ทักษะการพัฒนาตนเองสำหรับคุณครู Adatability ปรับตัวอย่างไร เมื่อการเปลี่ยนแปลงมาถึง

Starfish Academy
Starfish Academy 3841 views • 1 ปีที่แล้ว
ทักษะการพัฒนาตนเองสำหรับคุณครู Adatability ปรับตัวอย่างไร เมื่อการเปลี่ยนแปลงมาถึง

นอกเหนือจากทักษะความรู้ อีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับคุณครูผู้สอนโดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ก็คือทักษะและความสามารถของคุณครูในการพัฒนาตนเอง การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆทั้งเชิงเทคนิค (hard skills) และเชิงสังคม อารมณ์ (soft skills) ที่นอกเหนือจากจะช่วยเสริมการทำงานของคุณครูและเด็กๆ แล้ว ยังถือเป็นการพัฒนาโดยตรงต่อตัวคุณครูเองด้วย และในบรรดาทักษะที่สำคัญมากมาย หนึ่งในทักษะที่วันนี้ Starfish Labz อยากชวนคุณครูมาลองเรียนรู้และฝึกกันก็คือ Adaptability นั่นเองค่ะ

Adaptability คืออะไร? ใช่อย่างที่เราคุ้นๆ กันหรือเปล่า และจะเริ่มฝึกอย่างไรได้บ้าง ตาม Starfish Labz มาเรียนรู้กันในบทความนี้กันเลยค่ะ

Adaptability คืออะไร สำคัญแค่ไหนสำหรับคุณครู?

ทักษะการปรับตัว หรือที่ในภาษาอังกฤษเราเรียกว่า Adaptability ในที่นี้ หมายถึงทักษะ ความสามารถ หรือสมรรถนะส่วนตัวของบุคคลคนหนึ่งในการปรับตัว เปลี่ยนแปลงเมื่อเผชิญกับสิ่งที่ไม่คาดฝัน การเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิด หรือถึงวิกฤต สิ่งต่างๆ ทั้งในสเกลเล็กและสเกลใหญ่ตัวอย่างสถานการณ์ดังกล่าว เช่น การเกิดขึ้นของโรคระบาด, การเปลี่ยนหัวหน้าแผนก, การเปลี่ยนผู้อำนวยการ, การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์หรือสิ่งต่างๆ ที่อาจมีผลต่อการทำงานของบุคคลดังกล่าวนั่นเองค่ะ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในช่วงที่ผ่านมาสำหรับวงการการศึกษาแน่นอนว่าก็คือการเกิดขึ้นของโรคระบาด COVID-19 การที่เด็กๆ ต้องเปลี่ยนมาเรียนออนไลน์ 100% กันเกือบหมดประเทศและโลก การที่คุณครูต้องเปลี่ยนรูปแบบการสอนทั้งหมดกันอย่างกะทันหันแค่เพียงใน 1-2 สัปดาห์ หรือการมาของหลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency-Based Curriculum)วมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางการเรียนการสอน การศึกษาอื่นมากมายที่ชวนให้คุณครูรู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ สับสน เหน็ดเหนื่อย และจนถึงเหนื่อยหน่ายกันอยู่ตลอด

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทั้งเล็กและใหญ่ อาจดูเหมือนเป็นสิ่งที่ผ่านไปได้ง่าย แต่ความเป็นจริงแล้ว ไม่ง่ายเลย และตัวช่วยที่สำคัญก็คือการมีทักษะ Adaptability นั่นเอง 

ส่องดูคุณครูที่มีภาวะ Adaptability คุณครูแบบไหนกันนะที่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุด?

การอธิบายว่า Adaptability คือทักษะและภาวะในการปรับอาจฟังดูเข้าใจง่าย แต่ก็ใช่ว่าจะช่วยให้เห็นภาพ เพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจนที่สุดว่าอะไรคือทักษะ Adaptability ที่ว่า มาลองส่องดูคุณลักษณะของคุณครูที่มีทักษะภาวะ Adaptability กันอย่างชัดๆ เฉพาะเจาะจงกันเลยค่ะ

คุณลักษณะของคุณครูที่มีทักษะ ภาวะ Adaptability

  1. มีภาวะความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ (resilience) แม้จะล้มหรือเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่ก็พร้อมที่จะลุกและไปต่อ สามารถยืนหยัดเดินหน้า มีภาวะความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ
  2. มีทัศนคติที่เปิดรับต่อการเติบโต (growth mindset) การเปลี่ยนแปลงมักมาพร้อมกับความท้าทายใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ที่คุณครูต้องเรียนรู้ ต้องเผชิญ นอกเหนือจากการมีความยืดหยุ่นทางจิตใจ คุณครูที่มีภาวะ Adaptability จึงคือคุณครูที่เปิดรับต่อการเรียนรู้ เข้าใจว่าทักษะ ความสามารถต่างๆ แม้ดูใหม่และท้าทาย แต่เป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้ พรสวรรค์ก็ไม่อาจก้าวข้ามพรแสวง
  3. มีทัศนคติที่ดีในการเปิดรับต่อคำแนะนำหรือความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ บางครั้งการเปลี่ยนแปลงก็อาจหมายถึงความคิดเห็นเล็กๆ น้อย หรือใหญ่ก็ตาม ที่มีคุณค่า คุณครูที่มีภาวะ Adaptability จึงคือคุณครูที่พร้อมเปิดรับความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับตัว และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
  4. มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และมีไหวพริบ การเปลี่ยนผ่าน เปลี่ยนแปลงมาพร้อมกับความท้าทายใหม่ๆ อีกหนึ่งคุณลักษณะที่สำคัญของคุณครูที่มีภาวะ Adaptability คือคุณครูที่มีการฝึกทักษะคิดวิเคราะห์ สามารถเรียนรู้ แก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง มีไหวพริบที่ดี พลิกแพลงจากหลังมือให้เป็นหน้ามือได้ มีความสามารถในการพาตัวเอง ก้าวข้ามสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างชาญฉลาด

3 เคล็ดลับพื้นฐาน เริ่มเสริมสร้างทักษะ Adaptability สำหรับคุณครู

  1. ฝึก Mindfulness ทักษะ Adaptability ถือเป็นทักษะที่ทำงานกับสภาวะจิตใจและอารมณ์ของเราโดยตรง หนึ่งในเคล็ดลับที่สำคัญในการเริ่มสร้างภาวะ ทักษะ Adaptability ที่ดีคือการเริ่มที่จิตใจของเรานั่นเอง ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การบำบัดทางจิตใจ ความเครียด ความกังวล , การทำสมาธิ, การฝึกผ่อนคลาย ฯลฯ
  2. ฝึกลองทำสิ่งใหม่ๆ ก้าวออกจาก Comfort Zone การเปลี่ยนแปลงไม่น่ากลัวอีกต่อไปเมื่อจิตใจและร่างกายของเราคุ้นชินกับการก้าวออกจากจุดที่ปลอดภัยแล้ว อีกหนึ่งเทคนิคที่สามารถช่วยได้อย่างดีจึงคือการลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน ทำสิ่งที่อาจจะกลัว ไม่เคยกล้าทำ แต่อยากทำ หรือไม่อยากทำแต่ก็อยากลองทำ เพื่อให้รู้ว่าในท้ายที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรเกินความสามารถของเราเลย
  3. ฝึกพลิกแพลง วิเคราะห์ ตัดสินใจ และก้าวข้ามปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง การก้าวข้ามปัญหา อุปสรรคต่างๆ อย่างประสบความสำเร็จอาศัยความชาญฉลาดและการเป็นผู้นำตนเอง (self-direction) ไม่มีใครควรทำหน้าที่ในการเป็นผู้ตัดสินใจหรือพาเราก้าวข้ามสู่การเปลี่ยนแปลง หากแต่คือตัวเราเอง การฝึกคิดอย่างมีเหตุผล พลิกแพลง เชื่อในสัญชาตญาณตนเองจึงเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่มีความสำคัญและสามารถช่วยคุณครู เสริมสร้างภาวะ Adaptability ของตัวเองได้อย่างดีเลยทีเดียวค่ะ

สรุปสาระสำคัญ (Key Takeaway)

ใครว่าเป็นคุณครูเป็นเรื่องง่าย นอกเหนือจากต้องเตรียมสอน พัฒนาองค์ความรู้และสิ่งต่างๆ มากมายอยู่เสมอ การเป็นคุณครูในยุคปัจจุบันนี้ยังหมายถึงการเผชิญกับความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ไม่อาจคาดคิดอยู่เสมอ ท่ามกลางความไม่แน่นอนเหล่านี้ การพัฒนาตนเองและทักษะหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งจึงคือทักษะการปรับตัวที่คุณครูสามารถฝึกฝนได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในฐานะคุณครูแล้ว ยังถือว่ามีประโยชน์โดยตรงส่วนตัวต่อคุณครูเองด้วย เรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาตนเองที่สามารถมีประโยชน์ทั้งต่อการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัวโดยรวมของคุณครูด้วยนั่นเองค่ะ

 อ้างอิง:

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
1030 ผู้เรียน
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
1841 ผู้เรียน
Future Ready
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เป็นครูยุคใหม่ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี

มาเตรียมความพร้อมกับการเป็นครูในยุคใหม่ ทั้งผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นสายอาชีพครู หรือผู้ที่เป็นครูอยู่แล้วมาร่วมอัปเดตทักษะที่ครูยุคใหม่จะ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เป็นครูยุคใหม่ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี
Starfish Academy

เป็นครูยุคใหม่ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์ การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
Starfish Academy

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

Starfish Academy

Related Videos

ถอดบทเรียนการขับเคลื่อน วPA ในสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ
01:26:10

ถอดบทเรียนการขับเคลื่อน วPA ในสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ

204 views • 1 ปีที่แล้ว
ถอดบทเรียนการขับเคลื่อน วPA ในสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
02:55
Starfish Future Labz

3 ข้อดี Starfish Class Website Version

Starfish Future Labz
450 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
01:10:44
Starfish Academy

ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA

Starfish Academy
776 views • 1 ปีที่แล้ว
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
01:03:03
Starfish Academy

แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA

Starfish Academy
568 views • 1 ปีที่แล้ว
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA