How to สอนอย่างไรให้นักเรียนค้นพบตัวเองจากห้องเรียนการศึกษานอกระบบ สไตล์ครูฮา
Starfish Labz มานำเสนอเรื่องราวแนวคิดการสอนสำหรับการศึกษานอกระบบ (กศน.) จากการถอดบทสัมภาษณ์ครูฮา หรือนายอัซฮา บูละ คุณครูกศน.ที่ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ ตำบลไม้แก่น จังหวัดปัตตานี สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ มาฝากกันค่ะ
ครูฮาสอนระดับม.ต้น และม.ปลาย ในรายวิชาสามัญ ทักษะการเรียนรู้และทักษะการดำเนินชีวิต Starfish Labz ได้ติดตามเพจ Facebook ของครูฮาที่มีชื่อว่า “กศน. ตำบลไม้แก่น ปัตตานี อัซฮา บูละ” พบว่าในเพจได้ประชาสัมพันธ์ถึงกิจกรรมนอกห้องเรียนต่างๆ ที่ผู้เรียนทั้งได้เรียนและได้ฝึกทักษะอาชีพ ทักษะชีวิตไปพร้อมกัน บรรยากาศดูเป็นห้องเรียนที่ active มากๆ ยกตัวอย่างเช่น ในกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ในภาพปรากฎเป็นผู้เรียนได้สร้างห้องสมุดเคลื่อนที่ (รถโมบาย) โดยนำหนังสือต่างๆ ไปแบ่งปันให้เด็กๆ และคนในชุมชนที่ตลาดได้อ่านกัน ดูเป็นกิจกรรมที่สนุกและได้ความรู้มากเลยค่ะ
ซึ่งห้องเรียนใน Facebook ที่ได้เห็นยังเชื่อมโยงกับแนวคิดของการสร้างห้องเรียนกศน. ให้เป็นห้องเรียนแบบ Active Learning เด็กมีความสุข เป็นเจ้าของการเรียนรู้ และค้นพบตัวเองได้ในแบบฉบับของครูฮาอีกด้วย ดังนี้
- จัดประสบการณ์ให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนกัน ในวันที่ต้องมาพบกลุ่มสัปดาห์ละ 2-3 วัน ผู้เรียนที่มีอายุสูงวัยก็มีเรื่องราวมาแลกเปลี่ยนกับผู้เรียนวัยรุ่น ส่วนวัยรุ่นก็มีเรื่องราวมาแลกเปลี่ยนกับผู้สูงวัย เพื่อทำให้เกิดการยอมรับและเข้าใจกันและกันมากขึ้น
- รับฟังความแตกต่างของแต่ละช่วงวัย
- สร้างห้องเรียนที่ปลอดภัย ไม่มีการบูลลี่กัน เพราะผู้เรียนแต่ละคนมาจากหลายช่วงวัย หลายอาชีพ และส่วนใหญ่ปัญหาของผู้เรียนคือปัญหาการว่างงาน และปัญหาครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ครูผู้สอนจะต้องสร้างบรรยากาศห้องเรียนให้ปลอดภัย โดยที่ทุกคนต้องเคารพเรื่องราวของกันและกัน
- เนื้อหาและวิธีการสอนต้องไม่จำเจ การสอนแบบ Active Learning ให้ผู้เรียนเชื่อมโยงเนื้อหากับการประกอบอาชีพได้ เช่น เชื่อมโยงกับทักษะชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง แปรรูปเหล็ก ขายของออนไลน์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าวิชาที่สอนจะเน้นการฝึกอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้เรียนเป็นหลัก
- ใช้สื่อจากแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นตัวช่วยการเรียนรู้ ครูฮาใช้นวัตกรรม 3R จากแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ Starfish Labz มาช่วยในการเรียนการสอน ดึงความสนใจให้ผู้เรียนชอบการเรียนรู้ ผสมผสานกับการสอนทักษะอาชีพเข้าไปด้วย
- รู้จักและวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล แยกความแตกต่างรายบุคคลเพื่อค้นหาพื้นฐานและดึงศักยภาพของผู้เรียนออกมา เช่น กรณี case study เจอผู้เรียนที่อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น แต่ด้วยความที่ตื่นสาย เพราะใช้สารยาเสพติด ทำให้ไม่สามารถกลับเข้าไปเรียนในระบบได้ แต่เขาสามารถเรียนรู้วิชาการได้ดีและมีทักษะอาชีพที่ดีมาก จึงทำให้สร้างรายได้ด้วยตนเองจากการแปรรูปเหล็กขายที่ตลาดค้าเหล็กมือสอง ซึ่ง case เป็น case ที่ครูภูมิใจว่าเด็กทุกคนมีความสามารถที่แตกต่างกัน เพียงแค่ครูจะต้องช่วยให้เขาค้นหาศักยภาพให้เจอ
- สร้างโค้ชให้เกิดขึ้นภายในห้องเรียน เนื่องจากว่าการเรียนรู้แบบกศน. ผู้เรียนไม่ได้มาเรียนทุกวัน เปลี่ยนกลุ่มเด็กทุกสัปดาห์ จึงเกิดเป็นความท้าทายเพราะว่าจะต้องนับหนึ่งใหม่ตลอด แต่ครูฮาได้สร้างกลุ่มโค้ช (กลุ่มผู้เรียนที่เรียนมาก่อน) เข้ามาช่วยเป็นโค้ชให้กับผู้เรียนที่เข้ามาใหม่ คอยแนะนำ และคอยเป็นที่ปรึกษาต่างๆ
“ผลลัพธ์ของการสอน Active Learning ในห้องเรียนกศน. ช่วยทำให้ผู้เรียนพบเจอศักยภาพของตนเอง และสามารถประกอบอาชีพได้แน่นอน เนื่องจากกศน. เน้นทักษะชีวิต เรียนไปด้วย ทำงานไปด้วย ยิ่งทำให้ผู้เรียนได้เจอตัวเองเร็วยิ่งขึ้น” ครูฮากล่าว
หวังว่าคุณครูที่สอนการศึกษานอกระบบ (กศน.) จะได้รับประโยชน์จากแนวคิดของครูฮา และ Starfish Labz ขอขอบคุณครูฮาที่มาร่วมแบ่งปันไอเดียการสร้างห้องเรียน Active learning ให้นักเรียนค้นพบตัวเองกันนะคะ
Related Courses
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...