การเสวนา เรื่อง Performance Appraisal การประเมินผลการปฏิบัติงานของครู

การเสวนา เรื่อง Performance Appraisal การประเมินผลการปฏิบัติงานของครู

วันที่ 17 สิงหาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 

(ก.ค.ศ.) ได้จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการพัฒนาวิชาชีพครู OTEPC International Forum on Teaching Profession Developmemt 2023 การประเมินผลการปฏิบัติงานของครูและการพัฒนาคุณภาพการสอนสู่ความสำเร็จของผู้เรียน (Teacher Performance Appraisal and Teaching Quality Development:The Making of Successful Learners) 

Starfish Labz จึงได้ถอดองค์ความจากเวทีการประชุมนานาชาติ ฯ ในช่วง กิจกรรมการเสวนา (Panel Discussion) เรื่อง Performance Appraisal การประเมินผลการปฏิบัติงาน : How to evaluate a teacher's performance in the digital era? and What are the expected student learning outcomes? เราจะประเมินผลการปฏิบัติของคุณครูในยุคดิจิตัลได้อย่างไร และอะไรคือผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของนักเรียนในยุคนี้ ช่วงเวลา 10.30-12.00 ดำเนินรายการโดย รศ.ดร. ธีระพัฒน์ กุโลภาส ผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แก่ 1) Prof. Chan Lee Seoul National University, South Korea 2) Prof. Masami Isoda Director, Center for Research on International Cooperation in Educational Development (CRICED), University of Tsukuba, Japan 3) Assoc. Prof. Maitree Inprasitha Vice President for Education and Academic Services Institute for Research and Development in Teaching Profession for ASEAN,  Khon Kaen University, Thailand 4) Dr. Maurice Cuypers President BELCO Alliance / Program Manager Acceleration Academy Fontys School of Business & Communication Fontys University of Applied Sciences, The Netherlands 5) Mr. Iain William McGilchrist Senior Professional Practice Fellow College of Education, The University of Otago, New Zealand

เกริ่นนำโดยพิธีกร : เราต้องจำเป็นต้องปรับปรุงให้การประเมินเท่าทันกับยุคปัจจุบัน และเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ของนักเรียน และในยุคปัจจุบันนี้ มี Big data มากมาย เราจึงต้องเลือกใช้ ดังนั้น วันนี้ เรามีผู้เชี่ยวชาญที่มีมุมมองจากสากลมาแลกเปลี่ยนให้เราฟังในประเด็นที่มีประโยชน์นี้ มาร่วมรับฟังกันเลยครับ

1) Prof. Chan Lee Seoul National University, South Korea

  • ระบบการประเมินวิทยาฐานะของครูจะต้องเชื่อมโยงกับการให้ค่าตอบแทน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มแรงจูงใจ ถ้าเชื่อมไม่ได้ ระบบนี้ก็จะไม่มีประโยชน์ ยกตัวอย่าง สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ก็คล้ายกับประเทศไทย เนื่องจากผู้ปกครองจะใส่ใจมากเกี่ยวกับการเรียนของลูก และถ้ามีนักการเมืองคนใดพยายามที่จะลดงบประมาณเรื่องการศึกษา นั่นหมายถึงจะแพ้การเลือกตั้งครั้งในถัดไป เพราะฉะนั้น เราต้องมีหลักประกันเรื่องค่าตอบแทนที่มั่นคงของครู 
  • หัวใจสำคัญของระบบการประเมินวิทยฐานะครู ก็คือ 1) จุดศูนย์กลางคือนักเรียน ไม่ใช่ครู 2) ครูเรียนรู้ที่ทำงานร่วมกัน มากกว่าการแข่งขันกัน 3) การประเมินที่ให้คุณค่ากับกระบวนการเรียนรู้ ไม่ใช่เน้นแต่ผลลัพธ์ 4) การประเมินที่มีจุดชุดเชื่อมโยงประสบการณ์ของนักเรียน เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญคือ ระบบการประเมินวิทยฐานะครู ต้องยกระดับการเปลี่ยนแปลงคุณครู ห้องเรียนและการศึกษาไทย 
  • ยกตัวอย่าง การใช้ระบบการประเมินในดิจิตัล ห้องเรียนของเกาหลีใต้ใช้โปรแกรม Kahoot 

เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียน ยิ่งสถานการณ์ในช่วงสถานการณ์โควิด การเรียนรูแบบมีประโยชน์มาก แต่ปัญหาคือ นักเรียนเก่งระบบดิจิตัลมากกว่าคุณครู เพราะฉะนั้น เราต้องพัฒนาคุณครูให้มีสมรรถนะด้านดิจิตัลให้มากขึ้น 

