15 เครื่องมือส่งเสริมพัฒนาทักษะการคิด Thinking Tool
ทักษะการคิด เป็นทักษะที่สำคัญและสามารถขยายความหมายของคำว่า ‘ความคิด’ ได้หลากหลายแบบ ดังที่ CBE Thailand ได้กำหนด 6 สมรรถนะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ไว้ โดย หนึ่งในหกสมรรถนะนั้นคือ สมรรถนะการคิดขั้นสูง และได้แบ่งองค์ประกอบของการคิดออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) 2. การคิดเชิงระบบ (System Thinking) 3. การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) 4. การคิดแก้ปัญหา (Problem Solving Thinking) เมื่อคุณครูรู้จักประเภทของการคิดแล้ว ต่อมาในบทความนี้ จะนำเสนอ 15 เครื่องมือพัฒนาทักษะการคิดโดยภาพรวม ซึ่งคุณครูสามารถเลือก และนำไปปรับใช้กับเป้าหมายในชั้นเรียนว่า คุณครูอยากที่จะพัฒนาให้เด็กๆ เกิดสมรรถนะความคิดประเภทใด ดังนี้
- Empathy map : เป็นเวิร์กชีตที่ใช้ในการสัมภาษณ์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ ปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นของลูกค้าจากมุมมองของลูกค้าเอง หากคุณครูนำมาปรับใช้กับนักเรียน Empathy map นี้จะช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการคิดสร้างสรรค์ เมื่อนักเรียนจะต้องทำโปรเจกต์นำเสนอผลิตภัณฑ์ หรือสร้างนวัตกรรมขึ้นมา
- Feedback Grid : เป็นเครื่องมือสะท้อนผล ได้แก่ คำติชมต่างๆ เพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ไม่ชอบ สิ่งที่ได้เรียนรู้ หรือสิ่งใหม่ๆ ที่อยากจะเสนอในครั้งต่อไป โดยคุณครูสามารถเปลี่ยนหัวข้อในตาราง Feedback Grid ได้ตามเนื้อหาที่สอน
- Journey Map : เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณครูวางแผนประสบการณ์การเรียนรู้ของนักเรียนได้ โดยที่นักเรียนจะรู้รายละเอียดของเส้นทางการเรียนรู้ทั้งหมด อีกทั้งหากนักเรียนใช้เครื่องมือนี้ นักเรียนก็จะได้ฝึกทักษะการออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ของตัวเอง หรือหากต้องทำโปรเจกต์ นักเรียนจะได้ฝึกวางแผนเส้นทางการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย
- Impact / Effort Matrix : เป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดระบบความคิดให้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งช่วยให้เราเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อยอย่างเป็นระบบ
- Impact/ Power Matrix : จะคล้ายกับเครื่องมือข้อที่ 4 แต่แตกต่างกันที่หัวข้อ เครื่องมือนี้จะเป็นเครื่องมือจัดระบบความคิด และช่วยให้เราแบ่งกลุ่มเป้าหมาย หรือบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของเรา เรียงลำดับจากมากที่สุดไปยังน้อยที่สุด จะช่วยให้คุณครูเห็นภาพรวมต่างๆ ของห้องเรียนได้มากขึ้น
- Miro (Virtual Visual Collaboration Tool) : เป็น Platform ที่จะช่วยให้ทุกคนเข้าไปแชร์ไอเดีย และมีส่วนร่วมในการกิจกรรมการเรียนรู้ได้ ห้องเรียนของคุณครูจะ Active ขึ้นเมื่อคุณครูลองใช้ Miro ในการเรียนรู้
- Canva : เครื่องมือสำหรับการดีไซน์ และการนำเสนอต่างๆ อย่างทันสมัย คุณครูสามารถมอบหมายงานออกแบบดีไซน์หลายๆ อย่าง โดยการให้นักเรียนเลือกรูปแบบการนำเสนอในสไตล์ของตัวเองได้
- SurveyMonkey : เป็นเครื่องมือสร้างแบบสำรวจความพึงพอใจสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนมากๆ คุณครูสามารถให้นักเรียนใช้ SurveyMonkey เพื่อออกแบบคำถามในการสำรวจความพึงพอใจและฝึกการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลที่มากมาย พร้อมทั้งนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสม
- Typeform : เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือเพื่อสร้างแบบสำรวจที่ซับซ้อนและดึงดูดสายตา
- Post-it Notes : อย่าประมาทกระดาษ Post it เชียว กระดาษ Post it เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างการมีส่วนร่วมในห้องเรียน เป็นกลยุทธ์สำคัญสำหรับการแชร์ไอเดีย คุณครูอาจจะเริ่มต้นโดยการให้นักเรียนเขียนไอเดียเพียงไอเดียเดียวต่อ 1 post it จากนั้นจึงรวบรวมและแบ่งปันกันเป็นกลุ่ม นอกจากนี้คุณครูยังสามารถใช้ Post-it เพื่อสร้างปฏิทิน และมอบหมายงานได้อีกด้วย
- Sharpies : เป็นวิธีการเขียนไอเดียบนกระดาษโน๊ตต่างๆ แล้วแปะไว้ที่สมุด หนังสือ กำแพง หรือผนังห้องเรียน เป็นต้น การเขียนนี้จะช่วยให้เราจดจำ หรือช่วยให้เราตัดสินใจได้เฉียบคมขึ้น วิธีการคือควรเขียนไม่ควรเกิน 3-5 คำ ต่อกระดาษ 1 แผ่น เพื่อให้แนวคิดที่เราได้กระชับมากยิ่งขึ้น
- Dot Stickers : เป็นกระดาษสติ๊กเกอร์ใช้เพื่อโหวตความเป็นไปได้เมื่อคุณครูให้นักเรียนต้องตัดสินใจเป็นกลุ่ม หลังจากให้สติ๊กเกอร์ดอท (ควรแจกให้นักเรียนไม่เกิน 3 ชิ้น/คน) เพื่อใช้เป็นคะแนนให้ทุกคนโหวตตัวเลือกที่ชื่นชอบ เครื่องมือนี้จะช่วยให้เสียง หรือความคิดเห็นของนักเรียนทุกคนมีความหมาย
- Prototyping Kit : เป็นเครื่องมือที่จะทำมาจากวัสดุอะไรก็ได้ เช่น ไม้ไอติม กระดาษแข็ง สติ๊กเกอร์ หรืออุปกรณ์งานฝีมือเบ็ดเตล็ด เป็นต้น เป้าหมายของเครื่องมือคือ เพื่อใช้สร้างชุดต้นแบบความคิดให้ออกมาอย่างเร็วที่สุด เพื่อจะได้นำไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมายและรับฟีดแบคกลับมาเพื่อนำมาปรับปรุงผลงาน คุณครูสามารถให้นักเรียนออกแบบ Prototype ในโปรเจกต์ต่างๆ ของตัวเองได้
- Notebook : สมุดบันทึกที่นักเรียนสามารถใช้จดบันทึก วาดเส้น วาดไดอะแกรม และร่างต้นแบบหรือ สร้างตัวอักษรของตัวเองได้ เพราะการที่นักเรียนมีสมุดเป็นของตัวเอง มันคือพื้นที่ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างดีทีเดียว
- Design Thinking Deck : เป็นการ์ดที่ช่วยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายให้แก่ผู้เรียน
นี่คือ 15 เครื่องมือส่งเสริมทักษะการคิด คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ในห้องเรียนของตนเองพร้อมทั้งในเว็บไซต์อ้างอิงคุณครูสามารถดาวน์โหลด template เครื่องมือต่างๆ ไปใช้ได้อีกด้วย (บางอันฟรี) และนอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือใน www.starfishlabz.com ที่จะช่วยให้คุณครูพัฒนาทักษะความคิดของนักเรียนได้อีกมากมาย เช่น
- คอร์สฝึกกระบวนการคิด ในห้องเรียนยุคใหม่ https://shorturl.at/cgsKW
- คอร์สการคิดและการตัดสินใจ https://shorturl.at/dlwM0
- บทความการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้แก่เด็ก https://shorturl.at/luAQZ
อ้างอิง
15 Free or Nearly Free Design Thinking Tools : https://overlapassociates.com/ideas/free-or-nearly-free-design-thinking-tools/
บทความใกล้เคียง
Starfish Future Labz แนะแนวทักษะชีวิต 5 เคล็ดลับ ช่วยลูกพัฒนาสมาธิ พร้อมจดจ่อในทุกสถานการณ์
5 เคล็ดลับ การพัฒนาทักษะเด็กออทิสติก ทั้งทางร่างกายสู่ทางปัญญา
Teachers Hero’s Journey เส้นทางครูฮีโร่ ในยุค new normal
Related Courses
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.4-6
การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ดีจากภายในสู่ภายนอก ควรทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ
Micro Learning เครื่องมือช่วยจัดการเรียนรู้ทางไกล
การเลือกครื่องมือช่วยจัดการเรียนรู้ทางไกลมีความสำคัญเพราะเป็นช่องทางที่จะนำความรู้ไปสู่นักเรียน จะมีเครื่องมือไหนบ้างที่เหมาะส ...
ฝึกกระบวนการคิด ในห้องเรียนยุคใหม่
การสร้างการเรียนรู้สำหรับครูและผู้ปกครองในการพัฒนากระบวนการคิดให้เกิดขึ้นกับตัวเด็กในระหว่างอยู่ที่โรงเรียนและบ้านเพื่อเพิ่มป ...
การซ่อมแซมของใช้ในชีวิตประจำวัน
อุปกรณ์ของใช้ในบ้านเมื่อใช้ไประยะหนึ่งอาจชำรุดเสียหายได้ ถ้าเรารู้จักวิธีซ่อมแซมจะทำให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกซึ่งเป็นการประหยั ...