Numeracy คืออะไร? ทำความรู้จักทักษะอาชีพที่สำคัญของสายนักวิเคราะห์
หากพูดถึงทักษะอาชีพที่มีความสำคัญในปัจจุบันกันแล้วหลายๆ คนอาจนึกถึงเรื่องของเทคโนโลยี, AI หรือ Coding ต่างๆ แต่รู้ไหมคะอีกหนึ่งทักษะอาชีพที่ถือว่ากำลังมีความสำคัญและมาแรงไม่แพ้กันก็คือทักษะที่เรียกว่า Numeracy หรือการคิดคำนวณนั่นเอง
ทักษะ Numeracy คือหัวใจของสายอาชีพที่กำลังมาแรงอย่างมากคือนักวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับใครที่อยากเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูล สนใจเรื่อง Big Data ต่างๆ การมีทักษะ Numeracy ถือว่าเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญเลยทีเดียวค่ะ
ทักษะ Numeracy ที่ว่านี้คืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อนักวิเคราะห์ข้อมูล? แล้วถ้าอยากพัฒนาทักษะนี้ เริ่มอย่างไรได้บ้าง?
มาเรียนรู้ร่วมกันกับ Starfish Labz ในบทความนี้กันเลยค่ะ
ทักษะ Numeracy คืออะไร?
ทักษะ Numeracy หรือทักษะการคิดคำนวณ กล่าวอย่างง่ายที่สุดแล้วก็คือทักษะหรือความสามารถของคนๆ หนึ่งในการเข้าใจตีความและข้อมูลเชิงตัวเลขหรือคณิตศาสตร์ ออกมาเป็นบทสรุป ความเห็น คำแนะนำหรือทางออกที่เข้าใจง่ายต่อโจทย์ปัญหาจริงๆ หนึ่งๆ ที่บริษัทหรือทีมต้องการคำตอบนั่นเองค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นโจทย์ปัญหาเชิงการตลาด, การเงิน, หรือเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ ในกระบวนการผลิตสิ่งหนึ่งๆ หรือในการทำงาน ทุกสิ่งทุกอย่างที่หมุนรอบกระบวนการทำงานอยู่นอกเหนือจากปัจจัยอื่นๆ แล้วก็คือตัวเลข คือจำนวน คือข้อมูลทางคณิตศาสตร์ที่มีเพียงแค่บุคลากรที่มีทักษะ Numeracy จะสามารถอ่าน ตีความ และนำเสนอบทสรุปออกมาให้กับเพื่อนร่วมงานของเขาได้
ทักษะ Numeracy ในเชิงปฏิบัติแล้วก็คือทักษะในการทำงานกับตัวเลข มีการใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์โดยทั่วไปอย่างการบวก, ลบ, คูณ, หารร่วมด้วย รวถึงข้อมูลในระดับ Advanced อย่างข้อมูลเชิงกราฟิกหรือสถิติ
กล่าวโดยสรุปอย่างง่ายๆ แล้วก็คือเป็นการใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์ต่างๆ มาประมวลข้อมูลในรูปของตัวเลข จากวิธีการเก็บข้อมูล อาทิ การสำรวจ, การวิจัย, แบบสอบถาม ฯลฯ ให้เป็น ข้อมูลในรูปบทสรุปที่เกิดคุณค่า เป็นประโยชน์ต่อการทำงานนั่นเองค่ะ
ตัวอย่างการมีและใช้ทักษะ Numeracy ในที่ทำงาน เช่น
- ความสามารถและความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
- ความสามารถในการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลข
- ความสามารถในการตีความข้อมูลทางคณิตศาสตร์
- ความสามารถในตีความข้อมูลออกมาให้เห็นภาพได้หรือในเชิงวิชวล
- ·ความสามารถในการคำนวณและวิเคราะห์
- ความสามารถในการนำเสนอบทสรุปจากการตีความข้อมูลต่างๆ ออกมาได้อย่างเข้าใจง่าย เกิดประสิทธิภาพ ตรงตามเป้าหมายในการเก็บข้อมูลดังกล่าว
นักวิเคราะห์สายไหนที่ใช่เรา? สำรวจ 5 อาชีพที่ใช้ทักษะ Numeracy
หลายคนเข้าใจว่าสายอาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูลมีแค่ Data Analysist เฉยๆ แต่ความเป็นจริงแล้ว สายอาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูลมีสายที่แยกย่อย มีความสนใจและความถนัดที่แตกต่างกันไปอีกมาดู 5 อาชีพตัวอย่างของชาวนักวิเคราะห์ที่ใช้ทักษะ Numeracy กันเลยค่ะ
1. นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst)
Data Analyst หรือ นักวิเคราะห์ข้อมูล ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ให้เกิดข้อมูลธุรกิจเชิงลึก เกิดความเข้าใจที่สามารถนำมาต่อยอดในการทำงาน ตรงตามโจทย์การทำงานหรือโจทย์ธุรกิจหนึ่งๆ ที่บริษัทหรือลูกค้าต้องการ
2.นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)
Data Scientist หรือ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล มีทักษะ ความสามารถในวิเคราะห์ข้อมูลได้เหมือนกับ Data Analyst แต่มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นมาอีกนิดคือการนำข้อมูลดังกล่าวมาพัฒนาเป็นทางออก, โมเดล, หรือเครื่องมือที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจได้ด้วย เพื่อช่วยในการตัดสินใจ การวางกลยุทธ์ และการทำงานในด้านต่างๆ ขององค์กร
3.นักวางแผน/วิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Planner / Analyst)
ชื่อแน่นอนอยู่แล้วว่าบอกถึงเรื่องราวของตัวเลขแน่ๆ และหัวใจสำคัญของนักวางแผน/วิเคราะห์ทางการเงินก็คือความสามารถในการคำนวณ ตีความ วิเคราะห์และวางแผนทางการเงินออกมาให้ได้อย่างดีนั่นเองค่ะ ใครที่อาจจะไม่ได้ชอบสายข้อมูลเชิงธุรกิจโดยตรง ชอบเรื่องราวทางการเงิน ต้องลองสายวางแผน/วิเคราะห์ทางการเงินเลยค่ะ
4.นักวิจัยทางการตลาด (Market Researcher)
การตลาดที่เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ นอกเหนือจากแคมเปญเชิงสร้างสรรค์ต่างๆ อีกหนึ่งหัวใจสำคัญก็คือการนำเอาข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากการสำรวจ การทำวิจัย การทำแบบสอบถาม หรือการสัมภาษณ์ หัวใจของนักวิจัยทางการตลาดคือการเก็บข้อมูลและนำข้อมูลดังกล่าวมาตีความให้เกิดประโยชน์ ซึ่งแน่นอนว่าหนึ่งในข้อมูลดังกล่าวก็คือข้อมูลในรูปของตัวเลข
5.นักเศรษฐศาสตร์ (Economist)
อาจฟังดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญในงานของนักเศรษฐศาสตร์ก็คือเรื่องราวของตัวเลข อาทิ อัตราดอกเบี้ย, อัตราการแลกเปลี่ยน, อัตราการจ้างงาน, อัตราเงินเฟ้อ ฯลฯ ที่ล้วนแต่ต้องอาศัยทักษะ Numeracy การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การอ่านและการตีความต่างๆ
3 เคล็ดไม่ลับ เริ่มต้นฝึกทักษะ Numeracy
1. กำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้
เราอยากเรียนเพราะชอบในสายงานที่ต่อยอดได้หรืออยากเรียนเพราะความชอบส่วนตัว อยากนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันเฉยๆ การกำหนดเป้าหมาย จุดประสงค์ของการเรียนรู้ทักษะก่อนช่วยไม่เพียงให้เรามองเห็นภาพรวมการเรียนรู้ของเรา แต่ยังช่วยให้เรามองเห็นถึงแรงจูงใจของเราอย่างชัดเจน เข้าใจว่าอยากเรียนไปทำไม เราอยากเรียนจริงๆ ไหม เราอยากทำงานในสายนี้จริงๆ หรือเปล่า
2. ทำความเข้าใจคอนเซปต์ของ Numeracy ให้ได้อย่างชัดเจนและแจ่มแจ้ง
การจะตัดสินใจว่าเราอยากใช้เวลากับทักษะหนึ่งๆ อย่างจริงๆ จังๆ หรือไปตลอดหรือเปล่า หนึ่งเคล็ดลับก็คือการทำความเข้าใจเจ้าคอนเซปต์ แนวคิด คุณประโยชน์ และสายอาชีพดังกล่าวนั้นที่มากับทักษะให้ได้อย่างแจ่มแจ้งและชัดเจนนั่นเองค่ะ ก่อนตัดสินใจ Starfish Labz แนะนำการค้นคว้า สอบถาม และสำรวจความเข้าใจของตัวเองอย่างครอบคลุม เพื่อให้เราแน่ใจว่าเราเข้าใจเจ้าสิ่งหนึ่งจริงๆ อย่างคร่าวๆ แล้ว เข้าใจทิศทาง เข้าใจธรรมชาติในการทำงานกับทักษะนี้ เพื่อให้เราตัดสินใจได้ว่าเราอยากลองดูกับทักษะอาชีพนี้กับสายอาชีพนี้จริงๆ ไหม
3.เลือกช่องทางการเรียนรู้ที่ใช่
ใครว่าการรู้เรื่องจำนวนต้องจำกัดอยู่แค่ที่โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเสมอไป ปัจจุบันมีคอร์สสอนทักษะอาชีพ Numeracy มากมายที่ไม่ว่าจะเป็นเด็กๆ คุณครู หรือบุคคลทั่วไปก็สามารถเรียนรู้ได้
พิจารณาเวลา ความต้องการ และจุดประสงค์ในการเรียนของเราให้ได้อย่างแจ่มแจ้ง แล้วเลือกช่องทางที่ใช่ ไม่นาน Starfish Labz เชื่อว่าทักษะอาชีพ Numeracy ของทุกๆ คนจะต้องเพิ่มพูนและผลิดอกออกผล เกิดเป็นการต่อยอดไม่ว่าจะในสายงานหรือในชีวิตส่วนตัวอย่างแน่นอนค่ะ
อ้างอิง:
Related Courses
5 เมนูเพื่อสุขภาพสร้างอาชีพ ลงทุนน้อยกำไรเยอะ
สำหรับผู้ที่สนใจรักสุขภาพและกำลังมองหาอาชีพเสริมทำหลังเลิกงานหรือหารายได้เสริมในวันหยุดก็สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองวันนี้ ...
5 เมนูเพื่อสุขภาพสร้างอาชีพ ลงทุนน้อยกำไรเยอะ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
ไอเดียต่อยอด สร้างรายได้จากวัตถุดิบสำเร็จรูป
สำหรับใครที่อยากเติมความคิดสร้างสรรค์ เติมไอเดียใหม่ๆในการสร้างอาชีพที่ใช่สำหรับตนเอง เพื่อสร้างรายได้เสริมหลังเลิกงาน หรื ...
ไอเดียต่อยอด สร้างรายได้จากวัตถุดิบสำเร็จรูป
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 50 เหรียญ
การทำงานแบบทีม ทักษะจำเป็นยุคดิจิทัล (Collaboration skill)
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้ว่า การทำงานร่วมกันเป็นอย่างไร ทำไมเราต้องทำงานกับผู้อื่น แล้วเมื่อต้องทำงานร่วมกันแล้วจะส่งเสริมใ ...