การสร้างเครือข่ายที่ดีเพื่อการมีส่วนร่วม

Starfish Academy
Starfish Academy 9332 views • 2 ปีที่แล้ว
การสร้างเครือข่ายที่ดีเพื่อการมีส่วนร่วม

การสร้างเครือข่ายที่ดี มีส่วนสำคัญในการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ปกครอง ชุมชน หรือองค์กรภายนอกให้เข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือ สนับสนุนการศึกษาของผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และยังเป็นการสร้างเครือข่ายที่ช่วยเหลือกันเพื่อพัฒนาความรู้ของผู้เรียนเป็นองค์รวมมากยิ่งขึ้น

บทความนี้ Starfish Labz มีข้อมูลเกี่ยวกับ Network การสร้างเครือข่ายที่ดีเพื่อการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์จากนักพัฒนาการศึกษามูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวดี ๆ จากประสบการณ์จริง จากโค้ชที่ได้แสดงมุมมองการสร้างเครือข่ายที่ดีของโรงเรียนมาฝากกันค่ะ 

เปรียบเทียบลักษณะของโรงเรียนที่มีเครือข่ายที่ดีกับโรงเรียนที่มีเครือข่ายไม่ดี 

มุมมองของโค้ชเอโรงเรียนที่มีการทำงานร่วมกับเครือข่ายที่ดีทั้งเครือข่ายภายในหรือภายนอก เราจะเห็นว่าครูมีความกระตือรือร้นในการทำงานตามนโยบายของโครงการมีเป้าหมายในการพัฒนาเด็กที่ชัดเจน ยิ่งโรงเรียนไหนมีเครือข่ายภายในที่เข้มแข็ง เช่น ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนเข้มแข็งก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนร่วมกัน เห็นความต้องการและแนวทางในการพัฒนาเด็ก เครือข่ายเหล่านี้ก็จะให้ความร่วมมือในการช่วยเหลืออย่างดี และสนับสนุนโรงเรียนเพื่อมีส่วนในการพัฒนาโรงเรียน

ส่วนโรงเรียนที่มีเครือข่ายไม่ดีนั้นจะมองถึงเรื่องการดำเนินงาน การวางเป้าหมายที่ไม่มีความชัดเจน การทำงานที่ค่อนข้างไม่เต็มที่ โดยขาดการกระตุ้นหรือแรงเสริม พอไม่มี โครงการ หรือตัวกระตุ้นเข้ามาครูก็จะสอนตามปกติแต่ไม่มีความกระตือรือร้น ทำงานตามที่ต้นสังกัดสั่ง และมีส่ง

เครือข่ายที่ดีมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร 

เครือข่ายจะเป็นแนวทางในการชี้นำ หนุนเสริมการดำเนินงานในโรงเรียน เป็นเครื่องมือให้โรงเรียน พัฒนางานในทุกด้านของโรงเรียน ตามบริบทที่มีอยู่ ซึ่งแนวทางในการให้ความช่วยเหลือผู้บริหารโรงเรียนและทีมวิชาการคือส่วนสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนการทำงาน  การที่เครือข่ายของโรงเรียน เช่น องค์กรฯ สถาบันมหาวิทยาลัย หรืออื่น ๆ จะได้มีแนวทาง

มาแลกเปลี่ยนเพื่อให้เป็นต้นแบบ เป็นโครงการร่วมหรือ แนวทางส่วนหนึ่งในการพัฒนาโรงเรียนครู นักเรียน ไปพร้อมกันทำให้การขับเคลื่อนมีความชัดเจนบรรลุตามเป้าหมาย

อุปสรรคสำคัญของการสร้างเครือข่ายที่โรงเรียนต้องเอาชนะคืออะไร

โค้ชเอมองว่าอุปสรรคสำคัญในประเด็นแรกคือผู้บริหารที่สร้างวิสัยทัศน์ที่ดีให้ครูเข้าใจและเห็นแนวทางในการทำงานร่วมกันเพราะครูมีความหลากหลาย หากครูไม่ให้ความร่วมมือ 

ไม่เข้าใจจะทำให้การพัฒนา อาจจะสะดุด ไม่ราบรื่น แต่ถ้าผู้นำสามารถเป็นหลักในการพาครูทำ เป็นที่ปรึกษาช่วยคิดแก้ปัญหาก้าวไปพร้อมกันจะทำให้ครูและโรงเรียนขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี   

ประเด็นสำคัญชุมชนรอบข้างจะต้องมีการสร้างความเข้าใจให้เห็นแนวทางการศึกษาของโรงเรียนพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่ตัวผู้เรียนที่เห็นภาพของการพัฒนาที่ดีขึ้นจะทำให้ชุมชน รวมไปถึงผู้ปกครองเข้าใจว่าผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเกิดความรู้หลักเพียงอย่างเดียว สามารถมีทักษะ สมรรถนะ ที่สามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพในอนาคตได้ การเรียนรู้ในปัจจุบันเป็นการเรียนรู้จากการลงมือทำไม่ใช่การท่องจำ บุคลากรในโรงเรียน 

ผู้ปกครอง ชุมชนต้องเข้าใจ รวมถึงเครือข่ายต่าง ๆ จึงเป็นแรงเสริมสำคัญที่จะช่วยพัฒนาโรงเรียน ผู้เรียน ให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีทักษะที่สามารถนำไปต่อยอดได้



จากบทสัมภาษณ์: นางเจนจิรา เดชชัยพงศ์ (โค้ชเอ) นักพัฒนาการศึกษา

มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม


การสร้างเครือข่ายในการทำงานที่ดีนั้น

ในมุมมองของโค้ชแตน มองว่าในแต่ละโรงเรียนจะมีการสร้างเครือข่ายและทำงานร่วมกับองค์กรอื่น ๆ อยู่แล้ว เช่น เครือข่ายชุมชน ผู้ปกครอง สถานพยาบาล หรือตำรวจที่เข้ามาให้ความรู้กับนักเรียนเสมอ ดังนั้น ในการดำเนินโครงการ โค้ชจะต้องช่วยเรื่องการผลักดันโรงเรียนในการทำงานร่วมกับองค์กรภายนอกมากขึ้น 

โดยให้เป็นแนวทาง เช่น แนะนำให้โรงเรียนมีการเชิญปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาสร้างนวัตกรรมทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งวิทยากรนั้นก็มาจากผู้ปกครองที่มีความรู้ ความสามารถในเรื่องนั้น ๆ ก็สามารถเข้ามามีบทบาท ช่วยเหลือในการจัดการเรียนการสอนร่วมกับโรงเรียนได้หรืออาจจะเป็นวิทยากรครูจากโรงเรียนเครือข่ายมาให้ความรู้ในเรื่องของระบบสารสนเทศ

ดังนั้น การสร้างเครือข่ายที่ดีนั้นจะต้องเกิดจากการได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย ทั้งองค์กรภายใน และองค์กรภายนอกให้เข้ามามีบทบาทเป็น ผู้ช่วยในการจัดการเรียนการสอนร่วมกับโรงเรียน ร่วมกันสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้เรียน


ในฐานะเครือข่ายโรงเรียนมีส่วนให้การสนับสนุนองค์กรอื่น ๆ ได้อย่างไร 

สำหรับโค้ชแตนนั้นคือ การสร้างความร่วมมือกับกลุ่มเครือข่ายหรือองค์กรอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องของ ค่าตอบแทน แต่เป็นการขอความร่วมมือกับชุมชนเข้ามามีส่วนช่วยในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนและในส่วนของโรงเรียนในเครือข่ายนั้น โค้ชแตนได้ทำงานร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายของโครงการมา 2 รุ่น ก็จะแนะนำให้โรงเรียนเครือข่าย รุ่นที่ 2 ได้เข้าไปศึกษาดูงานโรงเรียน

ใน รุ่นที่ 1 ที่เป็นโรงเรียนต้นแบบ เช่น โรงเรียนอนุบาลวังดิน เป็นโรงเรียนที่เด่นชัดในเรื่องการทำ PLC การจัดการสอนแบบ Active Learning และใช้กระบวนการ STEAM Design Process แบบเต็มรูปแบบ

ดั้งนั้น โค้ชแตนคิดว่าการผลักดันให้โรงเรียนในเครือข่ายได้สนับสนุนองค์กรอื่น ๆ ไม่ใช่ในเรื่องของตัวเงิน แต่เป็นการสนับสนุนในเรื่องของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของโรงเรียนเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้   ให้เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียนผ่านการทำงานร่วมเครือข่ายด้วย และทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

จากบทสัมภาษณ์: นางฤทัยรัตน์ ทรัพย์ประภากุล (โค้ชแตน) นักพัฒนาการศึกษา

มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
basic
3:00 ชั่วโมง

Starfish Learning Hub แหล่งเรียนรู้สร้างทักษะแห่งอนาคต

การเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่ไม่จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนอีกต่อไป การเรียนรู้นอกห้องเรียนจึงเป็นอีกหนึ่งการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้เ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Starfish Learning Hub แหล่งเรียนรู้สร้างทักษะแห่งอนาคต
Starfish Academy

Starfish Learning Hub แหล่งเรียนรู้สร้างทักษะแห่งอนาคต

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
3:30 ชั่วโมง

นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!

วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...

นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)
นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)

นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!

นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

พื้นฐานการใช้เทคโนโลยี สำหรับครูยุคใหม่

หลักสูตรเพื่อก้าวสู่การครูยุคใหม่ซึ่งมีทักษะพื้นฐานทางดิจิทัลและความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในนำมาใช้ในการผลิตสื่อ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พื้นฐานการใช้เทคโนโลยี สำหรับครูยุคใหม่
Starfish Academy

พื้นฐานการใช้เทคโนโลยี สำหรับครูยุคใหม่

Starfish Academy
28411 ผู้เรียน
EdTech
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
0:30 ชั่วโมง

โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว

โรงเรียนปลาดาว เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะสำคัญทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต ผ่าน ...

โรงเรียนปลาดาว
โรงเรียนปลาดาว
โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว
โรงเรียนปลาดาว

โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว

โรงเรียนปลาดาว

Related Videos

ครูไทเลย นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชีวิตประจำวันเป็นฐาน BLENDED
25:11
Starfish Academy

ครูไทเลย นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชีวิตประจำวันเป็นฐาน BLENDED

Starfish Academy
162 views • 1 ปีที่แล้ว
ครูไทเลย นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชีวิตประจำวันเป็นฐาน BLENDED
กล้าสอน KLA-SON  KN ENJOY MODEL
27:38
Starfish Academy

กล้าสอน KLA-SON KN ENJOY MODEL

Starfish Academy
65 views • 1 ปีที่แล้ว
กล้าสอน KLA-SON KN ENJOY MODEL
วัดผลผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ก้าวสู่ “ครูมืออาชีพ”
01:06:06

วัดผลผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ก้าวสู่ “ครูมืออาชีพ”

114 views • 6 เดือนที่แล้ว
วัดผลผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ก้าวสู่ “ครูมืออาชีพ”
วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA
01:17:25
Starfish Academy

วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA

Starfish Academy
2088 views • 1 ปีที่แล้ว
วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA