ทำความรู้จัก 'Brain-Based Learning' หนึ่งก้าวใหม่ของการศึกษาไทยในอนาคต
การพูดคุยเรื่องการพัฒนาการศึกษาไทยในอนาคตในบ้านเรา ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบัน มีความหวังและทิศทางดีขึ้นมากเรื่อยๆ หลากหลายภาคส่วน รวมทั้งโรงเรียน สถาบัน และคุณครูเองเริ่มมองเห็นถึงแนวทางและวิธีการสอนใหม่ ๆ ที่จะช่วยไม่เพียงเด็กๆ แต่ยังรวมถึงคุณครูและโรงเรียนเอง
หนึ่งในโมเดลการศึกษาไทยในอนาคตใหม่ล่าสุดที่เริ่มได้รับการพูดถึงมากขึ้นและหวังว่าจะได้รับการขยายผลต่อในวงกว้างในบ้านเราก็คือ Brain-Based Learning หรือ การเรียนรู้โดยมีศาสตร์ประสาทวิทยา (neuroscience) เป็นที่ตั้งนั่นเอง หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือเรียนรู้อย่างไร สอนเด็กๆ อย่างไรให้ถูกต้องตามกลไกการทำงานของสมองของเขา ตามระดับพัฒนาการ ตามการเจริญเติบโต ตามวัยในช่วงต่างๆ ยิ่งเด็กเล็กๆ ด้วยแล้ว การมีความรู้ในจุดนี้ ยิ่งช่วยลดภาระและพลังงานของคุณครูให้น้อยลงและช่วยให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุดในการเรียนรู้ของเด็กๆ
ในบทความนี้ Starfish Labz จึงขอทำหน้าที่ ชวนคุณผู้อ่านทุกคนมาเรียนรู้เกี่ยวกับโมเดลใหม่นี้ให้ลึกซึ้งกันขึ้นอีกนิดกันค่ะ Brain-Based Learning คืออะไร? สมองสำคัญต่อการเรียนรู้แค่ไหน? มีประโยชน์จริงๆ หรือเปล่า? และถ้าคุณครูหรือผู้ปกครองอย่างๆ เราอยากจะลองเริ่มฝึกให้กับเด็กๆ ทำเองได้ไหม? มาเรียนรู้กันเลยค่ะ
Brain-Based Learning คืออะไร
Brain-Based Learning หรือ BBL คือการเรียนการสอนที่คุณครูมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจในการทำงานของสมองที่เชื่อมโยงอยู่กับการเรียนรู้ของเด็กๆ แต่ละวัยนั่นเองค่ะ
กล่าวอย่างง่ายที่สุด BBL คือการเรียนรู้การทำงานและพัฒนาการของสมอง ความการทำงานของสมองและการเรียนรู้ และการนำเอาความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็กๆ ในทางทฤษฎี หากจะกล่าวให้เฉพาะเจาะจงอีกนิดก็คือการนำเอาความรู้ทางประสาทวิทยาที่ใช่ (Neuroscience) และทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (Learning Theories) มาผสมผสานกันให้เกิดเป็นโมเดลการเรียนรู้ เทคนิคการสอนใหม่ ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสอนให้กับคุณครูและการเรียนให้กับเด็กๆ
ในการเรียนการสอนแบบ BBL คำถามที่ผู้เชี่ยวชาญจะเชิญชวนให้คุณครูลองสอบถามตัวเองก็คือ อาทิ การเรียนการสอนหนึ่งๆ ควรใช้เวลาเท่าไหร่ถึงเหมาะสมที่สุดต่อเด็กๆ, เด็กๆ ในแต่ละวัยจดจำได้มากเท่าไหร่, ควรใช้วิธีแบบไหนถึงจะช่วยให้เขาจำได้ดีที่สุด
คำถามเหล่านี้เชื่อมโยงกับการทำงานทางสมองของเด็กโดยตรงๆ และในการสอนแบบ BBL การใส่ใจกับการทำงานทางสมองของคุณครูหรือผู้ใหญ่เองยังเป็นส่วนที่สำคัญด้วยนะคะ คุณครูหรือวัยผู้ใหญ่สอนได้มากสุดกี่นาที, คุณครูควรมีช่วงเวลาพักระหว่างสอนกี่ครั้ง, การสอนควรเป็นไปอย่างไร เป็นแบบไหนในวิธีไหนที่จะช่วยให้คุณครูสามารถสอนได้ตามจุดประสงค์ แต่ไม่รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่รู้สึกว่าแต่ละการสอน ตัวเองต้องใช้พลังงานมากเกินไป BBL ในอีกแง่มุมหนึ่งจึงเปรียบเสมือนโมเดลการสอนที่ช่วยพัฒนาทั้งการเรียนและสุขภาพของคุณครูและเด็กๆ โดยตรงอีกด้วย
สมองสำคัญต่อการเรียนรู้แค่ไหน?
สมองคือหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ พัฒนาในช่วงต่างๆ ของเด็กๆ ล้วนมีจุดกำเนิดหรือมีจุดศูนย์กลาง ศูนย์ควบคุมอยู่ที่สมอง การทำความเข้าใจการทำงานและพัฒนาการทางสมองของเด็กๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการสอนสิ่งต่างๆ ให้เขากับนั่นเอง
คุณประโยชน์อันล้ำค่าของ Bain-Based Learning
1.สุขภาพกาย
การสอนตามแบบฉบับ BBL สามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพกายของทั้งคุณครูและเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดระดับความรู้สึกเหนื่อย การช่วยให้การสอนเป็นไปตามหลักการการทำงานที่แท้จริงของร่างกาย
2.สุขภาพใจ
นอกเหนือจากร่างกายแล้ว แน่นอนว่า BBL ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตใจของทั้งคุณครูและเด็กๆ การสอนที่ตรงตามการทำงานทางสมองช่วยให้เด็กๆ เครียดน้อยลง การจดจำสิ่งต่างๆ เป็นไปอย่างง่ายขึ้น ส่งผลทางบวกต่อความรู้สึกและสุขภาพจิตใจ
3.ประสิทธิภาพการสอนของคุณครู
การสอนมีความเป็นระบบในแง่ของหลักการและประสิทธิภาพที่คุณครูสามารถคาดหวังได้ ถ้าเทคนิค BBL หนึ่งๆ ไม่เวิร์ก คุณครูก็สามารถลองเปลี่ยนเป็นเทคนิคอื่นๆ การสอนมีแบบแผนความรู้ มีรูปแบบที่คุณครูสามารถเลือกนำมาลองใช้ได้อย่างหลากหลายตามจุดประสงค์
4.ประสิทธิภาพการเรียนของเด็กๆ
คุณประโยชน์ท้ายสุด แน่นอนว่าคือคุณประโยชน์อันล้ำค่าในการเรียนรู้ที่คุณครูสามารถมอบให้กับเด็กๆ ได้อย่างเต็มเปี่ยมแต่ไม่ทำให้เขารู้สึกเหนื่อยหรือเกินกำลังเขาจนเกินไป การสอนตามพัฒนาการคือการเข้าใจกำลังและความสามารถของเด็กๆ ในแต่ละวัย
คำแนะนำจาก Starfish Labz
โมเดลการศึกษาไทยในอนาคตตามแบบฉบับ Bain-Based Learning อาจฟังดูเหมือนอยู่ในโลกทางทฤษฎี แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นโมเดลเชิงปฏิบัติมากๆ และสามารถใช้ได้จริงๆ ไม่เหนือความสามารถของคุณครูเลยนะคะ
คำแนะนำจาก Starfish Labz คือนอกเหนือจากการการศึกษาหลักการ BBL แล้ว การต่อยอดด้วยความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติมของคุณครูเองยังเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์เพิ่มเติมได้อีกมากๆ อาทิ สมองกับศิลปะ การเรียนศิลปะยุคใหม่ ในฐานะคุณครูศิลปะ คุณครูสามารถต่อยอดได้มากมาย
ที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งคือการเข้าใจด้วยเด็กแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน มีระดับความอ่อนไหว มีความชอบ มีความรู้สึกต่างกัน แม้จะขึ้นชื่อว่าสมองเหมือนกัน แต่ก็อาจจะไม่ได้เหมือนกันหมดเสียทีเดียว การใช้เทคนิคหนึ่งๆ ใน BBL จริงๆ แล้ว จึงอาจต้องใช้การสังเกตดูผลลัพธ์ของเด็กๆ แต่ละคนควบคู่ไปด้วยค่ะ ต้องอาศัยการประเมินผลอย่างชัดเจน เพื่อให้เรามองเห็นได้อย่างแท้จริงว่าเทคนิคหนึ่งๆ นี้ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตามที่คาดหวังจริงๆ ไหม ถ้ายังไม่เกิด ปรับอย่างไร เปลี่ยน เสริม เพิ่ม หรือพัฒนาอย่างไรให้ได้ผลตามที่ต้องการ
อ้างอิง:
Related Courses
STAMPER Learning การเรียนรู้แบบบูรณาการ
STAMPER Learning เป็นการบูรณาการแบบใหม่ ครบจบทั้งขั้นตอนการเรียนรู้ และการประเมินผลสำหรับครู ซึ่งทำได้ง่ายๆ ในกิจกร ...
Micro Learning เรียนคณิตศาสตร์ ม.1-3
คอร์สนี้เป็นการเรียนรู้การเกี่ยวกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3 โดยแบ่งเป็นบทเรียนที่เหมาะสมกับต่ละรดับชั้น ...
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.1-3
การฝึกการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานในวัยเด็กเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการวางพื้นฐานที่ถูกต้อง นำไปสู่พัฒนาการด้านร่างก ...
เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
การสอนภาษาไทยผ่านกระบวนการ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหลากหลายรูปแ ...