คุณครูและการพัฒนาตนเองทำความรู้จักการเสริมสร้างความรู้เคล็ดลับสำคัญของความสุขในการทำงาน
การเสริมสร้างความรู้ หรือ Knowledge Enhancement อาจฟังดูเหมือนเป็นสิ่งที่น่ากลัว น่าเหนื่อยหน่าย หรือไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถช่วยให้เรามีความสุขได้เลยในการทำงาน แต่ในความเป็นจริง เจ้าการเสริมสร้างความรู้นี้คือตัวสำคัญที่จะสามารถช่วยให้คุณครูรู้สึกมีความสุขและรู้สึกสบายใจขึ้นในการสอนได้อย่างดีเลยทีเดียวค่ะ
กลเม็ดสำคัญคือเรื่องของหัวข้อในการเสริมสร้างและเครื่องมือ เทคนิค หรือกระบวนการในการเสริมสร้างนั่นเอง ถ้าเราเลือกหัวการเสริมสร้างที่ใช่ เป็นหัวข้อที่ดี มีประโยชน์ เป็นหัวข้อที่เราอยากเสริมสร้างจริงๆ และด้วยวิธีการที่ไม่ยากเกินไป การพัฒนาตนเองที่อาจจะน่าเหนื่อยหน่ายก็สามารถกลายเป็นการพัฒนาตนเองที่สนุกและมีประโยชน์อย่างดีเลยค่ะ ก้าวสำคัญคือการเข้าใจความหมายของการเสริมสร้างความรู้ ประเภทของความรู้ต่างๆ ที่เราสามารถเสริมสร้างได้ และวิธีการหรือเคล็ดลับง่ายๆ ในการเสริมสร้างนั่นเอง
ในบทความนี้ Starfish Labz จะพาคุณครูทุกคนมาเริ่มต้น Journey การดูแลและการพัฒนาตนเองในรูปแบบใหม่กัน จะมีอะไรที่น่าสนใจ น่านำไปใช้ หรือสานต่อกันบ้าง มาดูกันเลย
การเสริมสร้างความรู้คืออะไร?
การเสริมสร้างความรู้ หรือ Knowledge Enhancement ในบริบทของการทำงานหมายถึงความพยายามหรือความต้องการของบุคคลหนึ่งๆ ในวงการต่างๆ ในการพัฒนาตนเองหรือดูแลตนเองในด้านต่างๆ เพื่อให้การทำงานรวมถึงความรู้สึกของตัวเราเองเวลาทำงานหรือในสถานที่ทำงานออกมาอย่างดีที่สุดกล่าวเสียทางการและยาวเยียดแบบนี้จริงๆ แล้วการเสริมสร้างความรู้ก็คือการกลับมาที่ตัวเราเองกลับมาที่การพัฒนาความสุขในการทำงานการกลับมาสำรวจดูว่ามีจุดไหนไหมที่อาจเป็นอุปสรรคในการทำงานของเรามีจุดไหนไหมที่เราอยากเสริมอยากปรับปรุง พัฒนา หรือแก้ไข หรือดูแลให้ดีกว่าเดิมเพื่อให้สุขภาพจิต สุขภาพกาย และสุขภาพในด้านต่างๆ ในการทำงานของเราเป็นไปอย่างดีมากขึ้น
สิ่งสำคัญคือการเสริมสร้างความรู้นี้ไม่ได้จำกัดหรือจำเป็นว่าต้องเป็นเรื่องทางวิชาการหรือเรื่องเนื้อหาการศึกษาอย่างเดียวเท่านั้นแต่คุณครูสามารถมองการพัฒนาตนเองนี้ในลักษณะเชิงรวม (holistic) คือเป็นได้ทุกอย่างๆที่เรารู้สึกว่าจะสามารถช่วยให้เรามีความสุขขึ้นได้ทั้งในแง่ของชีวิตส่วนตัวที่อาจมีผลต่อการทำงานและไปจนถึงการโฟกัสไปที่เรื่องวิชาการ เทคนิคการสอน หรือเรื่องของงานอย่างเดียวนั่นเองค่ะ
เมื่อมองการเสริมสร้างความรู้ในแง่นี้การพัฒนาตนเองจึงไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ น่าเหนื่อยหน่าย หรือยากเสมอไปแถมยังเป็นการพัฒนาตนเองที่มีการเปิดกว้างมีความหลากหลายได้ประโยชน์ทั้งต่อการทำงานและชีวิตส่วนตัวอีกด้วยค่ะ
ประเภทของความรู้ที่คุณครูสามารถเสริมสร้าง
