เรื่องของสุขภาพจิต “ใครคิดว่าไม่สำคัญ” สุขภาพจิต สุขภาพใจ ในสถานศึกษาทั้งครูและนักเรียนที่ใครก็ไม่ควรมองข้าม
สุขภาพจิตเป็นสภาวะทางจิตใจของแต่ละคน โดยธรรมชาติแล้วจะมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม บุคคล และสังคมได้ด้วยดี หากสุขภาพจิตได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ หรือมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ นั่นคือสิ่งที่ควรต้องให้ความใส่ใจ สังเกต และเตรียมพร้อมรับมือ ซึ่งการพูดคุยในครั้งนี้ เป็นการแชร์ประสบการณ์จากเพื่อนครูเกี่ยวกับด้านสุขภาพจิตในสถานศึกษาที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและสร้างพลังการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ
สุขภาพจิต (Mental Health) หมายถึง ภาวะจิตใจที่เป็นสุข สามารถปรับตัวแก้ปัญหา สร้างสรรค์ทำงานได้ มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความมั่นคงทางจิตใจ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์อยู่ในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ ฉะนั้น การที่เราจะมีสุขภาพจิตที่ดีได้ต้องเริ่มต้นจากการรักตัวเอง หรือที่เรียกว่า “Self-Love” เป็นสภาวะที่มองเห็นคุณค่าภายในตนเอง ซึ่งเกิดจากการกระทำที่สนับสนุนการเติบโตทางร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณรวมถึงความตระหนักรู้ภายในตนเอง (Self-Awareness) เป็นการตระหนัก รับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วหรือกำลังเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ ความคิด การรับรู้ทางร่างกาย เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้มองเห็นตัวเองได้ชัดเจน หรือรู้เท่าทันตัวเองมากขึ้น
สุขภาพจิต สุขภาพใจในโรงเรียนที่ไม่ควรมองข้าม
เด็กในวัยเรียนมักจะพบปัญหาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเรียน เช่น ไม่มีสมาธิ ไม่อยากเข้าเรียน เรียนไม่ทัน การเรียนร่วมกับเพื่อนที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ด้านพฤติกรรม เช่น การติดเกม พฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือด้านปัญหาทางอารมณ์ของวัยรุ่น เช่น ซึมเศร้า ก้าวร้าว เป็นต้น ฉะนั้น การรับมือส่งเสริม ป้องกัน และจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตในโรงเรียนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และสามารถทำได้โดยเริ่มต้นจากความเข้าใจ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีการสร้างกำลังใจ และฝึกการจัดการปัญหาให้เด็กตามสมควร อาทิเช่น
1. ด้านการเรียน กรณีเด็กไม่อยากเข้าเรียนหรือเข้าเรียนแล้วไม่สนใจการเรียนในบางรายวิชา ครูอาจจะต้องทำความเข้าใจ สังเกตพฤติกรรมของเด็กที่มีต่อวิชาหรือครูผู้สอน และสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับเด็กมากขึ้น หรือกรณีการเรียนร่วมกับเด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ สิ่งที่โรงเรียนทำได้คือ เมื่อครูประจำวิชาสังเกตเห็นว่าความสนใจของเด็กที่มีต่อการเรียนลดลง ไม่มีสมาธิ จดจ่ออยู่กับมือถือ ส่งผลให้การเรียนรู้ของเด็กไม่มีการพัฒนาเพิ่มเติม ครูผู้สอนอาจจะต้องทำการบันทึกข้อความผ่านงานวิชาการ เพื่อประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการวางแผนปรับพฤติกรรมเด็กต่อไป
2. ด้านพฤติกรรมและอารมณ์ เด็กในช่วงวัยรุ่นมักมีอารมณ์ที่ค่อนข้างอ่อนไหว รุนแรง และเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ทำให้ยังไม่สามารถจัดการกับอารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกมาได้ดีมากนัก เช่น การแสดงพฤติกรรมอย่างหนึ่งเพื่อต้องการกลบเกลื่อนพฤติกรรมบางอย่าง หรือไม่แสดงอาการ (ดื้อเงียบ) หรือการแสดงอารมณ์ก้าวร้าว โมโห เป็นต้น ฉะนั้น ครูอาจจะต้องใส่ใจรายละเอียดเกี่ยวกับเด็กให้มากขึ้น การพูดคุย รับฟังและเข้าใจความรู้สึกของเด็กด้วยวิธีการสื่อสารเชิงบวก (I-Message) เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจ เปิดใจรับฟัง และไม่เกิดการต่อต้านด้วยอารมณ์ ตลอดจนสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ด้วยวิธีการที่ครูบอกความรู้สึกของตนเอง และความต้องการว่าต้องการให้เด็กทำอย่างไร ถามความคิดเห็นของเด็ก และกล่าวขอบคุณหรือคำชมเชยเมื่ออีกฝ่ายทำตาม การให้เด็กมีตัวเลือก (Choice) ในการตัดสินใจการใช้ชุดเครื่องมือส่งเสริมการขับเคลื่อนสุขภาพจิตในสถานศึกษา “การเดินทางบนเกาะปลาวาฬ” หรือแบบวัด แบบประเมินด้านสุขภาพจิต เพื่อช่วยให้เด็กสามารถเข้าใจและจัดการตนเองได้
เห็นได้ว่า เรื่องของสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เด็กที่มีสุขภาพจิตที่ดีย่อมมีจิตใจที่เข้มแข็งและสามารถรับมือกับสถานการณ์ในชีวิตได้
Related Courses
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
เป็นครูยุคใหม่ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี
มาเตรียมความพร้อมกับการเป็นครูในยุคใหม่ ทั้งผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นสายอาชีพครู หรือผู้ที่เป็นครูอยู่แล้วมาร่วมอัปเดตทักษะที่ครูยุคใหม่จะ ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
ต้องใช้ 100 เหรียญ