เมื่อความรู้สึกคือทุกอย่างทำความรู้จัก Social-Emotional Learning การศึกษาไทยในอนาคต

Starfish Academy
Starfish Academy 2935 views • 1 ปีที่แล้ว
เมื่อความรู้สึกคือทุกอย่างทำความรู้จัก Social-Emotional Learning การศึกษาไทยในอนาคต

ทิศทางารศึกษาไทยในอนาคตยังคงเดินหน้าพัฒนากันไปต่อ และอีกหนึ่งทิศทางการพัฒนาที่ในวันนี้ Starfish Labz อยากชวนคุณครู คุณพ่อคุณแม่ รวมถึงบุคลากรทางการศึกษามาทำความรู้จักกันนั่นก็คือ Social-Emotional Learning (SEL) หรือการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมนั่นเองค่ะ

การให้ความสำคัญกับความรู้สึก อารมณ์ และพัฒนาการทางสังคมของเด็กๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีไม่เพียงแค่ในห้องเรียนแต่ยังรวมถึงที่บ้าน รวมถึงการใช้ชีวิตในแต่ละวันของพวกเขา แต่การเรียนรู้ SEL นี้คืออะไรกัน มีประโยชน์อย่างไรต่อเด็กๆ และถ้าคุณครูหรือคุณพ่อคุณแม่อยากเริ่ม เริ่มอย่างไรได้บ้าง ตาม Starfish Labz มาเรียนรู้กันเลยค่ะ

Social-Emotional Learning (SEL) คืออะไร?

อารมณ์และการพัฒนาทางสังคมเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองในส่วนที่เรียกว่า Executive Function (EF) หรือ กระบวนการที่เด็กๆ สามารถดูแลความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของเขาเอง การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม หรือ SEL กล่าวอย่างเรียบง่ายที่สุดจึงคือกระบวนการที่ช่วยให้เด็กๆ เกิดการพัฒนาทาง Executive Function ที่ดี สามารถเข้าใจและจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ ตั้งเป้าหมายและบรรลุเป้าหมาย มีทักษะในการเข้าใจผู้อื่น มีทักษะในการตัดสินใจ และมีทักษะในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ SEL ในที่นี้ กล่าวอีกนัยนึงจึงเปรียบเสมือนกลุ่มทักษะที่เกี่ยวข้องกับแทบทุกอย่างในการดำเนินชีวิตและการเรียนรู้ของเด็กๆ มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อพัฒนาการในการเรียนรู้ การตัดสินใจ และการเติบโตในทุกๆ ด้านของเขา มาพร้อมกับคุณสมบัติ 5 ประการสำคัญ ได้แก่

1.การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness)

เด็กๆ เข้าใจและระบุได้ว่าความคิดและอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้นคืออะไร ส่งผลต่อพฤติกรรมของเราอย่างไร อะไรคือข้อจำกัดในการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง มีความมั่นใจและสามารถมองโลกในแง่ดี

2.การรู้จักการบริหารจัดการอารมณ์และตนเอง (Self-Management)

เด็กๆ สามารถควบคุมอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของตนเองที่มีต่อสถานการณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงสามารถจัดการความเครียด สามารถควบคุมและจูงใจตนเอง ตลอดจนตั้งเป้าหมาย และลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวของตัวเองได้ โดยมีผู้ใหญ่อยู่ข้างๆ คอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลืออยู่ห่างๆ ให้พื้นที่กับเด็กๆ ในการฝึกดูแลตัวเอง

3.ความเข้าใจต่อผู้อื่นและการตระหนักรู้ทางสังคม (Social Awareness)

เด็กๆ สามารถเข้าใจผู้อื่นที่มีพื้นฐานแตกต่างไปจากตัวเอง รวมไปถึงเข้าใจพฤติกรรมต่างๆ ของผู้อื่นที่เป็นผลมาจากสังคม ค่านิยม และจริยธรรมที่แตกต่างทั้งในมุมที่ดีและในมุมที่อาจจะไม่ดี เพื่อให้เขาเกิดความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ อย่างเป็นองค์รวม เกิดความรู้สึกปลอดภัยและความรู้สึกที่ดีในความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ 

4.ทักษะด้านความสัมพันธ์ (Relationship Skills)

เด็กๆ สามารถสร้างและรักษาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและภายในกลุ่มคนได้ สามารถสื่อสารสิ่งที่เขาต้องการได้อย่างชัดเจน มีทักษะในการร่วมมือกับผู้อื่น ตลอดจนแสดงออกถึงในสิ่งไม่ถูกต้อง มีทักษะในการจัดการการความขัดแย้ง และขอความช่วยเหลือ

5.ทักษะในการตัดสินใจที่ดี (Responsible Decision Making)

เด็กๆ มีทักษะในการตัดสินใจที่ดี มีภาวะความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตัวเอง คำนึงความต้องการของตัวเอง ความรู้สึกของผู้อื่นที่อาจเกี่ยวข้อง รวมถึงจริยธรรม ความปลอดภัย และกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันของสังคม

Social-Emotional Learning (SEL) สำคัญอย่างไรต่อเด็กๆ?