คำถาม 1) จากที่มีการเปลี่ยนแปลง ทราบว่าเกาหลีมีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้า มีทัศนติอย่างไรเรื่องการประเมินในยุคปัจจุบันกับการใช้วิทยาการ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หรือ ChatGPT มาใช้ในการประเมิน

ตอบ มันดีที่เรามีการปรับทักษะต่างๆ ทุก 5 ปี เพราะครูจะต้องปรับทักษะใหม่ หรือปรับความคิดของครูเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เช่น ChatGPT มันดีทีเดียว เราจะตั้งคำถามและมีการทดสอบ 3 ครั้ง ครั้งแรกครูเป็นคนถาม ครั้งที่สอง ให้เพื่อนตั้งคำถามแล้วให้เพื่อนร่วมห้องตอบ และครั้งที่สามคือ ให้ ChatGPT เป็นตัวอย่าง โดยมีการปรับ เพราะเราไม่ได้สอนให้นักเรียนตอบคำถาม แต่ให้เลือกคำถามที่สำคัญขึ้นมาจาก ChatGPT  เพราะฉะนั้น ครูต้องทันเทคโนโลยีด้วย

คำถาม 2) รัฐบาลควรทำอย่างไรเพื่อให้การใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ตอบ มันคือการลองผิดลองถูก ในไม่ช้าเราจะรู้ และไม่มีใครเสียชีวิตจาก ChatGPT ดังนั้น เราใช้มันเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดจะดีกว่า

คำถาม 3) วิทยาการในยุคปัจจุบันจะใช้ประเมินครูได้อย่างไร ?

ตอบ การประเมินวิทยฐานะครู สิ่งที่เราพลาดไป คือ ใครเป็นผู้ประเมินครูกันแน่ จริงๆ เราไม่ได้จัดโครงการอบรมสำหรับคนที่ประเมินครูที่ลึกมากพอ ถึงแม้เราจะมีการปฐมนิเทศ แต่เราจะต้องมีการทบทวนทุกครั้ง เราต้องมีการจัดระบบนิเทศให้ดีขึ้น 

คำถาม 4) ความเป็นส่วนตัวกับการแบ่งปันประสบการณ์ของครูเวลาประเมินผล

ตอบ ทางเกาหลีใต้สามารถใช้วิธีการอัดวิดีโอได้ แต่ต้องให้ครูและนักเรียนเห็นด้วยและยินยอม ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่เราจะต้องมีการทบทวน หรือการสร้างครูต้นแบบก่อน 

2)  Prof. Masami Isoda Director, Center for Research on International Cooperation in Educational Development (CRICED), University of Tsukuba, Japan

  • อยากให้นำเสนอความคิดของคนญี่ปุ่นในเรื่องนี้ ประมาณ 100 กว่าปีที่แล้ว เราจะเห็นว่าเริ่มมีการใช้ตำราเรียน และมีการดึงนักเรียนให้มีส่วนร่วมในการดำเนินการต่างๆ และมีการใช้ชุมชนวิชาการในการประเมินผล 
  • เราได้มีการพัฒนากรอบสมรรถนะครูในเอชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีการพัฒนาด้านคณิตศาสตร์เพื่อสร้างมาตรฐานของคุณครู 
  • ในเรื่องการประเมินผล จะมีการเตรียมพร้อมการพัฒนาในเชิงวิชาชีพ เพื่อการดำเนินผล และพัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ และมีการประเมินผลตนเอง ด้วยตนเอง และเพื่อตนเอง เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการส่งเสริมคุณภาพในการสอน ดังนั้น จึงต้องมีการปฏิรูปการฝึกหัดครูในยุคนี้ เช่น ในระดับของจังหวัด ทั้งเป็นทั้งราชการ คุณครู และนักการศึกษา เลยมีการคาดหวังหลักสูตรพัฒนาครูอย่างเป็นขั้นตอน เช่น ในปีแรกเป็นขั้นตอนของการจ้างงาน ในช่วงปีที่ 3 เป็นการทำงานตามความรับผิดชอบและหน้าที่ และในปีที่ 8 เป็นขั้นตอนของการเติมเต็มความสามารถ สามารถเป็นผู้นำในการสร้างกิจกรรมความเป็นผู้นำได้ ในปีที่ 13 เป็นแกนหลัก และปีที่ 18 เป็นแกนนำและมีมุมมองที่กว้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
  • ผู้นำจะต้องช่วยให้ครูบรรลุในการประเมินวิทยฐานะ และครูมีบทบาทสำคัญในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ และมาตราฐานการสอนในยุคนี้ คือการใช้ปัญญาประดิษฐ์มีความจำเป็นมาก เพราะระบบปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเรา และให้นักเรียนสามารถคิดในเชิงมโนทัศน์ได้ก่อน 
  • จุดอื่นๆ ที่สำคัญคือ วิชาคณิตศาสตร์ เราต้องมีกระบวนการคิดในเชิงคณิตศาสตร์ที่เป็นการนำไปใช้ และต้องพัฒนากิจกรรมคล้ายๆ กัน และจะมีการอบรมผ่านออนไลน์ และมีการแลกเปลี่ยนกัน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของตน และจะต้องมีแนวทางปฏิบัติที่ดี 

คำถาม 1) จากที่มีการเปลี่ยนแปลง ทราบว่าเกาหลีมีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้า มีทัศนติอย่างไรเรื่องการประเมินในยุคปัจจุบันกับการใช้วิทยาการ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หรือ ChatGPT มาใช้ในการประเมิน

ตอบ  อยู่ที่การตีความ การปรับให้เกิดบริบทที่ใช้งานจริง และต้องการชุมชนการเรียนรู้ของครู กระบวนเรื่องการสอนจะต้องมีการวิพากษ์ การอภิปรายที่มีระบบ ที่จะต้องมีคนทำงานร่วมกัน 

คำถาม 2) รัฐบาลควรทำอย่างไรเพื่อให้การใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ตอบ การใช้วิทยาการในการประเมินตนเอง และการพัฒนาอาชีพเป็นเรื่องที่สำคัญ วิทยาการมีประโยชน์ ใช้ได้มาก และมีการโอนถ่ายข้อมูล เพื่อถ่ายทอดแนวคิดของแต่ละคน การใช้วิทยาการเป็นทางเลือกในประเทศญี่ปุ่น 

คำถาม 3) วิทยาการในยุคปัจจุบันจะใช้ประเมินครูได้อย่างไร ?

ตอบ เราจะต้องเรียนรู้ในระดับในชุมชนเพื่อสร้างให้เป็นสิ่งใหม่ในบริบทใหม่ เราจะมีการพัฒนาความคิดให้ลึกขึ้นไปอีก เราต้องสร้างชุมชนมการประเมินผลตัวเองให้เป็นมาตรฐาน

3) Assoc. Prof. Maitree Inprasitha Vice President for Education and Academic Services Institute for Research and Development in Teaching Profession for ASEAN,  Khon Kaen University, Thailand

  • การประเมินขีดความสามารถการสอนของครู วิธีการเริ่มต้น คือ การหาความหมาย และเน้นว่าเราต้องการข้อมูลจากทุกภาคส่วนให้ได้มากที่สุดเพื่อสนับสนุนครู คงไม่ใช่แค่การประเมินเท่านั้น แต่ต้องมีการพัฒนาระบบ และเน้นผลที่สำคัญที่สุดคือ เน้นให้นักเรียนให้ได้เรียนรู้ 
  • ช่วงที่อยู่ที่ญี่ปุ่น ช่วงนั้นประเทศไทยก็มีการปฏิรูปการเรียนรู้ ก่อนที่จะพูดถึงการประเมินผล เราจะต้องดูก่อนว่า เราจะสอนอะไร ทักษะที่จำเป็นคืออะไร เราต้องมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของพฤติกรรมให้กลายเป็นทักษะการคิด และบอกว่าครูของเราไม่ได้สอนความรู้นะ แต่สอนให้นักเรียนได้คิดด้วยตนเอง แล้วครูจะสร้างสิ่งนี้ได้อย่างไร ถ้าครูทำได้ เราถึงจะคุยเรื่องการประเมินได้ 
  • ระดับของการเรียนรู้ เราต้องเปลี่ยนนักเรียนให้เป็นนักคิด เราละเลยว่าเราจะทำอย่างไรให้ครูสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนประยุกต์ใช้ข้อมูลได้ เพราะอะไรเราถึงต้องสอนให้เด็กคิด ? คำพูดของ Bonwell and Eison (1991) Active Learning is the instructional activities involving students in doing things and thinking about what they are doing” เราต้องสอนให้นักเรียนคิดขั้นสูง และคิดในเชิงซับซ้อน เพราะบางทักษะ AI ได้ทำหน้าที่แทนเราแล้ว 
  • ในปี 2006 เราเริ่มต้นที่จะพัฒนานวัตกรรมสำหรับการสอนให้เด็กคิดด้วยตนเอง เพื่อตนเอง และได้เริ่มต้นโครงการนี้ในปี 2006 เราพยายามสอนนักเรียนให้คิดตาม  หลังจากนั้น เราได้มีการดำเนินการโครงการนี้ และเราได้ศึกษาห้องเรียนญี่ปุ่นจริงๆ ว่าเขาสอนให้เด็กคิดได้อย่างไร และเราจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนเรา ในส่วนสุดท้าย เราคาดหวังว่าคุณครูของเราจะสร้างเครือข่ายการศึกษา และสร้างกระบวนการทำงานที่ยั่งยืนได้
  • ได้มีการสรุปกันว่าวิชาคณิตศาสร์จะต้องมีการบูรณาการเพื่อผนึกกำลังกันขึ้นมา เพราะเรามีสาระอื่นๆ ที่สำคัญกว่านั้น เช่น การ Coding การคิดเชิงคำนวณ เป็นต้น สำหรับระดับชั้นต่างๆ ในโรงเรียนเพื่อสร้างแนวทางใหม่ เพื่อให้เด็กมีทักษะการคิดคำนวณ และประเมินของของครูก็จะได้ผล
  • การทำ Open-Class การเปิดชั้นเรียน เป็นแนวคิดที่สำคัญของการะประเมินผล เพื่อฟังความคิดเห็นต่างๆ และรากฐานที่สำคัญคือ PLC ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เกิดขึ้นรายสัปดาห์ จะต้องหมุนวง PLC แบบนี้ เพื่อเป็นรากฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนโรงเรียนของเรา และได้มีการจัด Open Class เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะพัฒนาการสอนของครู นอกจากนี้ ยังมีการทำชั้นเรียนเปิดระดับชาติเลย ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

คำถาม 1) จากที่มีการเปลี่ยนแปลง ทราบว่าเกาหลีมีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้า มีทัศนติอย่างไรเรื่องการประเมินในยุคปัจจุบันกับการใช้วิทยาการ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หรือ ChatGPT มาใช้ในการประเมิน

ตอบ เราไม่จำเป็นต้องสอนความรู้อีกแล้ว แต่เราต้องสอนให้นักเรียนคิดด้วยตนเอง เพื่อตนเอง ถ้าเรามีการประเมินผลตรงนี้ เราต้องสอนให้ครูปรับตัวใหม่ เพราะนักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการสังเกตเพื่อระบุแนวคิดใหม่ๆ ในชั้นเรียนได้ แต่ครูจะสามารถออกแบบให้นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนได้อย่างไร แต่เราเน้นเรื่องวงจรการเรียนรู้และขยับไปสู่คุณภาพ ถ้าทำได้ ชั้นของการประเมินวิทยฐานะจะสร้างแนวโน้ม แนวคิดเชิงวิพากษ์ของครูได้ 

คำถาม 2) รัฐบาลควรทำอย่างไรเพื่อให้การใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ตอบ จริงๆ วิทยาการมันช่วยครู มันไม่ใช่เวลาที่เราจะสอนความรู้อีกแล้ว แต่ต้องสอนอย่างอื่น เราสามารถใช้ประโยชน์จากวิทยาการได้ เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมาย เพื่อให้เด็กสะท้อนคิดต่างๆ เพื่อตนเอง เราไม่ควรเน้นที่ความรู้ ในแง่วิทยาการไม่มีปัญหา 

คำถาม 3) วิทยาการในยุคปัจจุบันจะใช้ประเมินครูได้อย่างไร ?

ตอบ เราต้องมีการวิเคราะห์ ฟังความเห็นกลับมาในเชิง feedback ถ้ามองว่าการประเมินเรื่องการเรียนรู้จะต้องมีการกรอง Reflection อาจจะต้องมีกฎเกณฑ์ต่างๆ จะต้องมาช่วยวางรูปแบบให้ครูได้สะท้อนแนวของตัวเองเพื่อให้มีการปรับปรุงต่อยอดขึ้นไป 

คำถาม 4) ข้อคิดในเชิงจริยธรรมจะต้องเป็นอย่างไร? 

ตอบ เมื่อเราสร้างระบบใหญ่ เราควรที่จะสร้างชุมชนการเรียนรู้ของครู ระบบควรสนับสนุนการเรียนรู้วิชาชีพของครู เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสร้างระบบแยก เราพลาดแล้ว เรามีทัศนะหรือจุดมุ่งหมายที่อยากจะให้ครูได้เรียนรู้ เป็นการต้อนรับครูใหม่ เราสามารถสร้างหลักประกันได้ว่าเป็นชุมชนที่เหมาะสม ครูจะต้องสอนให้เด็กดำรงอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงได้ เด็กไม่ได้ต้องการความรู้ แต่ต้องการจินตนาการ เพราะฉะนั้น ระบบต้องส่งเสริมชุมชนวิชาชีพของครู เเพื่อให้ครูมีความสุขในการสอน 

คำถาม 5) ความเป็นส่วนตัวกับการแบ่งปันประสบการณ์ของครูเวลาประเมินผล

ตอบ จิตวิญญาณคือการสานเสวนาในชุมชน เราไม่ได้สนใจว่ามีกล้องหรือไม่ แต่คือการคุยกันแบบกัลยาณมิตร เราถ่ายรูปเพื่อการออกความเห็นได้ เพราะฉะนั้นแล้วแต่มุมมอง

4)  Dr. Maurice Cuypers President BELCO Alliance / Program Manager Acceleration Academy Fontys School of Business & Communication Fontys University of Applied Sciences, The Netherlands

  • ผมทำงานมา 35 ปีในวงการการศึกษา เพราะเห็นถึงระบบต่างๆ ครูในฐานะเป็นมืออาชีพในการทำงาน ครู คือ หัวใจของเรา ถ้าไม่มีครู ก็จะไม่มีโรงเรียน ทุกเรื่องสัมพันธ์กัน ทำอย่างไรให้เด็กเติบโตท่ามกลางโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง เพราะฉะนั้น นักเรียนจะมีชีวิตอยู่ 40 ปีในการทำงาน 
  • เพราะฉะนั้น 4 ปีในมหาวิทยาลัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เน้นในเรื่องของทักษะเพื่อให้นักเรียนเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน เน้นการสะท้อนคิด และบริหารจัดการตัวเองได้ เราต้องเน้นที่คุณภาพของผู้เรียน และครูจะทำได้อย่างไร
  • โลกเปลี่ยนแปลง ครูและการศึกษาต้องเปลี่ยน อะไรบ้างที่เป็นคุณสมบัติของครู เช่น การทำงานวิจัย และการตีพิมพ์ แต่เราไม่เน้นการวิจัย เราทำเพื่อนักเรียน เราต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ และมีทักษะในการสอน บูรณาการผสมผสานความรู้ได้ มีทักษะการโค้ชให้กับนักเรียน
  • ในเนเธอแลนด์เราจะเน้นที่ทักษะในศตวรรษที่ 21 และเน้นทักษะการทำงาน บริษัทต้องการอะไร เพราะฉะนั้นเรามีการคุยกับศิษเก่าว่าเขาต้องการอะไร ทักษะการทำงานที่สำคัญ เพื่อการอยู่รอดในอนาคต 6 ทักษะ คือ 1) ทักษะการคิดแก้ปัญหา 2) ทักษะการทำงานเป็นทีม / ทักษะสังคม 3) ทํกษะความฉลาดรู้เรื่องสื่อและข้อมูล 4) ทักษะการคิดวิเคราะห์ 5) ทักษะการเป็นผู้คิดค้น เริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ 6) ทักษะการเป็นผู้นำตนเอง 
  • การเป็นครูมืออาชีพสำหรับมหาวิทยาลัยของผม คือ 1) การทดสอบความรู้พื้นฐานของครู (BKO) ครูทุกคนต้องผ่าน KKT เพื่อเป็นหลักประกันคุณภาพการสอน  2) คุณครูจะต้องการเข้าร่วมอบรมเพื่อกลับมาทบทวนตัวเองในการสอน เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีวิธีการสอนใหม่ๆ อีกมากมายที่คุณครูสามารถทดลองใช้ได้ และเพื่อกระตุ้นความอยากเรียนรู้ของครู ซึ่งทั้งหมดเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ครูจะต้องรู้ผลว่าแนวทางการสอนที่ดีที่สุดคืออะไร 
  • การสอนในทวีปยุโรปมีการเปลี่ยนแปลงไป คือ 1) เป็นการศึกษาที่เน้นทักษะ 2) เน้นที่ความต้องการของผู้เรียน 3) มีการประเมินให้ผ่าน-ไม่ผ่าน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ว่าการตกเป็นอย่างไร ไม่อย่างนั้นเด็กจะไม่มีการปรับปรุงการเรียนของตนเอง  4) การทำงานกับหน่วยงานนอกมหาวิทยาลัย 5) การเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นสิ่งที่เข้ามาแทนที่การเรียนรู้ในห้องเรีนย 

คำถาม 1) จากที่มีการเปลี่ยนแปลง ทราบว่าเกาหลีมีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้า มีทัศนติอย่างไรเรื่องการประเมินในยุคปัจจุบันกับการใช้วิทยาการ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หรือ ChatGPT มาใช้ในการประเมิน

ตอบ  ความเป็นครูไม่ได้ไปไหน เราต้องปรับปรุงตัวเองของครู เราต้องสามารถใช้สิ่งนี้รวมกับการเรียนการสอนได้ เราต้องปรับให้นักเรียนใช้ประโยชน์ได้ ไม่ใช่ห้ามนักเเรียนใช้ คือ หนึ่งในทักษะใน ศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องของการใช้เครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ 

คำถาม 2) รัฐบาลควรทำอย่างไรเพื่อให้การใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ตอบ เป็นเรื่องการของควบคุมและพัฒนาความรู้ต่างๆ เพราะความรู้อยู่ที่วิทยาการต่างๆ อาจจะยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจน ขอให้ใช้วิทยาการในรูปแบบที่เด็กสามารถใช้เครื่องมือนี้ได้อย่างเหมาะสม 

คำถาม 3) วิทยาการในยุคปัจจุบันจะใช้ประเมินครูได้อย่างไร ?

ตอบ สามารถใช้ได้เลย แทนที่จะพาคนนอกเข้ามา พานักเรียนออกไปข้างนอกเลยจะดีไหม คือ ให้เด็กออกไปเรียนรู้โดยตรงเลย ไปอยู่ในโลกของบริบทนั้นๆเลย 

คำถาม 4) ข้อคิดในเชิงจริยธรรมจะต้องเป็นอย่างไร? 

ตอบ ในกระบวนการประเมิน ครูต้องมีพื้นที่และได้รับการสนับสนุนเพื่อที่จะพัฒนาตนเอง และมองว่าสิ่งที่ครูทำเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เช่นเดียวกับการมองว่าเด็กมีคุณค่า 

คำถาม 5) ความเป็นส่วนตัวกับการแบ่งปันประสบการณ์ของครูเวลาประเมินผล

ตอบ ที่จริงแล้วเป็นประเด็นสำคัญ เราไม่ทำแบบนั้น  แต่ถ้าทำกับครูใหม่ก็เป็นกระบวนการหนึ่ง เพื่อการพิจารณา และใช้เพื่อรับรองวิทยฐานะของครูได้ แต่เมื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินวิชาชีพอาจจะมากไป เพราะฉะนั้นถ้าจะมีกล้อง ต้องมีการตั้งเป้าหมายชัดเจนว่าทำเพื่ออะไร 

5) Mr. Iain William McGilchrist Senior Professional Practice Fellow College of Education, The University of Otago, New Zealand

  • เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ในการช่วยเราทำให้กระบวนการต่างๆ มีความสะดวกง่ายมากขึ้น เช่น google form ต่างๆ ทำให้เรามีความเชื่อมโยงกับเพื่อนๆ ในฐานะที่เราเป็นครูกับนักเรียนและกับเพื่อน 
  • มันเป็นเรื่องความซับซ้อน มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นเต็มไปหมด และช่วยให้เราสอนได้อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น แต่ในเชิงของความซับซ้อน ถ้าเรามองว่าสิ่งต่างๆที่ทำ เช่น เรามี JD เราจะต้องบรรลุระดับของมาตรฐานให้ได้ และอีกส่วนหนึ่ง คือผลลัพธ์ของนักเรียน ดังนั้นเราจึงต้องวัดระดับประสิทธิภาพของครูด้วย 
  • บางครั้งเราต้องดูเกรด และดูความก้าวหน้าของนักเรียนด้วย อย่างหนึ่งเราต้องสำรวจตัวเองว่าเราตั้งคำถามแบบนี้จริงไหม เราจะต้องพิจารณาดูบ่อยครั้งว่าจะต้องทำยังไงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราจะดูได้อย่างไรว่า ก็คือเราจะต้องถามนักเรียน และถามบ่อยๆ อย่างที่ดร.ลีกล่าวว่าเราจะต้องรับฟังผู้ปกครองด้วย เพราะเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพทีเดียว 
  • เพราะฉะนั้นความเลวร้ายของการประเมิน คือ การประเมินครูด้วยกันเอง เพราะความถนัดแต่อย่างของครูมีความแตกต่างกัน เราอาจจะต้องถามนักเรียน เรามีคำถามได้เยอะเลยว่า นักเรียนรู้ได้อย่างไรว่าครูเตรียมการสอนมาอย่างไร นักเรียนได้เรียนรู้อะไร จะเรียนง่ายขึ้นได้อย่างไรบ้าง เช่น ภาษาอังกฤษจะมีแค่กิจกรรมอย่างเดียวไม่พอ จะต้องมีการเช็กความรู้ของนักเรียนด้วย 
  • เรื่องคุณธรรม เราจำเป็นต้องมีความเท่าเทียมกัน และต้องฟังเสียงของนักเรียนด้วย ผมมองว่าในฐานะการประเมินครู เราจะต้องมีการสังเกตการสอนและให้การโต้ตอบกลับ โดยการสร้างการมีส่วนร่วมกับนักเรียน และเพื่อนครู

คำถาม 1) จากที่มีการเปลี่ยนแปลง ทราบว่าเกาหลีมีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้า มีทัศนติอย่างไรเรื่องการประเมินในยุคปัจจุบันกับการใช้วิทยาการ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หรือ ChatGPT มาใช้ในการประเมิน

ตอบ ถ้าเรามีวิทยาการเรามี internet และมีความรู้ และครูก็ไม่ได้หมดบทบาท แต่ครูเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้สอนวิธีการใช้  ผมมีชั้นเรียนที่มีมือถือ 3 เครื่องเพราะเครื่องมือทั้งหมดคือการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หรือวิทยาการต่างๆ เราต้องสอนให้ลูกศิษย์เราใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง 

คำถาม 2) รัฐบาลควรทำอย่างไรเพื่อให้การใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ตอบ อาจจะเป็นกรอบกฎหมาย เราพูดถึงจริยธรรมของการเป็นครูในเชิงวิชาชีพ และมีระดับความรับผิดชอบ คุณค่าหรือค่านิยมพัฒนาให้เหมะสมเรื่องความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบด้วย ประเด็นความรับผิดชอบต่างๆ เพราะฉะนั้นเราต้องบูรณาการไว้ซึ่งจริยธรรม 

คำถาม 3) วิทยาการในยุคปัจจุบันจะใช้ประเมินครูได้อย่างไร ?

ตอบ มีการสร้างโอกาสมากทีเดียว มีการคิดต่อยอดและใคร่ครวญมากขึ้น เราจะผลักตัวเองไปเรื่อยๆ แต่ท้ายที่สุดเราจะไม่มีโอกาสไตร่ตรอง หรือเราอาจจะใช้ google classroom ขึ้นมาก็ได้ มีการประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม เพราะเราเป็นทั้งครูและนักเรียนรู้ด้วย เรากำลังพูดถึงการประเมินผล การใช้ระบบออนไลน์ เราเองก็เป็นผู้เรียนด้วยเช่นกัน 

คำถาม 4) ข้อคิดในเชิงจริยธรรมจะต้องเป็นอย่างไร? 

ตอบ เราต้องสร้างระบบนั้นให้สร้างเสริมสมรรถนะครู เราต้องประเมินอย่างสร้างสรรค์ และให้ครูได้รับผลตอบแทนกลับมา ได้รับสิ่งที่ดี ในการเป็นผู้นำของโรงเรียน ต้องสร้างระบบการประเมินที่ครูเป็นส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ครูเบื่อการประเมิน อยากให้ครูกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมในการประเมิน

คำถาม 5) ความเป็นส่วนตัวกับการแบ่งปันประสบการณ์ของครูเวลาประเมินผล

ตอบ ผมเห็นด้วยว่าการมีกล้องในชั้นเรียนมันเหมือนการแสดงมากกว่าการสอน เราไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง ถ้าเป็นการทบทวนของเพื่อนครู ถามจากนักเรียน อาจจะเป็นจุดเน้นให้ผู้สังเกตได้มากขึ้น 

Q&A 

1.คำแนะนำที่จะมีให้กับผู้นำในการสร้างให้ครูกล้าเสี่ยงเพื่อใช้ข้อมูลเพื่อพัฒนาตัวเองมากขึ้น

ตอบ ในคณะทำงานของเราก็ไม่มีผู้นำชัดเจน ต้องสร้างสภาพการณ์ เรามีความเชื่อมั่น เชื่อถือ ฟังความเห็นซึ่งและกัน เป็นพื้นที่ปลอดภัย

ตอบ การเป็นผู้นำเป็นการสร้างบรรยากาศให้ทดลองสิ่งใหม่ๆ แต่ถ้าเรื่องของการควบคุม มันจะกลายเป็นฝ่ายค้านได้ จึงต้องสร้างความเชื่อมั่น และเชื่อถือต่อกัน 

ตอบ จากอดีตมีการศึกษาใช้ข้อมูล มีโครงสร้างการทำงานที่ดี ครูต้องพัฒนาแนวทางปฏิบัติของตน จริงๆ บริบทอาจจะแตกต่าง บริบทเป็นเรื่องสำคัญ 

2.ผู้นำจะช่วยสร้างเสริมเรื่องการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไร 

ตอบ เราไม่ได้มีโครงการโดยตรง ผู้นำ หรือผู้อำนวยการสถานศึกษา เขาจะต้องต่อยอดในนโยบายและมีโครงการอบรมผู้อำนวยการที่มาจากกระทรวงต่างๆ 

ตอบ ท่านมีความกลัวว่าจะพลาดไป กลัวว่าพลาดในสิ่งที่ดีไป เราต้องยกย่องครูที่ทำดี แต่ไม่ใช่ยกย่องอย่างเดียว แต่พูดถึงการทำงานที่ดีด้วย

ตอบ ผมเริ่มต้นสอนครูในปี 2525 การสอนเป็นความรับผิดชอบของครู เพราะฉะนั้น ผู้บริหารยุคนี้ควรนำการศึกษาไปด้วยกัน ไม่ใช่เรื่องวิธีการสอน แต่เป็นเรื่องการสร้างชุมชนการเรียนรู้ ศาสตร์การศึกษา ให้เป็นผู้นำการเรียนรู้ เรามีการโน้มน้าวใจให้ผู้บริหารทำแบบนี้ 

ตอบ ในญี่ปุ่นมีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ของผู้อำนวยการ มีความสำคัญมาก 

3.เราใช้ข้อมูลจากวิดีทัศน์อย่างไร ในการช่วยครูปรับปรุงการทำงาน และเชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนอย่างไร 

ตอบ เมื่อมีครูกระตือรือร้นในการทำงานมาก เขาอาจจะเข้มงวดกับเด็ก เพราะรักมาก แต่ไม่ได้ตระหนักมาก แต่เมื่อเห็นวิดีทัศน์ครูก็เข้าใจตัวเองมากขึ้น หลังจากที่มีการสอนแบบ Micro teaching แค่ได้ดูวิดีทัศน์ก็มีประโยชน์มากแล้วในการเรียนรู้ / ข้อมูลนี้ไม่เชื่อมโยงกับผลลัพธ์ของนักเรียน 

4.ในประเทศไทยเรามีแพลตฟอร์มDPA การประเมินผลวิทฐานะของครู อยากถามว่าท่านแพลตฟอร์มในประเทศของท่านมีอะไรบ้าง 

ตอบ นิวซีแลนด์มีผลิตภัณฑ์ที่ครูสามารถซื้อได้จากเอกชน เรามีการใช้ระบบของเราในการจัดการเอง เป็นแบบ hyperlink มีคำถามที่ท้าทาย และโยงคำตอบได้ เราไม่ได้มีแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์

ตอบ เราไม่มีดิจิตัลแพลตฟอร์ม แต่ระบบการประเมินผลเราดูว่า ครูจะพัฒนาได้อย่างไร ที่สำคัญคือการที่ครูเห็นการทำงานของตัวเอง

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ภาษาและการสื่อสาร
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
3:00 ชั่วโมง

คิดเป็น เห็นเป็นภาพ เข้าใจง่ายด้วย Visual Note

เบื่อไหม? กับการจดโน้ตแบบเดิมๆ หรือหากคุณอยากลองอะไรใหม่ๆ ที่ช่วยให้จดจำได้แม่นยำ คิดสร้างสรรค์ และสนุกขึ้นหรืออยากจดโ ...

Starfish Labz
Starfish Labz
คิดเป็น เห็นเป็นภาพ เข้าใจง่ายด้วย Visual Note
Starfish Labz

คิดเป็น เห็นเป็นภาพ เข้าใจง่ายด้วย Visual Note

Starfish Labz

ต้องใช้ 100 เหรียญ

ภาษาและการสื่อสาร
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
3:00 ชั่วโมง

ไอเดียการใช้ Visual Thinking กับวัยเรียนและวัยทำงาน

วันทีนและวัยทำงานต้องห้ามพลาด กับการใช้ Visual Thinking เพื่อสร้างความคิดของคุณให้กลายเป็นภาพอย่างสนุกสนาน มาเรียน ...

Starfish Labz
Starfish Labz
ไอเดียการใช้ Visual Thinking กับวัยเรียนและวัยทำงาน
Starfish Labz

ไอเดียการใช้ Visual Thinking กับวัยเรียนและวัยทำงาน

Starfish Labz

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

การพัฒนาทักษะการเขียน

ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การพัฒนาทักษะการเขียน
Starfish Academy

การพัฒนาทักษะการเขียน

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
1011 ผู้เรียน

Related Videos

ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
01:10:44
Starfish Academy

ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA

Starfish Academy
744 views • 1 ปีที่แล้ว
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO
02:33
Starfish Future Labz

10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO

Starfish Future Labz
61497 views • 3 ปีที่แล้ว
10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO
Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย
43:23
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย

Starfish Academy
389 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
01:03:03
Starfish Academy

แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA

Starfish Academy
559 views • 1 ปีที่แล้ว
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA