การเสวนาแลกเปลี่ยนความคิด - การสร้าง Generative AI เข้าไปในส่วนหนึ่งใน EdTech

Starfish Academy
Starfish Academy 1013 views • 1 ปีที่แล้ว
การเสวนาแลกเปลี่ยนความคิด - การสร้าง Generative AI เข้าไปในส่วนหนึ่งใน EdTech

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เรียกว่า “AI” ได้เข้ามามีบทบาทในการอำนวยความสะดวกในทุกด้าน เช่นเดียวกับวงการศึกษาที่ได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมถึงใช้ในการกำหนดแนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีในอนาคตอย่างได้ผลและก่อให้เกิดประโยชน์ได้

ด้วยแนวโน้มการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ AI เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในมุมมองภาคการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการบริหารจัดการศึกษาที่ได้มีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยให้การดำเนินงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ด้านระบบข้อมูลนักเรียน (student information system) การจัดสรรทรัพยากร (resource allocation) การจัดตารางการเรียนการสอน การสรรหาและการรับสมัคร (recruitment and admissions) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้มีการนำเทคโนโลยี Generative AI เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการเรียนการสอน การสร้างเนื้อหา (content) อีกทั้งยังสามารถค้นหาข้อมูลเฉพาะทางในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างหลากหลายคล้ายกับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดเป็นจุดเปลี่ยนต่อวิถีการเรียนรู้ที่เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และปัญญาประดิษฐ์อื่น ๆ ได้ง่ายและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น ครูในต่างประเทศพบปัญหานักเรียนใช้ ChatGPT ช่วยทำการบ้าน จึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีโดยการใช้ ChatGPT ให้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ หรือช่วยหาคำตอบเปรียบเสมือนครูผู้ช่วยของเด็ก โดยวิธีการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อดีของ AI สำหรับการจัดการเรียนรู้ 1) ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เฉพาะบุคคล (personalize learning) เนื่องจากอุปกรณ์ (device) ต่าง ๆ เป็นของส่วนบุคคล จึงทำให้เส้นทางการเรียนรู้ถูกปรับให้เหมาะกับบุคคลนั้น ๆ และในส่วนของครูอาจารย์ก็สามารถออกแบบห้องเรียนหรือออกแบบชั้นเรียนที่มี AI เป็นผู้ช่วยแล้วให้ AI เข้ามาเป็น 1 ในครูผู้ช่วยได้ จะเห็นได้ว่า AI ในการเรียนการสอนสามารถทำได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะด้าน personalize learning

ที่จะต้องพิจารณาว่า “เราเป็นใคร ต้องการจะเรียนรู้อะไร และเลือกใช้เครื่องมือช่วยอะไร” 2) การนำเทคโนโลยีโลกเสมือนสู่โลกความจริงในการเรียนรู้ โดยใช้โปรแกรมความเสมือนจริง (Virtual Reality : VR) ความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality : AR) เข้ามาจัดการเรียนการสอน เช่น การฝึกผู้เรียนหรือนักศึกษาในสถานการณ์จำลองต่าง ๆ (simulation) การซ่อมเครื่องจักร การผ่าตัด เป็นต้น แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดในด้านความพร้อมของอุปกรณ์และการเข้าถึงยากทำให้การจัดการเรียนการสอนในประเทศไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร 3) การจัดการเรียนรู้ร่วม (Inclusive Education) เป็นการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษหรือบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยให้เกิดความสะดวกในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การขึ้นข้อความสำหรับผู้พิการทางหู การใช้เสียงสำหรับผู้พิการทางตา เป็นต้น 4) การวิเคราะห์ข้อมูลและสะท้อนกลับ (Data Analysis and Feedback) การใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลและสะท้อนผลสู่การปรับปรุงและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับความท้าทายด้านจริยธรรม (challenges and ethical considerations) สิ่งที่ควรคำนึงคือ 1) ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (data privacy) การคำนึงถึงความปลอดภัยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้

2) ความลำเอียงของปัญญาประดิษฐ์ (Bias in AI) เป็นการประมวลผลของ AI ที่ออกมาอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจเกิดได้หลายเหตุ เช่น การป้อนข้อมูล และการตัดสินใจที่ลำเอียง หรือพิจารณาข้อมูลตามอัลกอริธึ่มจากสิ่งที่มนุษย์ได้กำหนดให้ในตอนแรก เป็นต้น 3) การแทนที่งาน (Job Displacement) สามารถแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ งานแบบไหนที่จะถูกแทนที่ด้วย AI และทักษะแบบไหนที่เป็นที่ต้องการในโลกธุรกิจ ซึ่งในยุคปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาแทนที่มนุษย์มากขึ้น ฉะนั้น มนุษย์จึงต้องสร้างข้อแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักตนเอง การกำกับตนเอง

การรู้จักสังคม การมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง เพื่อที่จะสามารถใช้และรู้เท่าทันเทคโนโลยีได้ 4) การพึ่งพาเทคโนโลยี (dependency) เป็นการเลือกพึ่งพาเทคโนโลยีในการทำงาน การเรียน โดยผ่านการคัดกรอง การใช้วิจารณญาณในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับรู้ จะเห็นได้ว่า AI ได้เข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับการชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น ฉะนั้นสิ่งที่มนุษย์จะต้องรับมือกับความก้าวหน้าของเทคโนโลโลยี AI อย่างรู้เท่าทัน คือ การปรับตัวอย่างต่อเนื่อง (continuous adaptation) การทำงานร่วมกัน (collaboration) โดยการพัฒนาตนเองให้พร้อมกับการใช้ AI และการเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) เพราะความรู้ใหม่มักเกิดเร็วขึ้น เรื่องถูกของเมื่อวานอาจกลายเป็นเรื่องผิดของวันนี้ ดังนั้น การสร้างความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งที่ท้าทายในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและกระแสโลกในอนาคต

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:30 ชั่วโมง

เขียน Prompt ใน ChatGPT อย่างไร ให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

อยากได้ผู้ช่วยอัจฉริยะที่เข้าใจคุณทุกอย่างไหม? มาเรียนรู้วิธีสื่อสารกับ ChatGPT ผ่าน Prompt กันเถอะ! คอร์สนี้จะสอนเทคนิคกา ...

Starfish Labz
Starfish Labz
เขียน Prompt ใน ChatGPT อย่างไร ให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
Starfish Labz

เขียน Prompt ใน ChatGPT อย่างไร ให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

Starfish Labz

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

Chat GPT AI ที่ครูยุคใหม่ต้องเรียนรู้

หากคุณกำลังมองหาตัวช่วยหรือเครื่องมือที่จะช่วยทำให้คุณทำงานได้ง่าย สะดวกและรวดเร็วขึ้น ChatGPT สามารถช่วยได้แน่นอนในคอร์ส ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Chat GPT AI ที่ครูยุคใหม่ต้องเรียนรู้
Starfish Academy

Chat GPT AI ที่ครูยุคใหม่ต้องเรียนรู้

Starfish Academy
1077 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:30 ชั่วโมง

Google Sites กับการนำมาใช้เพื่อการศึกษาและการประเมินวิทยะฐานะ

Google Sites ช่วยทำเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องรู้วิธีเขียนโค้ด และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์โดยไม่ต้องมีความรู้มากในด้าน ...

Google for Education Partner
Google for Education Partner
Google Sites กับการนำมาใช้เพื่อการศึกษาและการประเมินวิทยะฐานะ
Google for Education Partner

Google Sites กับการนำมาใช้เพื่อการศึกษาและการประเมินวิทยะฐานะ

Google for Education Partner

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ และ ให้เหตุผลด้วย Unplugged Coding

Coding คืออะไร ทำไมเด็กยุคใหม่ถึงต้องเรียน ? หรือจะเริ่มต้นสอน Coding ยังไงให้เด็กๆสนุก และได้พัฒนาทักษะไปพร้อมๆกัน ค ...

นางสาวปรัชนียา มาวัชระ
นางสาวปรัชนียา มาวัชระ
เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ และ ให้เหตุผลด้วย Unplugged Coding
นางสาวปรัชนียา มาวัชระ

เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ และ ให้เหตุผลด้วย Unplugged Coding

นางสาวปรัชนียา มาวัชระ

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO
02:33
Starfish Future Labz

10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO

Starfish Future Labz
61497 views • 3 ปีที่แล้ว
10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
02:55
Starfish Future Labz

3 ข้อดี Starfish Class Website Version

Starfish Future Labz
433 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
8125 views • 3 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)
04:50
Starfish Academy

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)

Starfish Academy
10536 views • 2 ปีที่แล้ว
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)