15 เครื่องมือส่งเสริมพัฒนาทักษะการคิด Thinking Tool
ทักษะการคิด เป็นทักษะที่สำคัญและสามารถขยายความหมายของคำว่า ‘ความคิด’ ได้หลากหลายแบบ ดังที่ CBE Thailand ได้กำหนด 6 สมรรถนะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ไว้ โดย หนึ่งในหกสมรรถนะนั้นคือ สมรรถนะการคิดขั้นสูง และได้แบ่งองค์ประกอบของการคิดออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) 2. การคิดเชิงระบบ (System Thinking) 3. การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) 4. การคิดแก้ปัญหา (Problem Solving Thinking) เมื่อคุณครูรู้จักประเภทของการคิดแล้ว ต่อมาในบทความนี้ จะนำเสนอ 15 เครื่องมือพัฒนาทักษะการคิดโดยภาพรวม ซึ่งคุณครูสามารถเลือก และนำไปปรับใช้กับเป้าหมายในชั้นเรียนว่า คุณครูอยากที่จะพัฒนาให้เด็กๆ เกิดสมรรถนะความคิดประเภทใด ดังนี้
- Empathy map : เป็นเวิร์กชีตที่ใช้ในการสัมภาษณ์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ ปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นของลูกค้าจากมุมมองของลูกค้าเอง หากคุณครูนำมาปรับใช้กับนักเรียน Empathy map นี้จะช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการคิดสร้างสรรค์ เมื่อนักเรียนจะต้องทำโปรเจกต์นำเสนอผลิตภัณฑ์ หรือสร้างนวัตกรรมขึ้นมา
- Feedback Grid : เป็นเครื่องมือสะท้อนผล ได้แก่ คำติชมต่างๆ เพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ไม่ชอบ สิ่งที่ได้เรียนรู้ หรือสิ่งใหม่ๆ ที่อยากจะเสนอในครั้งต่อไป โดยคุณครูสามารถเปลี่ยนหัวข้อในตาราง Feedback Grid ได้ตามเนื้อหาที่สอน
- Journey Map : เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณครูวางแผนประสบการณ์การเรียนรู้ของนักเรียนได้ โดยที่นักเรียนจะรู้รายละเอียดของเส้นทางการเรียนรู้ทั้งหมด อีกทั้งหากนักเรียนใช้เครื่องมือนี้ นักเรียนก็จะได้ฝึกทักษะการออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ของตัวเอง หรือหากต้องทำโปรเจกต์ นักเรียนจะได้ฝึกวางแผนเส้นทางการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย
- Impact / Effort Matrix : เป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดระบบความคิดให้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งช่วยให้เราเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อยอย่างเป็นระบบ
- Impact/ Power Matrix : จะคล้ายกับเครื่องมือข้อที่ 4 แต่แตกต่างกันที่หัวข้อ เครื่องมือนี้จะเป็นเครื่องมือจัดระบบความคิด และช่วยให้เราแบ่งกลุ่มเป้าหมาย หรือบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของเรา เรียงลำดับจากมากที่สุดไปยังน้อยที่สุด จะช่วยให้คุณครูเห็นภาพรวมต่างๆ ของห้องเรียนได้มากขึ้น
- Miro (Virtual Visual Collaboration Tool) : เป็น Platform ที่จะช่วยให้ทุกคนเข้าไปแชร์ไอเดีย และมีส่วนร่วมในการกิจกรรมการเรียนรู้ได้ ห้องเรียนของคุณครูจะ Active ขึ้นเมื่อคุณครูลองใช้ Miro ในการเรียนรู้
- Canva : เครื่องมือสำหรับการดีไซน์ และการนำเสนอต่างๆ อย่างทันสมัย คุณครูสามารถมอบหมายงานออกแบบดีไซน์หลายๆ อย่าง โดยการให้นักเรียนเลือกรูปแบบการนำเสนอในสไตล์ของตัวเองได้
- SurveyMonkey : เป็นเครื่องมือสร้างแบบสำรวจความพึงพอใจสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนมากๆ คุณครูสามารถให้นักเรียนใช้ SurveyMonkey เพื่อออกแบบคำถามในการสำรวจความพึงพอใจและฝึกการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลที่มากมาย พร้อมทั้งนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสม
- Typeform : เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือเพื่อสร้างแบบสำรวจที่ซับซ้อนและดึงดูดสายตา
- Post-it Notes : อย่าประมาทกระดาษ Post it เชียว กระดาษ Post it เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างการมีส่วนร่วมในห้องเรียน เป็นกลยุทธ์สำคัญสำหรับการแชร์ไอเดีย คุณครูอาจจะเริ่มต้นโดยการให้นักเรียนเขียนไอเดียเพียงไอเดียเดียวต่อ 1 post it จากนั้นจึงรวบรวมและแบ่งปันกันเป็นกลุ่ม นอกจากนี้คุณครูยังสามารถใช้ Post-it เพื่อสร้างปฏิทิน และมอบหมายงานได้อีกด้วย
- Sharpies : เป็นวิธีการเขียนไอเดียบนกระดาษโน๊ตต่างๆ แล้วแปะไว้ที่สมุด หนังสือ กำแพง หรือผนังห้องเรียน เป็นต้น การเขียนนี้จะช่วยให้เราจดจำ หรือช่วยให้เราตัดสินใจได้เฉียบคมขึ้น วิธีการคือควรเขียนไม่ควรเกิน 3-5 คำ ต่อกระดาษ 1 แผ่น เพื่อให้แนวคิดที่เราได้กระชับมากยิ่งขึ้น
- Dot Stickers : เป็นกระดาษสติ๊กเกอร์ใช้เพื่อโหวตความเป็นไปได้เมื่อคุณครูให้นักเรียนต้องตัดสินใจเป็นกลุ่ม หลังจากให้สติ๊กเกอร์ดอท (ควรแจกให้นักเรียนไม่เกิน 3 ชิ้น/คน) เพื่อใช้เป็นคะแนนให้ทุกคนโหวตตัวเลือกที่ชื่นชอบ เครื่องมือนี้จะช่วยให้เสียง หรือความคิดเห็นของนักเรียนทุกคนมีความหมาย
- Prototyping Kit : เป็นเครื่องมือที่จะทำมาจากวัสดุอะไรก็ได้ เช่น ไม้ไอติม กระดาษแข็ง สติ๊กเกอร์ หรืออุปกรณ์งานฝีมือเบ็ดเตล็ด เป็นต้น เป้าหมายของเครื่องมือคือ เพื่อใช้สร้างชุดต้นแบบความคิดให้ออกมาอย่างเร็วที่สุด เพื่อจะได้นำไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมายและรับฟีดแบคกลับมาเพื่อนำมาปรับปรุงผลงาน คุณครูสามารถให้นักเรียนออกแบบ Prototype ในโปรเจกต์ต่างๆ ของตัวเองได้
- Notebook : สมุดบันทึกที่นักเรียนสามารถใช้จดบันทึก วาดเส้น วาดไดอะแกรม และร่างต้นแบบหรือ สร้างตัวอักษรของตัวเองได้ เพราะการที่นักเรียนมีสมุดเป็นของตัวเอง มันคือพื้นที่ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างดีทีเดียว
- Design Thinking Deck : เป็นการ์ดที่ช่วยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายให้แก่ผู้เรียน
นี่คือ 15 เครื่องมือส่งเสริมทักษะการคิด คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ในห้องเรียนของตนเองพร้อมทั้งในเว็บไซต์อ้างอิงคุณครูสามารถดาวน์โหลด template เครื่องมือต่างๆ ไปใช้ได้อีกด้วย (บางอันฟรี) และนอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือใน www.starfishlabz.com ที่จะช่วยให้คุณครูพัฒนาทักษะความคิดของนักเรียนได้อีกมากมาย เช่น
- คอร์สฝึกกระบวนการคิด ในห้องเรียนยุคใหม่ https://shorturl.at/cgsKW
- คอร์สการคิดและการตัดสินใจ https://shorturl.at/dlwM0
- บทความการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้แก่เด็ก https://shorturl.at/luAQZ
อ้างอิง
15 Free or Nearly Free Design Thinking Tools : https://overlapassociates.com/ideas/free-or-nearly-free-design-thinking-tools/
บทความใกล้เคียง
Starfish Future Labz แนะแนวทักษะชีวิต 5 เคล็ดลับ ช่วยลูกพัฒนาสมาธิ พร้อมจดจ่อในทุกสถานการณ์
5 เคล็ดลับ การพัฒนาทักษะเด็กออทิสติก ทั้งทางร่างกายสู่ทางปัญญา
Teachers Hero’s Journey เส้นทางครูฮีโร่ ในยุค new normal
Related Courses
เป็นครูยุคใหม่ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี
มาเตรียมความพร้อมกับการเป็นครูในยุคใหม่ ทั้งผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นสายอาชีพครู หรือผู้ที่เป็นครูอยู่แล้วมาร่วมอัปเดตทักษะที่ครูยุคใหม่จะ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
ต้องใช้ 100 เหรียญ
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