การเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ Maker Education เปลี่ยนแปลงการศึกษา
วันที่ 7 ตุลาคม 2566 งานเทศกาลการศึกษา FutureEd Fest 2023 มีกิจกรรม Panel Discussion ที่น่าสนใจ เพราะเชิญผู้เชี่ยวชาญจากเมืองไทยและเมืองนอกมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการเรียนรู้ Maker Education และทักษะอนาคต ดังรายละเอียดหัวข้อการแลกเปลี่ยนช่วงที่ 2
“การเรียนรู้ที่สร้างสรรค์: Maker Education เปลี่ยนแปลงการศึกษา”
โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ Ms. Lee Pin Qi COO & Chief Learning Officer, Edm8ker, Singapore / ผศ.ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ Program Manager-STEM Resources and Capacity Building / คุณณิชา พิทยาพงศกร นักวิจัยอิสระและที่ปรึกษาด้านการพัฒนาองค์กร ชวนพูดคุยโดย คุณMark Cox Volunteer and Advisor for Starfish Education Foundation
คำถามที่ 1: Maker Education คืออะไร และทำไมจึงมีความสำคัญต่อการศึกษา
คุณบุรินทร์ : Maker Education คือ รูปแบบของการเรียนที่ลงมือทำ นักเรียนเป็นผู้ทำ และครูเป็นผู้สอน เป็นคนช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จได้ Maker Education จะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบของการศึกษา
คุณณิชา : Maker Education ให้อะไรกับผู้เรียนผ่านมุมมองของคนเป็นแม่ 3 เรื่อง 1) สร้าง Self-Esteem
ลูกชายคนเล็กชอบรามเกียรติ์มาก เขาได้ประดิษฐ์ธนูและเขารู้สึกภูมิใจมากเพราะเขาได้สร้างอะไรได้ด้วยมือของเขาเองการเรียนรู้แบบนี้สร้าง Self-Esteem ของผู้เรียน 2) ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กสัมผัสสิ่งต่างๆ ซึ่งมีงานวิจัยได้บอกว่าการใช้มือสัมผัสสิ่งต่างๆ จะช่วยพัฒนาสมองได้ 3) สื่อสารได้ด้วยการสร้าง เช่น โรงเรียนบ้านปลาดาวที่มีเด็กหลากหลายชาติพันธุ์บางคนอาจสื่อสารภาษาไทยไม่ได้แต่เราเข้าใจเขาจากการเห็นผลงานสร้างสิ่งต่างๆจากที่เขาสร้าง
คุณ Lee Pin Qi : Maker Education เกิดจากแนวคิด Construction Approach คือการเรียนรู้ด้วยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ตรงแต่ Maker Education ให้ความหมายมากกว่าการลงมือทำแต่เป็นการให้โอกาสเด็กมีสิทธิ์เลือกในสิ่งที่อยากทำและเลือกว่าเขาจะทำอย่างไรและสำคัญมากคือการให้พื้นที่เรียนรู้และเด็กจะอยากเรียนรู้ต่อไปในอนาคตด้วยตนเอง
คำถามที่ 2: การนำทักษะที่ได้จาก Maker Education เพื่อการเตรียมรับมือในโลกอนาคตที่ไม่แน่นอนจะเป็นอย่างไร
คุณณิชา : ทัศนคติ หรือชุดความคิด/ความเชื่อ ที่นักเรียนจะได้รับจากการเรียนรู้แบบ Maker Education คือสิ่งที่สำคัญมาก เช่น การเชื่อว่าเราจะเป็นผู้กำหนดทิศทางการเรียนรู้ของตัวเอง และการแลกเปลี่ยน ซึ่งนำไปสู่วัฒนธรรมแบบ open sourcing (การให้ข้อมูลแก่กันและกัน ที่ทำให้วิทยากรต่างๆ ก้าวหน้าและได้รับ feedback กลับมาว่ามันดีหรือไม่ดีก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยพัฒนานวัตกรรมได้ต่อมาคือ ทัศนคติต่อนวัตกรรมซึ่งมันมีความหมายที่กว้างกว่านั้นจากที่เคยคิดว่าจะต้องเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่แต่จริงๆ มันอาจเป็นอะไรที่ปรับเล็กปรับน้อยแต่จะช่วยสร้างนวัตกรรมที่ใหญ่ขึ้นได้
คุณ Lee Pin Qi : เป็นเรื่องที่ยากจะเดาว่าอาชีพในอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่เรารู้ว่าอาชีพในอนาคตคนจะทำงานร่วมกับเทคโนโลยีมากขึ้น ดังนั้น เราจำเป็นต้องฝึกทักษะในระยะเวลาสั้นเมื่อก่อนจำนวนการผลิตจะสำคัญกว่าคุณภาพของการผลิตแต่ในอนาคตคุณภาพของการผลิตจะสำคัญกว่าจำนวนของการผลิต นอกจากนี้ Maker Education จะช่วยให้เด็กมีทักษะของการเป็นมนุษย์ ซึ่งไม่ใช่แค่ทักษะด้านเทคโนโลยีอย่างเดียวเด็กต้องคิดเร็วและหาทางแก้ปัญหาให้แก่ตัวเองได้
คุณบุรินทร์ : ทักษะในการหาข้อมูลสำคัญมากสำหรับยุคนี้ และจะต้องวิเคราะห์ได้ด้วยว่าจริงแค่ไหน ผู้ใช้ต้องฉลาดกว่า AI ดังนั้น การเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะผู้เรียนควบคู่กับความแม่นยำทางวิชาการเป็นเรื่องที่ครูต้องพัฒนาไปควบคู่กัน เราต้องใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับเนื้อหาการสอน คุณครูต้องสร้างกิจกรรม ที่ช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาได้ เขาจะสนุกกับปัญหา ซึ่ง Maker Education จะช่วยในเรื่องนี้มาก
คุณณิชา : Maker Education เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะต้องนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทเราอาจติดภาพจำว่ามันจะต้อง Hi-tech , ต้องใช้ 3D printer ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำแบบนี้เสมอเราต้องนึกถึงทุนทางวัฒนธรรมของประเทศเราด้วยถ้าเราเชื่อมองค์ความรู้แบบนี้กับเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็จะเกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาได้อีกอย่างคือเราต้องยอมรับว่าบริบทการเรียนรู้ในประเทศไทยค่อนข้างเป็นปลายปิดมีตัวชี้วัดมากมายที่จะต้องสอนให้ครบการนำ Maker จะท้าทายการสอนของครูมากๆ เพราะฉะนั้นครูอาจจะต้องก้าวข้ามความท้าทายเดิมหรือภาพจำเดิมเพื่อสร้าง Maker Education แบบใหม่ให้เกิดขึ้นในห้องเรียนประเทศไทย
กิจกรรม Panel Discussion ช่วงที่ 2 ในหัวข้อ “การเรียนรู้ที่สร้างสรรค์: Maker Education เปลี่ยนแปลงการศึกษา” ช่วยเปิดมุมมองให้ผู้เข้าร่วมได้หลักคิดและแนวทางการนำ Maker Education มาใช้ในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสมและช่วยให้คุณครูและนักเรียนเกิดสมรรถนะที่จำเป็นเพื่อการใช้ชีวิตในโลกอนาคต
บทความใกล้เคียง
Related Courses
การพัฒนาทักษะในอนาคตด้วย Makerspace
ในคอร์สนี้ จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมผู้เรียน เพื่อพัฒนาให้เกิดทักษะที่จำเป็นในอนาคต ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบ Ma ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