รับมือเด็ก gen ใหม่ปรับรูปแบบการบริหารสถานศึกษา
เด็กยุคใหม่จะเลือกเรียนในสิ่งที่ตัวเองชอบ ไม่ชอบถูกบังคับให้เรียน ไม่ยอมรับในกฎเกณฑ์ที่ไม่มีเหตุผลพอหรือไม่เกี่ยวกับเรื่องการเรียน ผู้ปกครองของเด็ก gen ใหม่มีแนวโน้มที่หันไปเลือกสถานศึกษาที่เป็นทางเลือกใหม่ ๆ ที่ออกแบบการเรียนยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง มีความยืดหยุ่นในเรื่องกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทิศทางการศึกษาไทยในอนาคต จึงต้องมีการปรับเปลี่ยน สถานศึกษาต้องหันมาปรับรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ให้เข้ากับเด็กยุคนี้
รู้จักเด็ก gen ใหม่
เด็กเกิดใหม่ยุคนี้เป็นเด็กเจนอัลฟ่า เป็นเด็กที่อยู่ในระบบการศึกษาแล้วและกำลังจะเข้าสู่ระบบการศึกษาในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยเด็กยุคนี้ต้องถือว่าเกิดมาในยุคดิจิทัล ไม่มีจินตนาการใด ๆ ที่เป็นรอยต่อกับยุค analog เลย เขาเกิดมาก็เห็นรถไฟฟ้าแล้ว เกิดมาก็เห็นมือถือสมาร์ทโฟน ไอแพด ใช้กันโดยทั่วไป เรียกว่าเป็นเด็กยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง เด็กจะใช้เวลากับสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียมากในแต่ละวันการเป็นเด็กยุคดิจิทัลของเจนอัลฟ่าทำให้เด็กเรียนรู้เร็ว หาข้อมูลเรียนรู้ได้จากโลกอินเทอร์เน็ต ปรับตัวได้ดีในสถานการณ์ต่าง ๆ มีแค่สมาร์ทโฟนก็ทำทุกอย่างได้ มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง เด็ก gen นี้เรียนผ่านระบบออนไลน์เลือกเรียนสาขาที่ตนเองสนใจได้ ไม่ต้องเรียนผ่านระบบโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยก็จบปริญญาได้หลายสาขา เด็กเจนนี้พูดสื่อสารภาษาเกาหลีหรือภาษาจีนได้คล่องแคล่วโดยไม่ต้องเรียนผ่านระบบ ใช้การเรียนผ่านออนไลน์หรือการดูซีรีส์ เมื่อจะประกอบอาชีพ เด็กยุคนี้จะสามารถทำงานได้หลากหลายในคนเดียว เด็กเจนอัลฟ่าจึงถือเป็นเด็กที่เป็นตัวกำหนดทิศทาง การศึกษาไทยในอนาคต เลยก็ว่าได้
รูปแบบการศึกษาที่เหมาะกับเด็ก gen ใหม่
เมื่อรู้จักแล้วว่าเด็ก gen ใหม่เป็นอย่างไร เลือกเรียนรู้แบบไหน ชอบอะไรไม่ชอบอะไร และมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง อีกทั้งพ่อแม่ของเด็ก gen นี้ คือ เจน X หรือ Y ที่มักมีลูกน้อยหรือมีแค่คนเดียว ทำให้ลูกเป็นศูนย์กลาง หมายถึงพ่อแม่ใส่ใจให้ความสำคัญ เปิดใจให้กับสถานศึกษาหรือโรงเรียนทางเลือก หากว่ามีรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะกับลูกมากกว่า จึงถือเป็นความท้าทายสำหรับ การบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สถานศึกษา โรงเรียน มหาวิทยาลัย ฯลฯ ต่างก็ต้องปรับตัว มีการจัดรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ มีการพัฒนาบุคลากรครู ฯลฯ เพื่อให้รับมือกับเด็กยุคนี้ให้ได้
รูปแบบการเรียนที่เหมาะกับเด็กยุคใหม่ มีดังนี้
- เรียนรู้ผ่านออนไลน์ เมื่อเด็กโตมากับเทคโนโลยี ใช้เวลากับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตมาก จึงชอบเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งสมัยนี้มีให้เลือกมากมาย เป็นคลิปวิดีโอ เป็นซูมเรียนกับผู้สอน มีทั้งเป็นกลุ่มและตัวต่อตัว สถานศึกษาหลายแห่งมีการปรับตัว จัด รูปแบบการบริหารสถานศึกษา ใหม่ ด้วยการนำคลิปวิดีโอลงผ่านโปรแกรมให้นักเรียนย้อนหลังทบทวนได้
- Home School มีจำนวนเด็กมากขึ้นที่ไม่เข้าเรียนในระบบ แต่เลือกเรียนผ่าน Home School คือเรียนที่บ้าน โดยพ่อแม่เป็นคนสอนการศึกษาพื้นฐานให้ลูกเอง รูปแบบการเรียนนี้เหมาะกับเด็กยุคใหม่ตรงที่ไม่ต้องเข้ากฎเกณฑ์ของโรงเรียน เรียนที่บ้าน เลือกเรียนสิ่งที่ชอบได้ ได้ลงปฏิบัติ ได้ประสบการณ์ตรง อาจใช้ระยะเวลาการเรียนน้อยกว่าเรียนที่โรงเรียน วิชาไหนที่ไม่ต้องใช้ตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่ต้องเรียนก็ได้ ถึงตอนเรียนต่อมหาวิทยาลัยก็สอบเทียบวุฒิ
