วิธีเลี้ยงลูกแบบดูจุดเด่นให้มากกว่าจุดด้อย
เด็กสมัยนี้เกิดมาพร้อมกับสิ่งอำนวจความสะดวกมากมาย ทำให้การใช้ชีวิตของเด็กสมัยก่อนกับสมัยนี้มีคยวามแตกต่างกันอย่างมาก ด้วยสังคมที่เปิดกว้าง พ่อแม่ก็เริ่มเข้าอกเข้าใจและยอมเปิดโอกาสทางการเรียนรู้ให้กับลูกมากขึ้น ทำให้เด็กๆ ในยุคนี้มีความคิดเป็นของตัวเอง กล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงออกมากขึ้นด้วย
ดังนั้นก็เป็นเรื่องที่ดีของคุณพ่อคุณแม่ยุคนี้เลยที่จะส่งเสริมลูกให้ถูกจุด วันนี้ทางผู้เขียนเลยมาบอกวิธีเลี้ยงลูกแบบดูจุดเด่นให้มากกว่าจุดด้อย เพื่อให้ลูกมีการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ จะมีอะไรกันบ้างไปดูกันเลย
การพัฒนาหรือเสริมจุดเด่นของลูกจะช่วยให้เด็กๆ ประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างมีความสุขได้ดีกว่า การที่พ่อแม่เน้นแต่ปัญหาของลูกว่ามีจุดอ่อนอะไรบ้าง เพราะผลลัพธ์อย่างดีที่สุดของการพัฒนาจุดอ่อนของลูกนั้นแค่เพียงช่วยให้เขาดีขึ้นอยู่ในระดับเฉลี่ยเล็กน้อย แต่ถ้าหากพ่อแม่มองจุดเด่นของลูกมากกว่าและส่งเสริมได้อย่างถูกทาง มันก็จะช่วยให้เด็กๆ มีศักยภาพดีและพัฒนาได้อย่างเต็มที่นั้นเอง
ซึ่งนักจิตวิทยาได้แบ่งจุดแข็งของเด็กๆ เป็น 2 ประเภทด้วยกัน นั้นก็คือ
1.จุดแข็งแบบพรสวรรค์หรือความสามารถพิเศษ (Talents)
ซึ่งข้อนี้เป็นเรื่องของการแสดงออกและความสามารถที่โดดเด่นในตัวของเด็กแต่ละคน เช่น พรสวรรค์ด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ และความสามารถในการแก้ปัญหา
2.จุดแข็งแบบคุณลักษณะ (Character)
ส่วนแบบคุณลักษณะนี้จะเป็นเรื่องที่เป็นนามธรรมมากกว่า แต่ก็เป็นส่วนประกอบจากภายในที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพและพฤติกรรมที่สื่อสารออกมา เช่น ความเพียร ความอยากรู้อยากเห็น ความกล้าหาญ อารมณ์ขัน ความเมตตาา และความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะโฟกัสไปที่การพัฒนาพรสวรรค์ของลูกมากกว่า เช่น การร้องเพลง เต้น ศิลปะ คณิตศาสตร์ ซึ่งทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะช่วยเด็กๆ สร้างจุดแข็งทั้งสองอย่างควบคู่กันไปจะดีกว่าค่ะ
แล้วทำยังไงเราถึงจะรู้จุดแข็งของลูกล่ะ ?
