การเสวนา “การจัดการศึกษาสำหรับโลกยุคใหม่”
ความท้าทายในการขับเคลื่อนการศึกษาสำหรับโลกยุคใหม่คืออะไร
แนวคิดการความท้าทายในการศึกษาในยุคใหม่ เป็นแนวคิดในการให้โอกาสทางการศึกษา ให้ความเท่าเทียมกัน ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยการส่งเสริมให้มีการเข้าถึงการศึกษา ให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างเสมอภาค ไม่ถูกละเลย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามศักยภาพที่แท้จริง เพราะปัจจุบัน เทคโนโลยียุคใหม่ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ไม่เว้นแต่ละวัน และส่งผลต่อสังคมเศรษฐกิจไปจนถึงการปรับตัวทางวัฒนธรรม ตลอดจน “การศึกษา” ที่ดำรงบทบาทสำคัญในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันเป็นความท้าทายที่ระบบการศึกษาจะต้องดำเนินการให้เหมาะสมและเท่าเทียมกันเพราะปัจจุบันปัญหาที่สำคัญคือ คุณภาพทางการศึกษาของไทยยังขาดคุณภาพ เพราะการเข้ารับการศึกษาไม่กว้างขวาง ไม่ทั่วถึง และไม่เป็นธรรม เกิดความเหลื่อมล้ำในโอกาสการเข้ารับการศึกษา เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้การขับเคลื่อนการศึกษาไทยยังคงมีปัญหาตลอดมา เช่นปัญหาที่สำคัญคือการขาดโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้เรียน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เข้าถึงโลกดิจิทัล ไม่ใช่ทุกคนที่พร้อมเปลี่ยนผ่าน ยังมีผู้คนจำนวนมากที่ขาดโอกาสเพราะความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยนั่นเอง รวมถึงหลักสูตรการศึกษาและการประเมินยังไม่สามารถตอบโจทย์ในโลกของความเป็นจริงได้เพราะโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วแต่ในเรื่องของหลักสูตรยังเหมือนเดิม ยังไม่มีการปรับให้ทันกับโลกยุคใหม่นั่นเอง
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์จากวิกฤติโรคระบาดโควิดเมื่อสองปีที่แล้ว ทำให้เกิดผลกระทบต่อกันมาอย่างมีนัยสำคัญ จนเราไม่สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตได้ สถานการณ์แบบนี้ เรียกว่า VUCA World ซึ่งเกี่ยวข้องกับทักษะชีวิตมากที่สุด ที่จะต้องพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ตามแต่ละรูปแบบซึ่งแต่ละบุคคลได้รับการศึกษาที่แตกต่างกันมา เมื่อเจอปัญหาจะสามารถแก้ไขปัญหาเพื่อเอาชีวิตได้อยู่รอดในวิกฤติต่างๆได้อย่างไร การศึกษาจะบ่มเพาะให้ผู้เรียนทำอะไรได้บ้าง ไม่ใช่เรียนรู้แค่ในหลักสูตรเพียงเท่านั้น แต่ยังหมายถึงทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการใช้ชีวิต ทักษะการประกอบอาชีพ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือครูผู้สอนนอกจากจะต้องสอนนักเรียนในเนื้อหาหลักสูตรแล้วจะต้องสอนให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีคุณภาพ นี่คือประเด็นท้าทายที่สำคัญที่ครูผู้สอนจะต้องปรับตัว เปลี่ยนวิธีการสอน เพื่อจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ และการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
อะไรคือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การจัดการศึกษาสำหรับโลกยุคใหม่ประสบผลสำเร็จ
การจัดการศึกษาที่สำคัญที่สุดคือ “โรงเรียน” ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องกลับไปที่จุดเริ่มต้น นั่นคือ ที่โรงเรียน จะสามารถตอบโจทย์ความท้าทายให้ประสบความสำเร็จโดยการทำให้โรงเรียนมีครูที่เพียงพอ มีการจัดครูผู้สอนที่ตรงกับสาขาวิชาที่สอน และสรรหาครูที่มีคุณภาพ สามารถจัดการชั้นเรียนได้ดี ก็ย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและมีความสุขในการเรียน ครูต้องปรับเปลี่ยนจากครูผู้สอนมาเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน และในขณะเดียวกันก็ดำเนินการกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้ โดยการสร้างสภาพแวดล้อมและสนับสนุนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โดยครูผู้สอนช่วยในการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์รวมไปถึงสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเรียนรู้และรู้จักแก้ปัญหาและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตต่อไป