- Active Learning เป็นรูปแบบการเรียนที่เหมาะกับเด็กเจนอัลฟ่า เด็กยุคใหม่เรียนรู้เร็ว ชอบลงมือทำ ชอบพัฒนาทักษะไม่ชอบท่องจำไม่ชอบเรียนวิช าที่น่าเบื่อ ดังนั้นการเรียนรู้แบบ Active Learning จะทำให้เด็กสนใจและมีส่วนร่วม การศึกษาไทยในอนาคต ควรพัฒนารูปแบบการเรียนให้เป็นเชิงรุกเพื่อให้เข้ากับลักษณะอุปนิสัยของเด็ก gen นี้
ทักษะของครูที่เหมาะกับการสอนเด็ก gen ใหม่ มีอะไรบ้าง
ไม่เพียง รูปแบบการบริหารสถานศึกษา เท่านั้นที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน การบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องบูรณาการแบบองค์รวม ด้วยการพัฒนาทักษะของครูที่เหมาะที่จะสอนเด็กยุคใหม่ด้วย โดยมีหลักการพื้นฐานคือ
- รับฟัง หมดยุคครูที่สอนหรือพูดอยู่ฝ่ายเดียว ยิ่งครูเจ้าระเบียบคอยบ่นดุว่า เด็กเจนใหม่ไม่ชอบ เมื่อไม่ชอบก็จะปิดใจไม่อยากเรียนด้วย ครูจึงต้องมีทักษะในการรับฟังเด็ก สิ่งที่เด็กพูดหรือคิดอาจถูกหรือผิด ครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดความคิดของตัวเองมาก่อน จากนั้นจึงอธิบายด้วยเหตุผลในภายหลัง
- แลกเปลี่ยน นอกจากคุณครูต้องเป็นผู้รับฟังที่ดีแล้ว ยังต้องสามารถให้คำแนะนำแลกเปลี่ยนด้วยการคุยแบบเปิดใจ คุยแบบเพื่อน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ไม่ตัดสินว่าความคิดใครถูกหรือผิด จะทำให้เด็กเปิดใจรับความคิดเห็นของครู และสุดท้ายเด็กจะเรียนรู้ เข้าใจในเหตุผล และตัดสินใจได้เอง
- เน้นสอนให้คิดวิเคราะห์ ครูควรมีทักษะในการสอนที่ส่งเสริมให้เด็กคิดวิเคราะห์ เช่น ถ้าเด็กถามคำถาม ครูไม่ควรใช้วิธีให้คำตอบไปในทันที แต่อาจใช้วิธีตั้งคำถามกลับให้ชวนคิด ชวนหาข้อมูล ชวนหาคำตอบเพิ่ม ทำให้เด็กกลับไปค้นคว้าเพิ่ม วิเคราะห์เอง
การศึกษาไทยในอนาคต ต้องตอบโจทย์รับมือเด็กยุคใหม่ให้ได้ ต้องมีห้องเรียนที่เด็กเรียนแล้วสนุก เด็กมีโอกาสพูดมากกว่าฟัง มีโอกาสได้คิดวิเคราะห์ลงมือทำมากกว่าแค่ปฏิบัติตามคำสั่ง ต้องมีครูที่มีทักษะในการสอนเด็กยุคนี้ เข้าใจ รับฟัง และมีวิธีสอนให้เด็กมีจินตนาการรู้จักคิด และแนวทางนี้จะช่วยให้ระบบการศึกษามีความก้าวหน้า เกิดการพัฒนาไปด้วยกันทั้งครูและเด็กนักเรียน
อ้างอิง:
www.sobkroo.com/articledetail.asp?id=6589
thematter.co/social/7-trend-in-education/40365
www.disruptignite.com/blog/education2030
www.kruupdate.com/9-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0/
www.matichon.co.th/education/news_1890713
Related Courses
STAMPER Learning การเรียนรู้แบบบูรณาการ
STAMPER Learning เป็นการบูรณาการแบบใหม่ ครบจบทั้งขั้นตอนการเรียนรู้ และการประเมินผลสำหรับครู ซึ่งทำได้ง่ายๆ ในกิจกร ...
Micro Learning เรียนคณิตศาสตร์ ม.1-3
คอร์สนี้เป็นการเรียนรู้การเกี่ยวกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3 โดยแบ่งเป็นบทเรียนที่เหมาะสมกับต่ละรดับชั้น ...
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.1-3
การฝึกการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานในวัยเด็กเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการวางพื้นฐานที่ถูกต้อง นำไปสู่พัฒนาการด้านร่างก ...
เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
การสอนภาษาไทยผ่านกระบวนการ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหลากหลายรูปแ ...