ฮีทสโตรก ภัยที่มากับฤดูร้อน
“ร้อน ร้อน ร้อนจังเลย!” เข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นฤดูร้อนอย่างเต็มตัว ซึ่งกรมอุตกรมอุตุนิยมวิทยาได้ให้เกณฑ์อากาศร้อนใช้อุณหภูมิสูงสุดประจำวันและใช้เฉพาะในฤดูร้อนไว้ดังนี้ 1.อากาศร้อน(Hot) อุณหภูมิตั้งแต่ 35.0 – 39.9 องศาเซลเซียส 2. อากาศร้อนจัด(Very Hot) อุณหภูมิตั้งแต่ 40.0 องศาเซลเซียสขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องมีความรู้และพยายามสังเกตร่างกายของเราให้ดี เพราะเมื่อร่างกายไปปะทะกับเกณฑ์อากาศที่ร้อนจัดในเมษายนนี้ อาจทำให้เกิดโรคฮีทสโตรก (Heatstroke) หรือ โรคลมแดดได้
ฮีทสโตรกเป็นหนึ่งในโรคที่มาพร้อมกับฤดูร้อน เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไป ซึ่งมักเกิดจากการทำงาน ใช้แรงงาน หรือออกกำลังกายอย่างหนักในภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง มักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า และมักจะเกิดในช่วงฤดูร้อนหรือบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่นสมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ บางรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้ (โรงพยาบาลสินแพทย์, 2566)
บุคคลที่ความเสี่ยงจะเป็นโรคฮีทสโตรก ได้แก่
- เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน
- ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
- ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน เช่น ออกกำลังกาย นักกีฬากอล์ฟ เกษตรกร ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง
- ผู้ที่ทำงานออฟฟิศ ที่ทำงานในห้องแอร์เป็นเวลานานแล้วออกมาเจอกับอากาศร้อนจัด จนร่างกายปรับตัวไม่ทัน
- ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม และในสภาพอากาศที่ร้อนจัด
- แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น จนอาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้
เราเริ่มจากสังเกตตัวเองและคนรอบข้างจากความเสี่ยงด้านบนก่อน หากเราเป็นบุคคลที่อาการเสี่ยงที่จะเป็นโรคฮีทสโตรก สิ่งที่เราจะต้องทำและช่วยดูคนรอบตัว ก็คือ
- อย่าไปอยู่กลางแจ้งนานเกินไป ถ้ามีร่มก็สามารถใช้ร่มได้ หรือใช้แว่นกันแดด
- ดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน ถึงแม้ไม่กระหายน้ำก็ตาม เพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิร่างกาย
- ทานน้ำแข็ง ทานไอศกรีม
- ถ้าอยู่ในบ้าน พยายามเปิดประตู หน้าต่าง อย่าอยู่ในที่อับ อย่าอยู่ในห้องปิด การอยู่ในห้องปิดจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่ได้ แล้วเกิดความร้อนสะสม ทำให้เกิดฮีทสโตรกได้แม้อยู่ในบ้าน
- สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน โปร่ง ไม่หนา น้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดีและป้องกันแสงแดดได้
- อย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแจ้ง ความร้อนภายในรถจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคสูงมาก
ข้อควรระวังคือ อย่าทำให้ร่างกายขาดน้ำ เตรียมน้ำ ดื่มน้ำเยอะ ๆ อาจจะต้องเยอะกว่าในฤดูอื่นและอีกหนึ่งข้อที่สำคัญคือ เมื่อเกิดอาการฮีทสโตรกแล้วสิ่งที่เราจะต้องทำก็คือ
- โดยนำเข้าในที่ร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถ้ามีการอาเจียนให้นอนตะแคงก่อน เมื่ออาเจียนแล้วให้นอนหงาย
- คลายเสื้อผ้าที่รัดแน่นออก ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบ ตามซอกลำตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ เพื่อระบาย ความร้อนร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน ราดน้ำเย็นลงบนตัว เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลง
- ให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทน แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
Starfish Labz นำข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับโรคฮีทสโตรกมาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และเตรียมรับมือและเตรียมดูแลคนรอบข้างได้อย่างมีความรู้และมีสติมากยิ่งขึ้นค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูล
ฮีตสโตรกจากอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต : Rama Square (Better to know), อ. นพ.กานต์ สุทธาพานิช (2019),
โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด, โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
บทความใกล้เคียง
Starfish Future Labz แนะแนวทักษะชีวิต 5 เคล็ดลับ ช่วยลูกพัฒนาสมาธิ พร้อมจดจ่อในทุกสถานการณ์
แชร์ไอเดียการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ง่ายๆ สไตล์โรงเรียนบ้านปลาดาว
5 คอร์สออนไลน์ยอดฮิต เรียนฟรี แสนคุ้มค่า จาก Starfish Labz
Related Courses
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอการเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยา ...
สารพัดวิธีรับมือ และเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติ
ความแปรปรวน ของสภาพอากาศโลกและภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้งที่มีความรุนแรงขึ้น จึงมีความจำเ ...
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...