Self-Care สำหรับคุณครู 5 ไอเดียการพัฒนาตนเองดูแลตัวเองทั้งในและนอกห้องเรียน

นอกเหนือจากการสอนหรือการดูแลตัวเองโดยทั่วไปๆ แล้ว Self-Care หรือการกลับมาดูแลตัวเองในแง่ของสุขภาพจิตใจยังถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญสำหรับคุณครูอย่างปฏิเสธไม่ได้ ทั้งงานสอน งานเอกสาร รวมไปถึงที่บ้าน ครอบครัว คนรัก และการคอยดูแลเด็กๆ การมีกิจวัตร Self-Care ที่ดีช่วยทั้งความสุขส่วนตัวและประสิทธิภาพในการทำงาน
ในบทความนี้ Starfish Labz ขอพาคุณครูมาเรียนรู้ 5 ไอเดีย Self-Care การพัฒนาตนเองแสนสำคัญที่จะช่วยทั้งวันในการสอนและวันหยุดเปลี่ยนไปในพริบตากันค่ะ จะมีไอเดียดีๆ แนวทางใดที่กำลังเป็นที่ต้องการสำหรับคุณครูกันบ้าง มาดูกันเลย
1.ฝึกสร้างขอบเขต
ขอบเขต หรือ Boundary หมายถึงการสร้างพื้นที่ส่วนตัวให้กับตัวเอง รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่เราต้องการ เวลาไหนที่เราทำสิ่งไหนได้ เวลาไหนที่เราทำสิ่งไหนไม่ได้ การมี Boundary ที่ดีต่อสุขภาพจิตใจและการทำงานของเราคือการเรียนรู้ที่จะปฏิเสธ สื่อสารสิ่งที่เราต้องการ สิ่งที่เรารู้สึกสบายใจ รวมถึงไม่สบายใจอย่างเคารพต่อความรู้สึกของกันและกัน
นอกเหนือจากนี้ ขอบเขตยังรวมถึงการไม่นำงานมาทำที่บ้าน หรือมีการแบ่งกิจวัตรการทำงานและการใช้เวลาหลังเลิกงานอย่างชัดเจน เพื่อให้สมองของเราฝึกการหยุดพักอย่างแท้จริง ไม่รู้สึกสับสน วนไปวนมาในขณะที่เราควรทำสิ่งๆ หนึ่งทีละอย่างนั่นเองค่ะ
การมี Boundary ที่ดีถือเป็น Self-Care ลำดับแรกที่สามารถช่วยเปลี่ยนวันยุ่งๆ ของคุณครูเป็นวันที่ผ่อนคลายขึ้นมาได้มาก เช่น ถ้าสมมติว่าเราไม่ว่างจริงๆ หรือรู้สึกเหนื่อยเกินกว่าจะช่วยงานคุณครูท่านอื่นที่มาขอความช่วยเหลือ เราก็สามารถปฏิเสธก่อนได้ เราต้องรู้ว่านี่คือขอบเขตหรือ Boundary ความต้องการของเรา เป็นต้น
2.ให้เวลากับความรู้สึกขอบคุณและความสุขส่วนตัว
การมีนิสัยแห่งความรู้สึกขอบคุณ (Gratitude) หมายถึงการที่เราเข้าใจว่าในแต่ละวันย่อมมีเรื่องดีๆ และไม่ดีปะปนกันไป และในวันที่ไม่ดี ก็ย่อมมีเรื่องดีๆ มากมาย และเราสามารถโฟกัสหรือให้ความสนใจของเราไปที่สิ่งดีๆ เช่นเดียวกัน การมีกิจวัตรโมเมนต์แห่งความรู้สึกขอบคุณสามารถช่วยให้คุณครูรู้สึกดีขึ้นในพริบตา สามารถทำได้ทั้งช่วงเช้าก่อนไปทำงานและช่วงเย็นหลังเลิกงานหรือก่อนนอน เป็นกิจกรรมสะท้อนวันว่าวันนี้มีเรื่องอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้าง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งใหญ่ๆ แต่เป็นสิ่งเล็กๆ ที่มีคุณค่ากับเราก็ถือว่าเป็น Moments of Gratitude เช่นกันค่ะ
นอกเหนือจากช่วงเวลาแห่งความรู้สึกขอบคุณแล้วอย่าลืมใส่ใจกับความสุข (Joy) ของเรา ไม่ว่าจะเล็กๆ น้อยๆ หรือใหญ่ การฟังเพลงช่วงเช้าระหว่างอาบน้ำ ก่อนไปทำงาน สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยให้อารมณ์ของเราดี เป็นการพัฒนาตนเองทั้งในแง่ของการพัฒนาด้านอารมณ์และรวมถึงรูปแบบความคิดอีกด้วย
3.ให้เวลากับความรู้สึกและความต้องการของตัวเอง
คล้ายคลึงกับการมีขอบเขต แต่ในกิจวัตรนี้ หัวใจสำคัญคือการฝึกฟังความรู้สึกและความต้องการของตัวเอง เราสามารถรู้สึกสิ่งต่างๆได้ โกรธ เสียใจ หรือน้อยใจ เมื่อเรามีความรู้สึกเหล่านี้ เราก็เพียงแค่ปล่อยให้ตัวเรารู้สึกออกมา ประมวลผล (processing) เพื่อให้โอกาสความรู้สึกนั้นผ่านพ้นไป
คุณครูหลายๆ ท่านโฟกัสกับเด็กๆ อยากให้เวลาเด็กๆ อย่างเต็มที่แต่ลืมไปว่าในการมีเวลาอย่างมีคุณภาพให้พวกเขา เราต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน ถ้าเรามีความสุข สุขภาพหัวใจดี ความสุขในร่างกายของเราก็จะล้นไปหาคนที่เรารักเองอย่างเป็นธรรมชาติ การทำสิ่งต่างๆ เพื่อคนอื่นไม่กลายเป็นภาระ แต่เป็นสิ่งที่เราอยากทำ เป็นสิ่งที่เราทำแล้วเรารู้สึกดี ยิ่งเป็นงานสอนในระยะยาว การดูแลชั้นเรียนในแต่ละภาคการศึกษาที่กินเวลายาวนาน เรายิ่งต้องแบ่งเวลาให้ตัวเองเป็นลำดับแรก ซึ่งไม่ได้แปลว่าเราเห็นแก่ตัวแต่อย่างใด แต่คือการเข้าใจว่าสิ่งดีๆ จากเราจะเกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่เมื่อเราแข็งแรงและรู้สึกพร้อมจากภายใน
4.เข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่อยู่ภายในการควบคุมของเราและอยู่เหนือการควบคุม
การทำงานเต็มไปด้วยสิ่งต่างๆ มากมายที่เราอาจไม่คาดคิด อีกหนึ่ง Self-Care ที่สำคัญจึงคือฝึกเรียนรู้ว่าเรื่องนี้อยู่ในการควบคุมของเราและเรื่องนี้ไม่อยู่ เราไม่สามารถจัดการได้ สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องกังวลหรือเก็บมาใส่ใจ เพราะต่อให้เราอยากใส่ใจหรืออยากมีส่วนร่วม เราก็ไม่อาจทำได้ เราต้องเรียนรู้ที่จะปล่อยมือจากสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตมือหรือร่างกายของเรา การเรียนรู้ในเรื่องนี้ช่วยลดความกังวล ความเครียด โดยเฉพาะกับการสอนเด็กๆ หลายคนๆ ที่อาจจะมีความต้องการแตกต่างกัน ถ้าเราช่วยเด็กๆ อย่างเต็มที่ที่สุดแล้ว เราอาจต้องปล่อยให้เขาได้ลองเติบโตและเรียนรู้ด้วยตัวเอง และเชื่อว่าเขาจะสามารถจัดการสิ่งต่างๆ ด้วยตัวของเขาเองได้ เราสามารถเป็นได้แค่ผู้คอยให้คำปรึกษาแต่เราไม่สามารถใช้ชีวิตแทนเด็กๆ รวมถึงคนในครอบครัว เพื่อน หรือคนที่เรารักได้
5.สร้างกิจวัตรการดูแลตัวเองตลอดวัน
สำหรับ Self-Care สุดท้ายที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือนอกเหนือจากการมี Self-Care ต่างๆ แล้วอีกหนึ่งเคล็ดลับคือการออกแบบให้ Self-Care ต่างๆ มีอยู่ตลอดวัน จุดเล็กๆ จุดใหญ่ๆ ที่สามารถช่วยให้เรารู้สึกมั่นคง (grounded) รู้สึกดี และมีความสุขในการทำงาน เริ่มตั้งแต่ตอนเช้า ตอนเที่ยง ไปจนถึงหลังเลิกงาน ก่อนนอน
สรุป
การพัฒนาตนเองในแบบฉบับของ Self-Care นอกจากจะช่วยเรื่องการทำงานแล้วยังช่วยฮีลใจของเราทั้งในวันสบายๆ และวันที่เราอาจรู้สึกเครียดได้อย่างดี การมี Self-Care ที่ดีถือเป็นสิ่งที่แสนสำคัญสำหรับคุณครู สำคัญต่อการสอน ต่อชีวิตประจำวันของคุณครูทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
Starfish Labz หวังว่าบทความนี้จะพอช่วยให้คุณครูมองเห็นแนวทางการสร้างกิจวัตร Self-Care ของตัวเองได้บ้าง ส่วนในบทความถัดไป จะมีเคล็ดลับหรือเทคนิคการพัฒนาตนเองสำหรับคุณครูอื่นๆ ใดกันบ้าง อย่าลืมติดตามกันนะคะ
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
เรื่องของสุขภาพจิต “ใครคิดว่าไม่สำคัญ” สุขภาพจิต สุขภาพใจ ในสถานศึกษาทั้งครูและนักเรียนที่ใครก็ไม่ควรมองข้าม

เป็นครูก็เครียดนะ มาลดความเครียดกันเถอะ

รู้จัก Classroom Quiet Zone พื้นที่ฝึกฝนทักษะทางอารมณ์ของเด็กๆ

Related Courses
การดูแลพฤติกรรมเด็กๆ ในห้องเรียน (ประถมศึกษา)
เด็กๆ มีพฤติกรรมที่หลากหลาย มีทั้งพฤติกรรมทางบวกและลบ ดังนั้น “ครู” จึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยพาเด็กๆ ให้เข้าใจตนเอง ว่าเ ...



คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
การสอนภาษาไทยผ่านกระบวนการ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหลากหลายรูปแ ...



เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
Micro Learning ห้องเรียนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (เด็กสมาธิสั้น)
แนวทางการดูแลรักษาเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการมีภาวะสมาธิสั้น ต้องผสมผสานการรักษาหลายวิธี ถ้าเด็กได้รับการดูแลช่วยเหลือที่ถูกต้ ...



Micro Learning ห้องเรียนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (เด็กสมาธิสั้น)
Related Videos


วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA


แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA


ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA

