรอกแบบสอบถามที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทรัพยากรและข้อมูลประชากรของโรงเรียนซึ่งในแบบสอบถามนี้เองสามารถนำข้อมูลมาเชื่อมโยงกับผลการสอบเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกับคะแนน เช่น ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในมิติต่างๆ
การพัฒนาคะแนน PISA ไม่ใช่เป้าหมายหลักในการจัดการศึกษาแต่สิ่งที่ PISA วัดได้และเป็นเป้าหมายในการศึกษาคือการให้ผู้เรียนมีทักษะและสมรรถนะในการคิดวิเคราะห์ ประยุกต์ใช้ความรู้รวมถึงมีสุขภาวะในการ เรียนและใช้ชีวิตที่ดี บทความนี้มุ่งเสนอกลยุทธ์สำหรับครูและผู้สอนในการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนเพื่อเผชิญกับความท้าทายที่หลากหลายของ PISA โดยเน้นที่การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและการประยุกต์ใช้ความรู้ในหลากหลายบริบท
• การส่งเสริมการคิดวิเคราะห์: สร้างสภาพแวดล้อมที่เน้นให้นักเรียน วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณเพื่อขยายขอบเขตการเรียนรู้ที่ เกินกว่าการจดจำเพียงอย่างเดีย วสนับสนุนให้นักเรียนตั้งคำถามอภิปรายและมีการคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น
• การส่งเสริมการประยุกต์ใช้ความรู้: ใช้วิธีการสอนที่ช่วยส่งเสริมการนำความรู้ที่ได้เรียนมาใช้ในทางปฏิบัติ พัฒนาการบ้านและโปรเจกต์ที่สะท้อนสถานการณ์ในชีวิตจริง เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนปรับตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ
• การพัฒนาความสามารถในการอ่านและเข้าใจ: การอ่านใน PISA ไม่ใช่เพียงการมีความรู้ในการอ่านเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเข้าใจและตีความเนื้อหาของข้อความต่าง ๆ ควรรวมเนื้อหาอ่านที่หลากหลายในหลักสูตรและเน้นการมีความรู้ทางดิจิทัลเพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์และใช้ในยุคดิจิทัลได้
• การพัฒนาความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์: ส่งเสริมการใช้หลักคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในสถานการณ์จริง การเรียนรู้แบบแก้ปัญหาสามารถเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพเพราะให้นักเรียนมีประสบการณ์ทำจริงที่ช่วยให้เข้าใจเนื้อหาเหล่านี้ได้ดีขึ้น
• การเรียนรู้แบบโต้ตอบและเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง: เปลี่ยนไปใช้วิธีการสอนที่มีการโต้ตอบ และเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น กิจกรรม เช่นโปรเจกต์กลุ่ม การอภิปราย และการทดลองทางปฏิบัติสามารถเสริมสร้างความเข้าใจ และความมีส่วนร่วมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
• ความรู้ทางการเงินและความตระหนักรู้ระดับโลก (Global Competency): สำหรับโรงเรียนที่เข้าร่วมการประเมินนี้ การบูรณาการความรู้ทางการเงินและ ความตระหนักรู้ในระดับโลกเข้ากับหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งไม่เพียงแต่เตรียมความพร้อมนักเรียนสำหรับ PISA แต่ยังเสริมทักษะชีวิตที่จำเป็นด้วย
• การสร้างทักษะทางด้านสังคมและอารมณ์: มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี (wellbeing) ของนักเรียนโดยการสร้างสภาพ แวดล้อมการเรียนรู้ที่สนับสนุน ส่งเสริมความ ความเข้มแข็งทาง อารมณ์และจิตใจ
• การศึกษาแบบองค์รวม: จัดหลักสูตรการศึกษาครอบคลุมทุกด้านสมดุลระหว่างวิชาการกับศิลปะ การศึกษด้านสุขภาวะทางกายและใจ รวมถึงด้านสังคมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างองค์รวมของนักเรียน
• การร่วมมือและแบ่งปัน Best Practice: ส่งเสริมวัฒนธรรมการร่วมมือระหว่างผู้สอนสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การแบ่งปันข้อมูลเชิงลึก กลยุทธ์และประสบการณ์สามารถนำไปสู่การสอนที่มีประสิทธิภาพและการเตรียมตัวของนักเรียนที่ดีขึ้น
• การใช้การประเมินแบบระหว่างเรียนเพื่อพัฒนา (Formative Assessment): ประเมินความสามารถและทักษะของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอเพื่อสนับสนุนการพัฒนาของนักเรียน กลไกของการประเมินอย่างต่อเนื่องช่วยติดตามความก้าวหน้าและแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ได้อย่างเป็นปัจจุบัน
• การทำความคุ้นเคยกับรูปแบบข้อสอบ PISA: ให้นักเรียนทำความคุ้นเคยกับรูปแบบและประเภทของคำถามในข้อสอบ PISA ช่วยลดความวิตกกังวลและเพิ่มผลการทดสอบโดยวิธีการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อย่างรอบด้านทั้ง ทักษะทางวิชาการ ทักษะทางด้านอารมณ์และสังคมและความตระหนักรู้ระดับโลก ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมในการสอบ PISA โดยไม่ได้ใช้วิธีการ ”ติว” ข้อสอบ แต่เป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างแท้จริง
ดร. นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร
Related Courses
สพป. เชียงใหม่ เขต 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 เลขที่ 134 หมู่ 8 ถนน เชียงใหม่-ฮอด ตำบลสันกลางอำเภอสันป่าตอง จังห ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
Google Arts & Culture แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงผลงานศิลปะและวัฒนธรรมจากพิพิธภัณฑ์และสถา ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.4-6
การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ดีจากภายในสู่ภายนอก ควรทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ
การสร้างความสุขในโรงเรียน
โรงเรียนแห่งความสุขนั้นไม่ได้อยู่ที่อาคารสถานที่ของโรงเรียนที่ใหญ่โต แต่การให้ความรักและเมตตาต่อทุกคนโดยทั่วถึงกัน ถือเป็นกา ...