ปัจจัยที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดคุณภาพ นั่นคือ บุคลกรทางการศึกษา เพราะปัจจุบันเราใช้งบประมาณหรือค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลกร เพื่อฝึกฝนทักษะให้บุคลกรให้มีความสามารถ เพราะเรามีการลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรเป็นจำนวนมากถึง 60% ดังนั้นบุคลากรต้องมีทักษะในการใช้ AI ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีนำไปสร้างและพัฒนาหลักสูตรและการประเมินที่มีประสิทธิภาพมีความ ทันสมัยในการนำไปใช้ในการจัดการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนนั่นเอง
ภารกิจและบทบาทของ Starfish และ ก.ค.ศ. มีกรอบแนวคิดหรือแนวทางในการรับมือกับการจัดการศึกษาสำหรับโลกยุคใหม่อย่างไร
Starfish มีบทบาทที่เกี่ยวกับการศึกษาคือ การศึกษาที่ต้องมีประโยชน์ นำไปใช้แก้ปัญหาได้ เชื่อมโยงกับโลกความจริง คือ เด็กต้องได้เป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตัวเองเพื่อช่วยให้เด็กไทยทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาที่มีความหมาย คือ UPRISE ดังนี้
U มาจาก useful คือมันต้องมีประโยชน์ การศึกษาที่มีความหมายมันต้องมีประโยชน์ เพราะถ้าไม่มีประโยชน์เราก็ไม่อยากทำ
P - problem solving การศึกษาต้องช่วยเราแก้ปัญหาได้ ทั้งปัญหาชีวิต ปัญหาประจำวัน ปัญหาการทำงาน ปัญหาการเรียน การศึกษาที่ดีต้องไม่สร้างปัญหาให้เรา ต้องช่วยเราแก้ปัญหา
R - real world คือเรียนแล้วต้องเรียนรู้จากของจริง ดังนั้นครูต้องให้เด็กเรียนสิ่งที่มันเชื่อมกับโลกจริงที่เกิดขึ้นจากชีวิตจริงเพื่อเขาจะได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
I ก็คือ impact คือผลที่ตามมาจากการตัดสินใจของเขาหรือการกระทำของผู้เรียน เป็นผลกระทบจากการเรียนรู้ของผู้เรียนเองในการเรียนรู้ ทั้งทางบวกและทางลบเมื่อเรียนไปแล้ว ว่ากระทบกับตนเอง กับสังคมและโลก
S - self-directed คือการกำกับตัวเอง จะทำให้เด็กมีทักษะการกำกับตัวได้ กำกับตั้งแต่การวางแผน การตัดสินใจ การรับผลกระทบ การสะท้อนดู และการทำใหม่เป็นการขับเคลื่อนด้วยตัวเองจากภายใน
E - experiential คือต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการลงมือทำ จากประสบการณ์จริง อาจเป็นสิ่งที่เขาอยากจะทำด้วยตัวเอง ได้ทำการเลือกทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ ได้ทำสำเร็จ หรือเกิดปัญหาก็กลับมาแก้ไข และกลับมาทำอีกรอบได้
ส่วน ก.ค.ศ.มีแนวคิดและแนวทางในการรับมือกับการจัดการศึกษาสำหรับโลกยุคใหม่เพื่อสร้างผู้เรียนให้มีคุณภาพ เนื่องจาก ก.ค.ศ. เป็นองค์กรกลางในการพัฒนาคุณภาพบุคลากรทางการศึกษาที่จะพัฒนาเพื่อยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโดยมีจุดเน้นที่สำคัญดังนี้
Back to school (กลับไปเริ่มต้นทุกอย่างที่โรงเรียน)
Focus on classroom (หัวใจสำคัญอยู่ในห้องเรียน)
Teacher = Key Success (ครู คือ กุญแจความสำเร็จ)
School as Organization (ทำโรงเรียนให้เป็นองค์กรในการเรียนรู้)
โดย ก.ค.ศ. มุ่งหวังให้ครูมีเวลาในการจัดการเรียนการสอน สร้างกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เป็นระบบภายในโรงเรียน ซึ่งสุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้จะเกิดกับผู้เรียนนั่นเองเห็นได้ว่า ในยุคที่โลกมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วอันสืบเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยี และกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมโลกยุคใหม่ ที่ส่งผลต่อการดำรงชีพของสังคม “ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและมีการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนที่มีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
Related Courses
การพัฒนาทักษะในอนาคตด้วย Makerspace
ในคอร์สนี้ จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมผู้เรียน เพื่อพัฒนาให้เกิดทักษะที่จำเป็นในอนาคต ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบ Ma ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
Google Arts & Culture แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงผลงานศิลปะและวัฒนธรรมจากพิพิธภัณฑ์และสถา ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