ความรู้ดีๆ ที่คุณครูสามารถเรียนรู้มีมากมาย แต่หากให้ลองจัดออกมาเป็นกลุ่มแล้วกลุ่มเหล่านี้คือกลุ่มความรู้ที่คุณครูสามารถเริ่มได้และถือว่าเป็นกลุ่มแรกๆ ที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงได้อย่างดีเลยทีเดียว กลุ่มความรู้ที่คุณครูสามารถเริ่มลองสำรวจ ได้แก่
1.ความรู้ทางด้านวิชาหรือเฉพาะทาง (Subject Knowledge)
เราเข้าใจสิ่งที่เราสอนดีไหม มีมุมไหนหรือเปล่าที่เราอยากเสริมสร้าง หรือเรียนรู้เพิ่มเติม การเสริมสร้างเรื่อง Subject Knowledge ช่วยให้เกิดประโยชน์ไม่เพียงต่อเด็กๆ แต่ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและความรู้สึกดีของคุณครูเวลาสอนและเวลาทำงาน
2.ความรู้เกี่ยวกับการสอน เทคนิคต่างๆ (Teaching Knowledge)
Active Learning, Positive Teaching, Brain-Based Learning ฯลฯ หลากหลายเทคนิคมากมายที่เราอาจจะยังไม่เคยลองที่ผ่านมาเราสอนด้วยเทคนิคดีไหมทำให้เราเหนื่อยกว่าเดิมหรือเปล่ามีเทคนิคอื่นๆ หรือเปล่าที่สามารถทำให้เราเหนื่อยน้อยลงได้การมีเคล็ดลับและวิธีการสอนที่ดีบอกเลยว่าสามารถช่วยให้วันทำงานของคุณครูเป็นวันที่ดีได้อย่างไม่น่าเชื่อยิ่งพัฒนาก็ยิ่งเหนื่อยน้อยลงและได้ผลการเรียนรู้ที่ดียิ่งกว่าเดิม
3.ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง การใส่ใจและให้เวลากับตัวเอง (Personal Wellbeing or Self-Care Knowledge)
สุขภาพใจ สุขภาพร่างกาย การดูแลตัวเองในแต่ละวันถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมากๆ ที่มีผลโดยตรงต่อความรู้สึกดีในการทำงาน ที่ผ่านมาเราได้มีโอกาสดูแลตัวเองจริงๆ ไหมเราใส่ใจตัวเองมากแค่ไหนถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะสามารถค่อยๆ เริ่มต้นดูแลตัวเองโดยนอกเหนือจาก Self-Care ในชีวิตประจำวันแล้วหากเรากำลังเผชิญความท้าทายอื่นๆ อยู่ๆในเรื่องสภาพจิตใจหรือร่างกาย ก็ไม่จำเป็นเลยที่เราจะต้องเก็บไว้กับตัวเอง การดูแลตัวเองไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิดและมีคนมากมายที่พร้อมจะช่วยเหลือเรา ขอแค่เราเริ่มก้าวแรกในการตกลงกับตัวเองก่อน บอกตัวเองว่าเราจะเริ่มดูแลตัวเอง แล้วเดี๋ยวก้าวต่อไปก็จะค่อยๆ มาถึงเราเดี๋ยวเราก็จะค่อยๆ มองเห็นก้าวต่างๆ เล็กๆ หรือใหญ่ๆ ที่เราสามารถเริ่มทำได้นั่นเองค่ะ
4.ความรู้เกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์และการมีความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงาน (Relationship and Workplace Knowledge)
ความสัมพันธ์ถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่สามารถช่วยให้เกิดวันดีๆ ในที่ทำงาน ที่ผ่านมา เราได้ลองเปิดใจให้เพื่อนร่วมงานคนนี้ไหม เราเคยลองพยายามเชื่อมต่อ หรือ “Connect” กับคนอื่นๆ บ้างหรือเปล่า หรือมีสิ่งดีๆ อะไรบ้างที่เราสามารถทำได้ เล็กๆ น้อยๆ ให้กับคนอื่น เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การมีความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงานเหมือนกับตื่นเช้ามาและเดินทางมาพบเพื่อนๆ และคนมากมายที่เรารักหรืออยากใช้เวลาด้วย เพียงแต่ว่าแน่นอนว่าอาจต้องมีเรื่องทักษะ ความรู้ เคล็ดลับกันนิดหน่อยเพื่อให้เราสามารถจัดการกับความสัมพันธ์ต่างๆ ที่หลากหลายและอาจมีความละเอียดอ่อนต่างๆ มากมายที่เราต้องใช้ความรู้และทักษะนั่นเอง
3 สเตปง่ายๆ เริ่มต้นเสริมสร้างความรู้
1.สำรวจ ค้นคว้า เลือกสิ่งที่เราอยากพัฒนา
เราอยากพัฒนาอะไร มีจุดไหนที่เราอยากเริ่มต้นการสำรวจควรเริ่มจากภายใน การดูจากสภาวะในปัจจุบันรอบตัวก่อนของเรา หากเป็นความสัมพันธ์ เราก็อาจลองสำรวจดูเรื่องความสัมพันธ์ของเรากับเพื่อนร่วมงาน เมื่อสำรวจและตระหนักแล้วจึงอาจค่อยเริ่มตัดสินใจและเลือกสิ่งที่เราอยากพัฒนา
2.วางแผนการพัฒนาตนเอง
สิ่งที่อยากพัฒนา ช่องทางความรู้ที่เราสามารถเรียนรู้ ระยะเวลา และวิธีการการพัฒนามีหน้าตาอย่างไรเป็นการพัฒนาในทุกๆ วันแบบประจำวันหรือเป็นกิจกรรมประจำสัปดาห์ที่เราสามารถทำได้ เคล็ดลับคือการวางแผนให้สมดุลและสอดรับไปกับสิ่งอื่นๆ ที่เราอยากทำหรือต้องทำในแต่ละวัน เพื่อให้เกิดความลื่นไหลของการพัฒนาไม่รู้สึกว่ายากหรือกินเวลาความสนใจของเรามากเกินไป
3.ให้เวลาและให้การพัฒนาเป็นไปอย่างธรรมชาติ
การพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนและในระยะยาวควรเป็นไปอย่างธรรมชาติ วิธีการพัฒนาที่ดีที่สุดคือการพัฒนาที่เรารู้สึกสบายๆ ไม่รู้สึกกดดัน เร่งรัด หากเริ่มแล้วอาจจะยังไม่ได้ผลที่คาดหวังก็ไม่เป็นไร เราก็เริ่มใหม่ ปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และลองพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ อย่างไรดี สำหรับหลายๆ คนที่อาจจะกลัวว่าตัวเองอาจจะล้มเลิกระหว่างการพัฒนาหรือรู้ว่าตัวเองต้องมีกฎเกณฑ์หรือกรอบที่ชัดเจนเล็กน้อยเพื่อเป็นแรงจูงใจการกำหนดเป้าหมายที่แน่นอนอาจเป็นตัวช่วยที่ดีกว่าได้การพัฒนายังคงเป็นไปอย่างธรรมชาติแต่มีกรอบเรื่องเวลาหรือมีกรอบเป้าหมายที่วัดได้เพิ่มเข้ามา มีการประเมิน วัดผล และทบทวนตัวเองอยู่ต่อเนื่องเพื่อดูว่าเรามีการพัฒนาจริงๆ ไหม ความสุข ความสบายใจที่ทำงานเราเพิ่มมากขึ้นหรือเปล่า เป็นต้น
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
ทักษะการพัฒนาตนเองสำหรับคุณครู Adatability ปรับตัวอย่างไร เมื่อการเปลี่ยนแปลงมาถึง
5 เคล็ดลับ การพัฒนาทักษะเด็กออทิสติก ทั้งทางร่างกายสู่ทางปัญญา
Teachers Hero’s Journey เส้นทางครูฮีโร่ ในยุค new normal
Related Courses
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
เป็นครูยุคใหม่ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี
มาเตรียมความพร้อมกับการเป็นครูในยุคใหม่ ทั้งผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นสายอาชีพครู หรือผู้ที่เป็นครูอยู่แล้วมาร่วมอัปเดตทักษะที่ครูยุคใหม่จะ ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...