การพัฒนาตนเองสำหรับคุณครู 5 เคล็ดไม่ลับช่วยคุณครูพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
สำหรับการเป็นคุณครูในยุคปัจจุบันนอกเหนือจากการต้องคอยฝึกฝนหรือพัฒนาตนเองในเรื่องวิชาการอยู่อย่างต่อเนื่องคอยอัปเดตความรู้ต่างๆ อีกหนึ่งการพัฒนาตนเองที่เรียกได้ว่าสามารถช่วยให้เกิดประโยชน์ได้มากๆ เลยก็คือเหล่าเทคนิคการสอนหรือเหล่าเคล็ดลับการออกแบบห้องเรียนการเรียนรู้ต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพต่อทั้งเด็กๆและคุณครูนั่นเองค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการสอนแบบ Active Learning แบบ Brain-Based Learning หรือแบบเชิงบวกเคล็ดลับเหล่านี้ก็สามารถช่วยให้คุณครูสร้างห้องเรียนที่เกิดประสิทธิภาพได้อย่างแสนง่ายแต่ได้ประโยชน์ยิ่งกว่าแต่สำหรับในบทความนี้ Starfish Labz มีอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ง่ายยิ่งกว่าเคล็ดลับอื่นๆ นั่นก็คือการใช้หรือการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในการสอนนั่นเองค่ะ
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่ว่านี้เชื่อว่าคุณครูหลายคนได้ยินบ่อยแล้วแต่ก็อาจจะยังไม่เข้าใจนักว่า เอ้… มันคืออะไรกันแน่และมันจะมีประโยชน์อย่างไรกันต่อการสอนของเราในบทความนี้ Starfish Labz เตรียมคำอธิบายอย่างเรียบง่ายแต่ชัดเจนพร้อมกับ 5 เคล็ดลับช่วยคุณครูพัฒนาความคิดสร้างสรรค์มาให้แล้วจะมีเคล็ดลับใดที่น่าสนใจ ความเข้าใจใดกันบ้างที่น่าเก็บไปต่อยอดมาเริ่มกันเลยค่ะ
ความคิดสร้างสรรค์คืออะไรในการสอน? คุณครูสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไรจากความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creativity หมายถึง การมีความรู้และความสามารถในการคิดถึงสิ่งใหม่ๆในการระดมความคิด เชื่อมโยง ค้นหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ออกมาที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองผู้อื่นหรือสังคมความคิดสร้างสรรค์หลายๆ ครั้งมักถูกเชื่อมโยงกับงานศิลปะเรามักคิดว่าการมีความคิดสร้างสรรค์คือสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานศิลปะเท่านั้นแต่จริงๆการมีความคิดสร้างสรรค์ก็คือความสามารถในการคิดนอกกรอบในการคิดและสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิมและมีประโยชน์และเป็นความสามารถที่สามารถเกิดขึ้นและใช้ได้ในทุกๆ สาขาอาชีพนั่นเองค่ะ
สำหรับการสอนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ก็คือความสามารถของคุณครูในการมองหาสิ่งใหม่ๆ แนวทางใหม่ๆ ที่จะมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางใหม่ๆ ในการสอนของคุณครูเองหรือในการเรียนรู้ของเด็กๆ คุณครูก็สามารถลองฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้
นอกเหนือจากการคิดใหม่ๆ แล้วการมีความคิดสร้างสรรค์ในการสอนยังหมายถึงการเสริมเพิ่มเติมความสนุกสนานความคิดแปลกใหม่และการคิดนอกกรอบในแง่ต่างๆ ให้กับการเรียนการสอนการใช้ EdTech ที่น่าสนใจน่าสนุกก็ถือเป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างหนึ่งรวมไปถึงกิจกรรมใหม่ๆ ต่างที่ช่วยเสริมสร้างความรู้และความสนุกน่าสนใจให้กับเด็กๆ
5 เคล็ดลับช่วยคุณครูพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
1.พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วย Mindset ของนักเรียนรู้
การพัฒนาตนเองอย่างการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องการคิดใหม่ๆ ก็จริงแต่เราคงจะคิดสิ่งใหม่ๆ ไม่ได้เลยหากเราไม่มีเหล่าความรู้ดีๆ ให้เราได้ลองนำมาใช้ต่อยอดในเคล็ดลับแรกนี้การฝึกความคิดสร้างสรรค์ให้ได้อย่างรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพที่สุดก็คือการปรับ Mindset ของตัวเราเองให้เป็นนักเรียนรู้เราชอบการเรียนรู้แบบไหนเราอยากทดลองปรับการสอนของเราอย่างไรเราก็สามารถลองเรียนรู้จากแง่นั้นๆ ก่อนแล้วจึงค่อยๆ ลองนำมาปรับใช้สร้างสรรค์ใหม่เป็นของตัวเองตัวอย่างการฝึกจริงๆ ในเคล็ดลับนี้ เช่น การลงเรียนคอร์สเกี่ยวกับการสอนเชิงบวก, การเข้าอบรมเทคนิคการสอนที่ดีต่างๆ
2.ฝึกจากภายในและในชีวิตประจำวัน
หลายๆ ครั้งเราคิดว่าการพัฒนาตนเองสำหรับการทำงาน ต้องเกิดแค่ในบริบทของการเรียนรู้อย่างจริงๆ จังๆหรือในที่ทำงานเท่านั้นแต่สำหรับทักษะความคิดสร้างสรรค์นี้จุดเด่นก็คือเราสามารถลองฝึกมันด้วยการลองนำมาใช้ในชีวิตจริงๆ ด้วยนั่นเองค่ะไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงง่ายๆ อย่างการลองผ่อนคลายการทำอะไรสนุกๆ การคิดนอกกรอบก้าวออกจาก Comfort Zone ในชีวิตประจำวันและส่วนต่างๆ สิ่งเหล่านี้ก็สามารถช่วยคุณครูได้ทั้งหมดเลยแถมยังมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันและชีวิตส่วนตัวของเราและเป็นเทคนิคการฝึกแบบง่ายๆ ที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ ไม่ว่าจะกับครอบครัว เพื่อนฝูงหรือคนรักด้วยนะคะ
3.เชื่อมต่อกับคุณครูคนอื่นๆ
นอกเหนือจากสองเคล็ดลับแรกที่กล่าวมาอีกหนึ่งเคล็ดลับการพัฒนาตนเองในด้านความคิดสร้างสรรค์สำหรับการเรียนการสอนที่คุณ Marisa Constantinides จากสถาบัน British Council ได้ให้คำแนะนำไว้ก็คือการลองเชื่อมต่อกับคุณครูคนอื่นๆ ในสายของเรารวมทั้งในสายอื่นๆทั้งคุณครูในสถาบันการศึกษาของเราและสถาบันการศึกษาอื่นๆไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างบุคคลจริงๆ หรือแบบ Online คุณครูก็สามารถลองเริ่มเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ไอเดียการสอนดีๆ จากคนอื่นๆ ได้อย่างดีเลยทีเดียวค่ะการมีเครือข่ายเพื่อนคุณครูที่ดีช่วยให้เราเกิดความรู้สึก Inspired ได้อย่างไม่ยากเป็นแรงผลักดันและยังมีโอกาสได้เจอสิ่งดีๆ แนวคิดใหม่ ๆ มากมาย
4.เข้าร่วมกิจกรรมช่วยละลายพฤติกรรมและความคิด
กิจกรรม อาทิ การวาดภาพ, เดินป่า, เล่นกีฬา, เล่นเครื่องดนตรี ไปจนถึงกิจกรรมใหม่ ๆ อย่างการฝึกออกเสียงหรือพัฒนาบุคลิกภาพก็ล้วนสามารถช่วยให้เราก้าวออกจากจุดเดิมๆ เปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ ๆ ช่วยละลายพฤติกรรมและความคิดของเราช่วยให้เรามองเห็นถึงสิ่งใหม่ ๆ และอยากทำสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้นและยังถือเป็นการดูแลตัวเองชุบชูจิตใจและร่างกายตัวเองให้พร้อมต่อการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ใหม่ ๆ ต่างให้กับเด็กๆ
5.ทดลองใช้จริงและดูผลลัพธ์
ฝึกแล้วแน่นอนว่าก็ต้องลองนำมาใช้จริงและดูผลลัพธ์เคล็ดลับสุดท้ายนี้ก็คือการกล้าที่จะลองออกแบบการเรียนการสอนต่างๆ ในแบบของเรา เราเรียนคอร์สนี้มาแล้วเราศึกษาสิ่งนี้มาแล้วแต่ถ้าเราคิดว่ามันยังไปต่อได้อีกดีกว่านี้ได้อีกตรงนี้แหละค่ะที่เรียกว่า ‘Gap for My Creativity’ หรือจุดที่ความคิดสร้างสรรค์ของเราจะได้กำเนิดและกลายเป็นสิ่งใหม่ๆ ดีๆ จริงๆ ขึ้นมาเมื่อทดลองใช้แล้วยังควรดูการตอบรับจากเด็กๆ รวมถึงตัวคุณครูเองคุณครูใช้วิธีการสอนแบบนี้เข้ามือไหมกิจกรรมนี้คุณครูถนัดหรือเปล่าถ้าไม่ถนัดควรพัฒนาตัวเองเพิ่มหรือเปลี่ยนรูปแบบใหม่เลยการทดลองใช้จริงยังช่วยเกลาให้ทักษะความคิดสร้างสรรค์และกิจกรรมความรู้เชิงสร้างสรรค์ของเราดียิ่งขึ้นกล่าวได้ว่ายิ่งฝึกยิ่งลองทำลองปรับก็ยิ่งเก่งในการใช้ทักษะมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง
อ้างอิง:
Related Courses
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
เป็นครูยุคใหม่ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี
มาเตรียมความพร้อมกับการเป็นครูในยุคใหม่ ทั้งผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นสายอาชีพครู หรือผู้ที่เป็นครูอยู่แล้วมาร่วมอัปเดตทักษะที่ครูยุคใหม่จะ ...
Micro Learning หลักการเขียนภาษาไทย ม. 1-3
หลักการเขียนภาษาไทย ม.1-3 เป็นการเรียนรู้ในรูปแบบของ Micro Learning เรื่อง เขียนอย่างไรให้สื่อความง่ายและตรงประ ...
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.4-6
การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ดีจากภายในสู่ภายนอก ควรทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