Active Learning เขาสอนอะไร? ทำความรู้จัก Computing Science วิชาใหม่สำหรับคุณครูสาย Active
การเรียนการสอนเชิง Active Learning ว่าน่าสนใจแล้ว แต่อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจในเจ้ารูปแบบการเรียนรู้เชิงปฏิบัตินี้ก็คือหลากหลายวิชาใหม่ๆ ที่มีการถูกปรับเปลี่ยน ดัดแปลงให้กลายเป็นวิชาที่มีความเป็นการเรียนรู้เชิงปฏิบัติมากขึ้น หนึ่งในวิชาที่วันนี้ Starfish Labz อยากพาทุกคนมาส่องดูก็คือ Computing Science หรือวิชาวิทยาการคำนวณที่มีความน่าสนใจ มีหลากหลายรูปแบบใหม่ๆ ที่ชวนให้กระทั่งผู้ใหญ่อย่างเราๆ อยากลงเรียนด้วยเลยทีเดียวค่ะ Computing Science คืออะไร? รูปแบบใหม่มีความเป็น Active Learning อย่างไรบ้าง? ตาม Starfish Labz มาดูกันเลยค่ะ
Computing Science คืออะไร? ทำความรู้จักวิชาวิทยาการคำนวณ
วิชาวิทยาการคำนวณ หรือ (Computing Science) ในบริบทของประเทศไทย กล่าวอย่างง่ายที่สุดแล้วก็คือวิชาคอมพิวเตอร์หรือวิชาทางเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่มีการออกพัฒนาและออกแบบให้ตอบโจทย์ต่อความต้องการในการเรียนรู้ในปัจจุบันมากขึ้น ตัววิชายังคงมีพื้นฐานการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี แต่มีการเพิ่มหลากหลายส่วนให้ตอบโจทย์กับความต้องการทางการเรียนรู้ในปัจจุบัน เช่น การเขียนโปรแกรม การสร้างแอปพลิเคชัน และที่สำคัญที่สุดคือการมีทักษะการคิดเชิงคำนวณหรือการคิดและการใช้งานข้อมูล (Data) และการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อให้เด็กๆ สามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหาสร้างโซลูชัน (Solution) ต่อสิ่งๆ หนึ่งที่เขาต้องการในโลกจริงๆ ได้ ในภาพรวม ศาสตร์หรือความรู้ที่เด็กๆ จะได้เรียนจึงคือคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี และข้อมูลและมีเป้าหมายคือการนำความรู้เหล่านี้ไปต่อยอดในโลกจริงๆ ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่ที่การใช้งานคอมพิวเตอร์โดยพื้นฐานอย่างเดิมๆ อีกต่อไป ไม่จำกัดการเรียนรู้อยู่ที่แค่การทำงานของคอมพิวเตอร์ แต่เปลี่ยนหัวใจหลักมาที่ความต้องการของเด็กๆ หรือผู้เรียนในการดูว่าเราจะสามารถใช้คอมพิวเตอร์หรือศาสตร์ในแง่นี้ไปเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสิ่งใดใหม่ๆ ในโลกจริงๆ ได้บ้าง ตัววิชาประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่
1.พื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล การสอนให้เด็กๆ รู้จักเทคนิควิธีการต่างๆ เกี่ยวกับความรู้ทางคอมพิวเตอร์, เทคโนโลยี, และดิจิทัล รวมถึงในแง่มุมทางด้านเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่น่าสนใจหรือต้องการ อาทิ ในยุค Thailand 4.0 อาจเน้นในด้านระบบอัตโนมัติ (Automation) ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร อุตสาหกรรม หรือคมนาคม เน้นให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างรอบด้านและเชิงปฏิบัติ
2.การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) วิชาวิทยาการคำนวณเดินทางกลับมาที่จุดเริ่มการเรียนรู้ในตัวของเด็กๆ ผนวกเอาความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์และความปรารถนาในการสร้างสิ่งหนึ่งๆ ในโลกจริงๆ เข้าด้วยกัน อีกหนึ่งส่วนที่สำคัญจึงคือการสอนการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือทักษะการคิดวิเคราะห์ แต่เป็นการคิดวิเคราะห์ในโหมดหรือในชื่อชุดความรู้ทางคอมพิวเตอร์ มีหลากหลายลักษณะในการเรียนรู้ ที่เป็นที่นิยมและเป็นหลักๆ สำคัญ อาทิ การแบ่งบ่อยปัญหา (Decomposition), การพิจารณารูปแบบ (Pattern Recognition), การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction) และการออกแบบอัลกอริทึม (Algorithm) เป็นต้น
3.พื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and Information Literacy) เป็นทักษะเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล สอนให้เด็กๆ แยกแยะได้ว่าข้อมูลใดเป็นความจริงหรือความคิดเห็น โดยเฉพาะข้อมูลบน Social Media สอนเรื่องของความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ทางปัญญาต่างๆ เพื่อให้เด็กใช้ช่องทางนี้ได้อย่างรู้เท่าทันและอย่างปลอดภัย
วิชาใหม่ มีความเป็น Active Learning อย่างไร?
วิชาวิทยาการคำนวณหรือ Computing Science ใหม่นี้มีการปรับเปลี่ยนในหลายจุด และหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญก็คือการพัฒนาให้วิชามีความเป็นเชิงรุกหรือเชิงปฏิบัติ (Active Learning) จากเดิมที่เป็นวิชาคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป เด็กๆ จะได้เรียนสิ่งที่ช่วยให้เกิดกระบวนการคิดขั้นสูง (Higher-Order Thinking) มากขึ้น หัวใจของวิชากลับมาที่ตัวผู้เรียน มีกิจกรรม วิทยาการคำนวณในการเรียนรู้ มีอิสระทางด้านความคิด มีวิจารณญาณ และมีความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า ‘Open Field’ หรือเป็นพื้นที่เปิดกว้างๆ คล้ายๆ กับในระดับอุดมศึกษาเลยก็ว่าได้ แต่อยู่ในระดับที่เข้าถึงได้สำหรับเด็กๆ ตัววิชาแน่นอนว่ายังเน้นให้เกิดการแสดงออกถึงความรู้ความสามารถและศักยภาพในการคิดและการสร้างสรรค์โซลูชันของตัวเองได้อย่างสุดคูลและน่าสนใจ ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ มากมายที่เรียกว่าต้องถูกใจเด็กๆ ที่ชอบเรื่องราวของเทคโนโลยีอย่างแน่นอน
อาชีพใดบ้างที่มีวิชา Computing Science เป็นพื้นฐาน?
เด็กๆ ที่มีความสนใจในวิชา Computing Science อันที่จริงแล้ว สามารถต่อยอดไปเป็นบุคลากรในหลากหลายสายอาชีพ แต่ที่เป็นที่นิยม อาทิ Computer Programmer (นักพัฒนาโปรแกรม), Web Develop (นักพัฒนาเว็บไซต์), Business Analyst (นักวิเคราะห์ทางธุรกิจ), Computer Engineer (วิศวกรคอมพิวเตอร์) และไปจนถึง Information Security Analyst (นักวิเคราะห์ความปลอดภัยทางข้อมูล)
สำหรับประเทศไทย ในปัจจุบัน วิชา Computing Science ได้กลายเป็นวิชาบังคับวิชาใหม่ในหลักสูตรการเรียนรู้ของเด็กๆ ตั้งแต่ ป.1. - ม.6 แล้ว แต่ตัวเป้าหมายของวิชาจริงๆ แล้วก็ไม่ได้ต้องการให้เด็กๆ ทุกคนเรียนจบแล้วต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ เพียงแต่ต้องการเพิ่มทักษะการคิดเชิงคำนวณรวมถึงการมองเห็นภาพรวมในเรื่องราวของเทคโนโลยีที่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาและก้าวไปไกลเกินกว่าแค่การเรียนรู้การใช้ Google หรือคอมพิวเตอร์เดิมๆ มากแล้วนั่นเองค่ะ
อย่างไรก็ดี แน่นอนว่าถือเป็นวิชาที่เหมาะอย่างยิ่งเลยทีเดียวสำหรับเด็กๆ ที่ชื่นชอบเรื่องราวของเทคโนโลยีและอาจใฝ่ฝันอยากทำงานด้านเทคโนโลยีในอนาคต ถือเป็นวิชาใหม่ที่มีความเป็น Active Learning มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้อย่างดีและยังมีหลากหลายความน่าสนใจใหม่ๆ ที่รอให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างเปิดกว้างเลยทีเดียวค่ะ
อ้างอิง:
● วิทยาการคำนวณ (Computing Science)
● 21 Types of Computer Science Jobs (With Job Duties) | Indeed.com
บทความใกล้เคียง
Related Courses
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...