การพัฒนาการศึกษาไทยในอนาคตในบริบทของ SEL ช่วยสร้างทักษะทางอารมณ์และสังคมอย่างเป็นองค์รวมให้กับเด็กๆ ส่งเสริมเรียน และพฤติกรรมเชิงบวกทั้งในและนอกห้องเรียนจากมุมมองทางวิชาการ นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรม SEL มีผลการเรียนโดยรวมเพิ่มขึ้น 11% และยังมีอัตราการเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอกว่าเดิม ในระดับบุคคล ทักษะที่เรียนรู้จากโปรแกรม SEL ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยให้นักเรียนสามารถรับมือกับความเครียดทางอารมณ์ แก้ปัญหา และหลีกเลี่ยงแรงกดดันจากเพื่อนในการทำกิจกรรมที่อาจเป็นอันตราย นอกจากนี้ การมีทักษะ SEL ที่ดียังช่วยให้เด็กๆ เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข รับมือกับสิ่งต่างๆ ได้ดี SEL ถือเป็นฐานที่สำคัญในการเติบโตของเขา การพัฒนาทักษะ SEL ช่วยให้เด็กๆ มีทักษะการใช้ชีวิตที่ดีตั้งแต่อายุยังน้อย สามารถควบคุมตนเอง มีความเห็นอกเห็นใจ และคุณสมบัติเชิงบวกอื่นๆ ซึ่งล้วนเป็น ‘Soft Skills’ สำหรับการทำงานในอนาคตอีกด้วย

เคล็ดลับสำหรับคุณครูและคุณพ่อคุณแม่ อยากเริ่มสร้างทักษะ SEL ให้กับเด็กๆ ควรทำอย่างไร?

การพัฒนาทักษะ SEL อาจฟังดูเหมือนเป็นเรื่องยาก แต่ในความจริงแล้ว ไม่ได้เป็นการพัฒนาที่ยากเกินความสามารถของคุณครูและคุณพ่อคุณแม่เลยค่ะ หัวใจสำคัญคือการค่อยๆ เริ่มเรียนรู้และทำความเข้าใจของคุณพ่อคุณแม่และคุณครูก่อน การค้นคว้าเกี่ยวกับทักษะ SEL และวิธีการเริ่มสอนอย่างง่ายๆ คือสเตปแรก จากนั้นเมื่อเริ่มเข้าใจภาพรวมของการพัฒนาแล้ว ก็วางแผน อยากสอนอย่างไร บ่อยแค่ไหน อยากสอนในรูปแบบใด ในจุดนี้ จะขึ้นอยู่กับความต้องการและแผนการใช้ชีวิตหรือการสอนของคุณครูและคุณพ่อคุณแม่แล้วค่ะ หัวใจสำคัญอีกหนึ่งประการคือการไม่เร่งรัด เร่งรีบ หรือกดดันตัวเองและเด็กๆ จนเกินไป เน้นเป็นการฝึกทีละน้อยแต่ต่อเนื่อง สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเป็นธรรมชาติให้กับเขา

Social-Emotional Learning หรือ SEL ถือเป็นศาสตร์การสอนแนวใหม่และการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้แนวใหม่ที่มีความสำคัญมากทีเดียว เป็นอีกหนึ่งทิศทางการศึกษาไทยในอนาคตที่แม้จะถูกพูดถึงและเน้นให้มีในโรงเรียน แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถฝึกให้กับเด็กๆ ที่บ้านได้เช่นเดียวกัน ยิ่งฝึกให้เด็กๆ ตั้งแต่เล็กๆ ก็ยิ่งช่วยให้เขามีพื้นฐานทางสังคมและอารมณ์ที่ดี มีสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง พร้อมต่อการใช้ชีวิต และการดูแลตัวเขาเองในอนาคตนั่นเองค่ะ

อ้างอิง:

●      What is Social Emotional Learning (SEL): Why It Matters | NU

●      ทักษะทางสังคมและอารมณ์ในเด็ก โดย พญ. นภัทร สิทธาโนมัย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

Technology Skills
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
Starfish Academy

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

Starfish Academy
1889 ผู้เรียน
EdTech
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:30 ชั่วโมง

เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse

Google Arts & Culture แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงผลงานศิลปะและวัฒนธรรมจากพิพิธภัณฑ์และสถา ...

Google for Education Partner
Google for Education Partner
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
Google for Education Partner

เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse

Google for Education Partner

ต้องใช้ 100 เหรียญ

การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอการเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยา ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
Starfish Academy

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

Starfish Academy
1517 ผู้เรียน
EdTech
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
3:00 ชั่วโมง

เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้

หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...

แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์
แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์

เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้

แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO
02:33
Starfish Future Labz

10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO

Starfish Future Labz
66701 views • 3 ปีที่แล้ว
10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
13131 views • 3 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
86 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร
31:53
Starfish Academy

ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร

Starfish Academy
933 views • 2 ปีที่แล้ว
ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร