Future Talk: สร้างสมรรถนะผู้เรียนผ่านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning หรือการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง และในครั้งนี้จะเป็นการพูดคุยในมุมมองของผู้บริหารโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ในการนำพาองค์กรและครูจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก หรือ Active Learning ไปสู่ผู้เรียนได้อย่างไร
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่จัดขึ้นตามวัตถุประสงค์พิเศษ จัดตั้งขึ้นตามโครงการโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์บรมราชชนนี จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 เน้นจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาต่างประเทศที่ 2 โดยโรงเรียนได้ตระหนักในการทำให้นักเรียนมีคุณธรรม มีระเบียบวินัย ตามคำสอนของสมเด็จย่าที่ว่า “คนดีของฉัน หรือจะต้องเป็นคนดีที่ไม่พูดปด ไม่พูดสอพลอ ไม่อิจฉาริษยา ไม่คดโกง และไม่มีความทะเยอทะยาน แต่พยายามทำหน้าที่ของตนให้ดีในขอบเขตของศีลธรรม” ทั้งนี้ โรงเรียนได้มีแผนการพัฒนาหรือเป้าหมายในการพัฒนานักเรียน ครู และโรงเรียน โดยในส่วนของนักเรียนจะเป็นการเสริมสมรรถนะ เสริมศักยภาพให้มากขึ้นผ่านโครงการ
(นำร่อง) “คนดี คนเก่งของสมเด็จย่า” ในส่วนของครู ถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนให้มีรูปแบบที่หลากหลาย โดยการอบรมความรู้ในเรื่องต่าง ๆ และโรงเรียนคือ การพัฒนาระบบสารสนเทศ ทั้งสื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ครูและนักเรียนสามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่า เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม ในพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ฝ่ายบริหารโรงเรียนได้มีการนำหลักการบริหารงานมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ภายใต้โมเดล ICARE ซึ่งประกอบด้วย
I – Integration (การบูรณาการ)
C – Create (การสร้าง ริเริ่ม)
A – Approach (การเข้าถึงวิธีการปฏิบัติงาน)
R – Recheck (การแก้ไข ปรับปรุง ตรวจสอบ)
E – Exchange (การแลกเปลี่ยน)
เพื่อส่งเสริมให้ครูได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยเริ่มต้นจากการนิเทศจากฝ่ายบริหาร การวิเคราะห์หลักสูตรของโรงเรียนนำไปสู่หลักสูตรแกนกลาง ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ของแต่กลุ่มสาระ โครงสร้างเวลาเรียน หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล ในส่วนของครูจะทำการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบ Active Learning อย่างน้อย 1 หน่วย ที่สามารถตอบโจทย์สมรรถนะของนักเรียน ยกตัวอย่างเช่น โมเดลการจัดการเรียนรู้ “รูปแบบการสอนเขียนแบบ ITEACH Model” ประกอบด้วย
I – Inspiration (การสร้างแรงบันดาลใจ)
T – Teach and Train (การสอนการฝึก)
E – Encourage and Editing (การช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อการพัฒนา ปรับปรุง)
A – Awareness and Assessment (ตระหนักถึงธรรมชาติและรูปแบบงานเขียนในระหว่างการทำงาน)
C – Creative and Consideration (การสร้างสรรค์ผลงาน)
H – Honor and Highness (การใช้ทักษะเสริมแรงทางบวก)
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะที่หลากหลาย ตั้งแต่ทักษะการสื่อสาร กระบวนการทำงาน รวมถึงการส่งเสริมในด้านคุณธรรมให้กับผู้เรียนอีกด้วย และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น พบว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข มีกระบวนการส่งเสริมทักษะการคิด ครูมีความสุขในการจัดการเรียนการสอน มีการประยุกต์ใช้โมเดลที่หลากหลาย ตลอดจนการนำนวัตกรรมเข้าไปสู่ในแผนการจัดการเรียนรู้ รวมถึงการพัฒนาทางด้านวิชาชีพของครู เพื่อตอบโจทย์สมรรถนะของผู้เรียนตามยุคสมัยและก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืนได้อีกด้วย ทั้งนี้ สามารถรับฟังรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/starfishlabz/videos/550082500370468/หรือ www.StarfishLabz.com
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
Micro Learning เรียนคณิตศาสตร์ ม.1-3
คอร์สนี้เป็นการเรียนรู้การเกี่ยวกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3 โดยแบ่งเป็นบทเรียนที่เหมาะสมกับต่ละรดับชั้น ...
STAMPER Learning การเรียนรู้แบบบูรณาการ
STAMPER Learning เป็นการบูรณาการแบบใหม่ ครบจบทั้งขั้นตอนการเรียนรู้ และการประเมินผลสำหรับครู ซึ่งทำได้ง่ายๆ ในกิจกร ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...