อาชีพในฝันและทักษะเฉพาะทางทำความรู้จัก Specailized Skills สำคัญอย่างไรต่อตำแหน่งในฝันของเรา?
ในตลอดทศวรรษที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในคำที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดก็คือ “ทักษะ” ไม่ว่าจะเป็นทักษะแห่งอนาคต ทักษะอาชีพในอนาคตแต่อีกหนึ่งการพูดถึงที่วันนี้ Starfish Labz อยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจกันก็คือเรื่องของทักษะเฉพาะทางหรือ Specialized Skills นั่นเองค่ะทักษะเฉพาะทางคืออะไร? ใช่สิ่งเดียวกับทักษะอาชีพไหม? สำคัญอย่างไรต่องานในฝันของเรา ตาม Starfish Labz มาดูกันในบทความนี้เลยค่ะ
ทักษะเฉพาะทางคืออะไร?
ทักษะเฉพาะทางหรือ Specialized Skills หมายถึงทักษะเฉพาะทางในด้านหนึ่งๆ หรือในตำแหน่งอาชีพหรืองานหนึ่งๆ ที่บุคลากรต้องมีเพื่อที่จะสามารถดำเนินงานได้อย่างดีมีประสิทธิภาพและลุล่วงทักษะเฉพาะทาง หรือ Specialized Skills ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นทักษะเชิงเทคนิค (Technical Skills) เช่น ทักษะการเขียนโค้ด (Coding) หรือเป็นทักษะใหม่ๆ ล้ำๆ หลายๆคนคิดว่าเมื่อพูดถึง Specialized Skills ในตำแหน่งหนึ่งๆเราต้องนึกไปถึงทักษะเชิงเทคนิคอย่างเดียวแต่ในความเป็นจริง Specialized Skills ในบริบทของการทำงานก็คือทักษะใดๆก็ตามที่บุคคลในตำแหน่งหรืองานดังกล่าวต้องมีหรือควรมีเพื่อให้การทำงานประสบความสำเร็จนั่นเองค่ะ ในแง่นี้ทักษะที่เราอาจจะคุ้นหูคุ้นตากันอย่างทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) ก็อาจเป็นทักษะเฉพาะทางได้ (Specialized Skills) สำหรับในงานหนึ่งๆ ที่ต้องอาศัยการสื่อสารการเจรจาเป็นหลัก
ทักษะเฉพาะทางและงานในฝัน สำคัญอย่างไรกันต่อการงานในฝันของเรา?
เพราะเป็นทักษะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ในงานหนึ่งๆ หากเราไม่มีทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นต่องานนี้ๆ แล้วต่อให้เรามีทักษะอื่นๆที่โดดเด่นอย่างไรดีแค่ไหนเราก็คงไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ที่ดีในตำแหน่งนี้ได้จินตนาการว่านักเขียนที่มีทักษะการเขียนหรือทักษะเฉพาะทางที่ดีมากมายในขอบเขตงานของเขาต้องมารับบทเป็นเชฟอาหารจะออกมาดีแค่ไหนได้รสชาติได้คุณภาพหรือมาตรฐานไหมถ้านักเขียนคนดังกล่าวไม่เคยฝึกทักษะเฉพาะทางในด้านเชฟมาก่อนเลยหรือมาเริ่มฝึกใหม่ก็มีโอกาสน้อยมากที่เขาหรือเธอจะทำอาหารออกมาได้อย่างดีการพูดถึงเรื่องทักษะเฉพาะทางช่วยให้เด็กๆ หลายคนในวัยเรียนรวมถึงวัยเริ่มทำงานตลอดจนวัยทำงานแล้วแต่อยากลองเปลี่ยนงานมองเห็นแนวทางที่เราสามารถโยกย้าย เปลี่ยนแปลง พัฒนาในแบบเจาะจงได้เราอยากทำงานในตำแหน่งใดเราก็สามารถศึกษาทักษะต่างๆที่สำคัญในตำแหน่งดังกล่าวเพื่อเริ่มเส้นทางการมีโอกาสทำงานดังกล่าวของเราลดการพัฒนาหรือการฝึกทักษะต่างๆ ไปอย่างสุ่มๆ ช่วยจัดระเบียบในการฝึกฝนตัวเองและพัฒนาและแน่นอนว่าสามารถช่วยให้เรามีโอกาสสูงขึ้นในการทำงานที่เราปรารถนาและทำออกมาได้อย่างดีนั่นเอง
ทักษะเฉพาะทางพอไหม? มีทักษะอื่นๆ หรือเปล่าที่เราอาจต้องใช้ในการทำงาน?
แม้ทักษะเฉพาะทางจะถือว่าเป็นกลุ่มทักษะที่มีความสำคัญที่สุดในงานหนึ่งๆ เป็นรายการทักษะที่เราจะมองเห็นได้ในประกาศรับสมัครงานในรายการคุณสมบัติงานหนึ่งๆ แต่นอกเหนือจากทักษะเฉพาะทางแล้ว อีกหนึ่งทักษะที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ Soft Skills หรือทักษะเชิงอารมณ์และสังคม เช่น ทักษะความเข้าอกเข้าใจ (Empathy), ทักษะการเข้าใจมุมมองของอีกฝ่าย (Perspective-Taking) หรือทักษะเล็กๆ น้อยๆ ในด้านความสัมพันธ์ที่ล้วนมีผลต่อการทำงานของเรา จนไปถึงทักษะที่ช่วยซัพพอร์ตการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัวของเราอย่าง Self-Care (การดูแลตัวเอง) ก็ถือเป็นหนึ่งใน Soft Skills ที่มีความสำคัญเช่นเดียวกันนอกเหนือจาก Soft Skills อีกหนึ่งแนวคิดกลุ่มทักษะที่หลายๆ คนอาจอยากเริ่มให้ความสนใจหรือลองนำไปปรับใช้ในการทำงานของตนเองก็คือ Transferrable Skills หรือการมองว่านอกเหนือจากทักษะเฉพาะทางแล้ว การพัฒนาทักษะอื่นๆ ควบคู่ไปด้วยยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานอื่นๆ ต่อไปได้ทั้งในแง่ของการทำงานกับแผนกอื่นๆ ในสโคปหรือเขตอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นจนไปถึงการโยกย้าย เปลี่ยนงาน เปลี่ยนตำแหน่ง เปลี่ยนเพื่อนร่วมงานใหม่มีวัฒนธรรมองค์กรใหม่ ๆ นั่นเองค่ะ
3 เคล็ดลับช่วยสำรวจ Specialized Skills ในงานของเรา
1.สำรวจจากการค้นคว้า บทความ และดูจากหลากหลายบริษัท
หนึ่งในวิธีการง่ายๆ ที่เราสามารถทำได้ในการสำรวจทักษะเฉพาะทางในงานที่เราอยากทำก็คือการลองเข้าไปดูที่ประกาศรับสมัครงาน ดูคุณสมบัติที่บริษัทดังกล่าวต้องการ ดูหลายๆ บริษัทเพื่อให้พอมองเห็นรูปแบบ (Pattern) รวมถึงผ่านการค้นคว้า อ่านจากบทความที่น่าเชื่อถือต่างๆ
2.สำรวจจากคนรู้จัก ผู้เชี่ยวชาญ บุคคลในสายงานนั้นๆ หรือคนที่เราสามารถเชื่อใจ
นอกเหนือจากการค้นคว้าจากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่เชื่อถือได้ อีกหนึ่งแหล่งสำรวจที่มีคุณค่าไม่แพ้กันก็คือจากบุคคลจริงๆ โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลในสายงานที่เท่ารู้จักแต่ถ้าเราไม่รู้จักใครเลยในสายงานที่เราอยากทำล่ะ ควรทำอย่างไร? ในกรณีนี้ ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ จริงๆ มีบุคลากรมากมายที่พร้อมจะให้คำแนะนำแม้กระทั่งต่อคนที่เขาอาจจะไม่เคยรู้จักหากเรามีความพร้อม มีความกล้าจริงๆแล้วเราก็สามารถทำได้แค่อาจต้องอาศัยการสื่อสารการให้ความเคารพต่ออีกฝ่ายการติดต่อไปในช่องทางที่เหมาะสมซึ่งช่องทางเหล่านี้ก็มีตั้งแต่ใน LinkedIn รวมไปถึงในกลุ่มการทำงานมากมายในแต่ละสายหนึ่งๆบน Social Media ตลอดจนการลองฟังประสบการณ์การทำงานจริงๆของคนอื่นในรูป Podcast หรือ YouTube นั่นเอง
3.ฝึกจากการทำจริงการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการฝึกงาน
รู้จากคนอื่นอาจไม่พอถ้ามีเวลาล่ะก็อีกหนึ่งเคล็ดลับคือการลองเข้าร่วมกิจกรรมในสายงานนั้นๆ อาทิ การฝึกงาน, Workshop, การสัมมนาและการพูดคุยแลกเปลี่ยนในกิจกรรมมากมายต่างๆ บริษัทหลายๆ แห่งรวมถึงกลุ่มงานหนึ่งๆ มักมีกิจกรรมในรูปแบบนี้อยู่แล้วที่เหลือก็คือความกล้าหาญของเราในการลองไปมีส่วนร่วมดูนั่นเองและนี่ก็คือทั้งหมดเกี่ยวกับทักษะเฉพาะทาง (Specialized Skills) ที่วันนี้ Starfish Labz ได้นำมาฝากทุกคนกันค่ะในบทความหน้าจะมีเรื่องราว ข้อมูล หรือความรู้อะไรดีๆเกี่ยวกับการทำงานงานในฝันและการพัฒนาทักษะที่ดีต่างๆ กันบ้างอย่าลืมติดตามกันนะคะ
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่นก็มีประโยชน์กับเรานะแง่มุมสำคัญของ Collaboration และตัวเรา
5 ทักษะอาชีพสำคัญสำหรับ'เกษตรกรยุคใหม่' งานในไร่ใครว่าต้องอยู่ในรูปแบบเดิมๆ
ทักษะอาชีพที่ต้องมีในการทำงาน จัดการกับอารมณ์และความเครียดได้ก็สำคัญ
Related Courses
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
เกมจิตวิทยาค้นหาตัวตน
อยากรู้ตัวเองมากขึ้นไหม? มาเล่นเกมค้นหาตัวตนกัน! คอร์สออนไลน์สนุกๆ ที่จะพาคุณไปเจอตัวเองที่แท้จริง" ค้นพบความถนัด ศักยภ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
5 เทคนิคเลคเชอร์ ให้จำได้ ทบทวนบทเรียนแบบง่ายๆ
อยากเกรด A ต้องทำยังไง? คอร์สนี้มีคำตอบกับ 5 เคล็ดลับ! สุดเจ๋ง ที่จะช่วยให้จดจำเนื้อหาได้ยาวนาน ทบทวนสนุก สมองปลอดโปร่ง ...