แน่นอนค่ะว่าคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะเปิดโอกาสให้เขาได้ทำในสิ่งที่เขาสนใจอย่างเต็มความสามารถ ไม่ขัดขวาง ปิดกั้น แต่จะช่วยยื่นมือหากลูกสนใจในสิ่งที่เขาทำ กล่าวชื่นชมเมื่อเขาทำได้ เพื่อให้เด็กๆ ได้แสดงถึงความสามารถแลเผยบุคลิกภาพออกมา ซึ่งก็มีวิธีง่ายๆ 3 ขึ้นตอนดังนี้
1.ชื่นชมเมื่อเห็นจุดแข็งของลูก
อย่างเช่น “ลูกวาดรูปได้สวยมากเลย แม่ชอบภาพนี้จริงๆ “ เป็นการพูดถึงจุดแข็งของลูก จะทำให้เขาซึมซับและมองตัวเองในด้านที่ดี ไม่ควรที่จะมองข้อด้อยหรือตำหนิในสิ่งที่เขาทำไม่ได้ เพราะผลที่ตามมาคือลูกจะคิดว่าตัวเองเป็นคนไม่ได้เรื่อง ไม่เอาไหน และจะตัดพ้อตัวเองตลอดเวลาหากว่าสิ่งๆ นั้นเขาทำไม่ได้
2.พ่อแม่ต้องสังเกตแบบจริงจัง
วิธีนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องให้ความร่วมมือสักหน่อย คอยสังเกตและจดบันทึกถึงสิ่งที่เราเห็นในตัวลูกในแต่ละวัน แล้วสื่อสารให้ลูกได้รับรู้ว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นคือจุดแข็งของพวกเขา พยามทำให้เขาเห็นว่าลูกก็มีดีและเก่งไม่แพ้ไปกว่าใคร
3.สอนให้ลูกรับรู้จุดแข็งของตัวเองโดยการลิสต์เป็นข้อๆ
คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องช่วยเขาลิสต์จุดแข็งของลูกว่ามีอะไรบ้าง อาจจะลองให้เขาคิดเองก่อน แล้วเขียนใส่กระดาษเป็นข้อๆ แล้วลองให้พวกเขาดึงจุดเด่นจุดแข็งพวกนั้นออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น ดึงความร่าเริงสดใสออกมา ดึงภาวะผู้นำออกมา เป็นต้น การทำเช่นนี้เป็นเหมือนการฝึกฝนให้ลูกตั้งคำถาม ถามตัวเองในเชิงบวกอยู่บ่อยๆ แทนการดูหมิ่นตัวเองหรือในทางลบ จะทำให้ลูกกลายเป็นเด็กๆ ที่อดทนกับสิ่งต่างๆ ที่ยากขึ้นได้อีกด้วย
แต่บางครั้งการที่เลี้ยงลูกแบบมุ่งเสริมจุดเด่นของลูกมากเกินไปนั้นก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ดีเสมอไปนะคะ เช่น การพาลูกไปเรียนเสริม หรือเรียนพิเศษเพื่อสร้างเสริมศักยภาพในจุดเด่นแบบไม่หยุดไม่หย่อน ทำจนเด็กๆ ไม่ได้มีเวลาว่างหรือทำสิ่งที่เขาต้องการ หรือพัฒนาด้านอื่นๆ บ้าง ก็ส่งผลเสียกับเด็กๆ ได้เช่นกัน
เพราะฉะนั้นเองคุณพ่อคุณแม่ต้องมองทุกอย่างอย่างพอดีและตามสภาพความเป็นจริงนะคะ ให้เขาได้ใช้ชีวิตเป็นเด็กอย่างเต็มที่โดยที่เราคอยดูเขาอยู่ห่างๆ คอยช่วยเหลือเมื่อจำเป็น และคอยแนะนำเมื่อลูกต้องการ หรือไม่ชื่นชมลูกจนทำให้เขากลายเป็นเด็กหลงตัวเอง ควรทำทุกอย่างอย่างเป็นกลางตามสภาพความเป็นจริงค่ะ
Related Courses
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...
พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย
บทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ความสำคัญของพัฒนาการ สมรรถนะตามวัย กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เน้นการทำกิจกรร ...
เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี
เด็ก LD คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจช่วยให้ผู้ป่วยพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ได้อย่างเต็ม ...
ฝึกกระบวนการคิด ในห้องเรียนยุคใหม่
การสร้างการเรียนรู้สำหรับครูและผู้ปกครองในการพัฒนากระบวนการคิดให้เกิดขึ้นกับตัวเด็กในระหว่างอยู่ที่โรงเรียนและบ้านเพื่อเพิ่มป ...