สอนภาษาไทยเริ่มต้นดีมีเทคนิค
ภาษาไทยเป็นวิชาทักษะที่ผู้เรียนต้องได้รับการฝึกฝนในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง ฉะนั้นการใช้เทคนิคการเรียนรู้ทางด้านภาษาถือได้ว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย เข้าใจรวมทั้งสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีและในครั้งนี้จะเป็นการแบ่งปันเทคนิคดีๆในการสอนภาษาไทยที่จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกและรักในการเรียนรู้วิชาภาษาไทยยิ่งขึ้น
เทคนิคเรื่องแรกที่เด็กควรรู้ และครูเริ่มสอนภาษาไทย
1. พยัญชนะไทย สอนให้เด็กรู้จัก “พยัญชนะไทย” โดยวิธีการ กิจกรรม หรือสื่อการสอนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพลง คลิปวิดีโอ บัตรพยัญชนะ สื่อออนไลน์ หรือเกมเพื่อช่วยดึงดูดความสนใจให้เด็กได้รู้จัก เข้าใจและจดจำพยัญชนะไทยได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
2. การฝึกลีลามือ เป็นการฝึกการจับอุปกรณ์การเขียนของเด็กในแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่การใช้นิ้วมือ สีเทียนลากเส้นหรือระบายสี เพื่อเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง สร้างความคุ้นเคย และการจดจำในการเชื่อมโยงถึงการฝึกเขียนต่อไป
3. การฝึกเขียนพยัญชนะที่ถูกต้อง โดยการใช้สมุด ใบงาน หรือแบบหัดเขียนพยัญชนะไทยตามหลักตัวอักษรแบบกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเป็นการฝึกให้เด็กจดจำและเขียนพยัญชนะไทยได้อย่างถูกวิธี
4. ฝึกออกเสียงพยัญชนะ สอนให้เด็กจดจำพยัญชนะผ่านการออกเสียงโดยการใช้เทคนิคแยกอักษร 3 หมู่ คือ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ ควบคู่กับการฝึกเขียนพยัญชนะตามที่ครูบอก เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และจดจำพยัญชนะนั้น ๆ
5. ฝึกอ่านประสมสระ โดยเริ่มจากสระเสียงยาวก่อน ได้แก่ สระอา สระอู สระอี ฯล ผ่านสื่อการสอนในรูปแบบการแสดงท่าทางประกอบเพลงการใช้บทกลอน บทเพลง หรือบัตรคำประกอบรูปภาพเพื่อให้เด็กเกิดการจดจำพยัญชนะและสามารถจินตนาการความหมายของคำ ๆ นั้นได้
6. การใช้วรรณยุกต์ เป็นการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำที่ประกอบด้วยพยัญชนะกับสระ เพื่อแยกความหมายของคำ ซึ่งเด็กจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้และผันวรรณยุกต์ เริ่มแรกครูอาจจะทำการสอนในเรื่องของไตรยางค์ การสอนผันวรรณยุกต์ 5 เสียงตามอักษร 3 หมู่ เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ แม่นยำ และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
7. ตัวสะกด เป็นการสอนให้เด็กรู้จักแต่ละมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตรา ได้แก่ แม่กก แม่กง แม่กด แม่กน แม่กบ แม่กม แม่เกย และแม่เกอว และมาตราตัวสะกดตรงมาตราและไม่ตรงตามมาตรา
8. ฝีกเขียน เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝน เน้นทำบ่อยๆ แต่ในการฝึกเขียนนั้นครูสามารถใช้เทคนิคอื่น ๆ ควบคู่ได้ เช่น การเขียนตามคำบอก แบบฝึกเสริม ฯล เป็นต้น
เห็นได้ว่า ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความละเอียด ซับซ้อนและสละสลวย ฉะนั้น การสอนภาษาไทยอาจจะต้องอาศัยเทคนิควิธีการในการฝึกฝนแต่ละขั้นตอนจากง่ายไปสู่ระดับที่ยากขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ แม่นยำและการนำไปใช้ที่ถูกวิธีได้
Related Courses
สำนวนภาษาอังกฤษคูล ๆ ฉบับนำไปพูดได้เลย
อยากใช้ภาษาสวย สื่อสารเป็นธรรมชาติ เข้าใจวลีเด็ดสำนวนดังเพื่ออัพสกิลให้การสื่อสารภาษาอังกฤษของเราและสามารถสร้างความ ...
สำนวนภาษาอังกฤษคูล ๆ ฉบับนำไปพูดได้เลย
ต้องใช้ 100 เหรียญ
ไอเดียการใช้ Visual Thinking กับวัยเรียนและวัยทำงาน
วันทีนและวัยทำงานต้องห้ามพลาด กับการใช้ Visual Thinking เพื่อสร้างความคิดของคุณให้กลายเป็นภาพอย่างสนุกสนาน มาเรียน ...
ไอเดียการใช้ Visual Thinking กับวัยเรียนและวัยทำงาน
ต้องใช้ 100 เหรียญ
คิดเป็น เห็นเป็นภาพ เข้าใจง่ายด้วย Visual Note
เบื่อไหม? กับการจดโน้ตแบบเดิมๆ หรือหากคุณอยากลองอะไรใหม่ๆ ที่ช่วยให้จดจำได้แม่นยำ คิดสร้างสรรค์ และสนุกขึ้นหรืออยากจดโ ...
คิดเป็น เห็นเป็นภาพ เข้าใจง่ายด้วย Visual Note
ต้องใช้ 100 เหรียญ
สื่อไอซีทีง่ายๆด้วย Google Sheet
เรียนรู้การใช้ Flippity สร้างการสร้างเกมจับคู่, เกมแผ่นป้ายปริศนา, เกมล่าสมบัติ และเกมเกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น Hangman, C ...