กิจกรรม Focus Group โครงการ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อลดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟู การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
กิจกรรม Focus Group ภายใต้โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อลดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ด้วยความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างๆ ทั้ง UNICEF กสศ.
มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชฯ สถานศึกษา และองค์กรทางการศึกษาต่างๆ ในจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองของแต่ละสถานศึกษาใน 3 ประเด็น ได้แก่
1) ข้อค้นพบที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาครูในโรงเรียน
2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ติดตาม วัดผลความสำเร็จ ด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาครูในโรงเรียน
3) โรงเรียนใช้ Micro Learning พัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ และสุขภาวะกายจิต อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการดำเนินงาน การพัฒนาและติดตาม เพื่อลดภาวะการถดถอยทางการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
สำหรับประเด็นที่ 1 ข้อค้นพบที่ทำให้ประสบความสำเร็จด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้และพัฒนาครูในโรงเรียน ได้แก่
1) การทำงานเป็นทีมของคณะครู โดยเริ่มจากการวางแผนมาตรการ การฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย 5 องค์ประกอบให้กับผู้เรียน การประเมินสภาพแวดล้อม การวางแผน การสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครู และระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
2) กระบวนการ PLC ในด้านการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
3) งบประมาณ การจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานในด้านต่างๆ
4) การประเมินเพื่อการพัฒนา
5) การนิเทศติดตาม สนับสนุนครูนักเรียน เป็นการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ติดตาม ให้กำลังใจและเสริมแรงให้กับครูผู้สอน
6) ความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งผู้อำนวยการ ครู นักเรียน และภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง
7) การสนับสนุนจากหน่วยงานภายใต้โครงการ ไม่ว่าจะเป็น โค้ช ศึกษานิเทศก์ หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชนต่าง ๆ ในการให้คำปรึกษา แหล่งเรียนรู้ เครื่องมือ
8) การเข้าร่วมโครงการพัฒนาตนเอง (TSQP) กับมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ ในการนำความรู้มาต่อยอดบูรณาการการจัดการเรียนการสอน เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ติดตาม วัดผลความสำเร็จด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้และพัฒนาครูในโรงเรียน หัวใจสำคัญของการประเมินติดตาม คือ ผู้บริหารโรงเรียน และการประเมินที่มุ่งเน้นการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative as Assessment) ทั้งนี้ การประเมินจะสำเร็จได้ต้องประกอบด้วย สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การเสริมศักยภาพครูในการใช้และออกแบบเครื่องมือประเมิน การเข้ามามีส่วนร่วมของเครือข่าย หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมิน ในการพัฒนาเครื่องมือประเมิน และการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูและผู้เชี่ยวชาญ ฉะนั้น เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ติดตาม เช่น แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสำรวจ แบบประเมิน แบบวัดเชิงสถานการณ์ แบบบันทึก หรือการประเมินในรูปแบบแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ การจัดทำเครื่องมือประเมินขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละโรงเรียน
ประเด็นที่ 3 โรงเรียนใช้ Micro Learning พัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ และสุขภาวะกายจิต พบว่า การใช้ Micro Learning สามารถเรียนรู้ได้สะดวกทุกที่ ทุกเวลา อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการสนับสนุนการสอนของครู และพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ตลอดจนสามารถจัดเนื้อหา ความรู้ ให้เหมาะสมกับนักเรียนรายบุคคลได้ โดยเครื่องมือในการเรียนรู้ Micro Learning เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การเรียนรู้จากคลิปวิดีโอ เพลง เกมส์ สื่อโซเซียลมีเดีย เป็นต้น
เห็นได้ว่า การพัฒนาที่ประสบความสำเร็จมาจากการวางแผนที่ดี การได้รับการสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการทำงานร่วมกันเป็นทีม อีกทั้งการติดตามประเมินผลต้องมีการสะท้อนผลกลับ โดยเฉพาะการประเมินรายบุคคลเพื่อให้เห็นพัฒนาการของเด็ก สำหรับเครื่องมือวัดประเมินผลจะต้องมีความชัดเจน เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาและมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการใช้ Micro Learning เป็นตัวช่วยบทเรียนในการพัฒนาครู นักเรียน เพื่อ่ให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น
Related Courses
Micro Learning กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model
กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model เป็นแนวทางสำคัญของครูที่จะช่วยลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรี ...
Micro Learning กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model
การซ่อมแซมของใช้ในชีวิตประจำวัน
อุปกรณ์ของใช้ในบ้านเมื่อใช้ไประยะหนึ่งอาจชำรุดเสียหายได้ ถ้าเรารู้จักวิธีซ่อมแซมจะทำให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกซึ่งเป็นการประหยั ...
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.4-6
การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ดีจากภายในสู่ภายนอก ควรทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...