เมื่อเครื่องมือครูอย่างเดียวอาจไม่พอ: 5 หลักการสำคัญ ช่วยครูวัดและประเมินผลอย่างเกิดคุณค่า
การมีเครื่องมือครูอย่างเครื่องมือช่วยประเมินคู่ใจดี ๆ สักเครื่องมือหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่าเป็นเพียงแค่ก้าวแรกเท่านั้นในภารกิจ และกระบวนการ การประเมินของคุณครูเพราะนอกเหนือจากเครื่องมือ อีกหนึ่งหัวใจสำคัญก็คือหลักการหรือแนวทางการใช้เครื่องมือช่วยประเมินดังกล่าวอย่างให้เกิดผลและคุณประโยชน์ที่สุด
ในบทความนี้ Starfish Labz จึงขอทำหน้าที่ศึกษา รวบรวม และสรุป 5 หลักการสำคัญในการใช้งานเครื่องมือช่วยประเมินมาฝากคุณครูทุกคนกัน จะมีหลักการ แนวทาง หรือแนวคิดใดที่สำคัญกันบ้าง มาลองเรียนรู้และทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันในบทความนี้กันเลยค่ะ
5 หลักการสำคัญ ช่วยครูวัดและประเมินผลอย่างเกิดคุณค่า
1. ใช้เครื่องมือประเมินที่มีคุณภาพ รูปร่างหน้าตาใช้งานง่าย มีทุกฟีเจอร์ในการช่วยประเมินอย่างครบครัน
การใช้งานเครื่องมือช่วยประเมินจะเป็นไปอย่างราบลื่น และมีประสิทธิภาพไม่ได้เลยหากไม่ได้เริ่มด้วยเครื่องมือที่ใช่ ในหลักการแรก สิ่งสำคัญจึงคือการเสาะหา และเลือกเครื่องมือช่วยประเมินที่มีคุณภาพ และใช่อย่างแท้จริงเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือของต่างประเทศอย่าง ASSISTments, Edupuzzle, Edulastic หรือของประเทศไทยอย่าง Starfish Class หัวใจสำคัญของการเลือกเครื่องมือที่ใช่ คือการเลือกเครื่องมือที่ตรงต่อความต้องการของเราอย่างแท้จริงทั้งในเรื่องของหน้าตาการใช้งาน (UX/UI), ฟีเจอร์ที่มีให้เลือกใช้ และความน่าเชื่อถือ ความต่อเนื่องในการพัฒนาของผู้พัฒนาหรือความมุ่งมั่น จริงจัง ใส่ใจในการพัฒนาของผู้พัฒนานั่นเองค่ะ
โดยตัวอย่างเครื่องมือที่มีคุณภาพ เช่น Starfish Class ที่มีทั้งหน้าตาการใช้งานที่สะดวกเรียบง่าย มีฟีเจอร์การประเมินครบครัน และยังได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยตรงโดย ผู้พัฒนาของ Starfish Education ทำให้ตัวเครื่องมือทั้งในรูปของแอปพลิเคชันและเว็บไซต์มีความสเถียร เชื่อถือได้ และมั่นใจได้ว่าจะสามารถใช้งานได้อย่างยาวๆ ไม่ต้องกลัวว่าจะมีปัญหาอย่างระบบการใช้งานขัดข้อง ข้อมูลเด็กหาย หรือไปจนถึงการตัดสินใจหยุดพัฒนา ปิดการใช้งานอย่างกะทันหัน ฯลฯ นั่นเอง
2. มีรูปแบบหรือแผนการประเมินอย่างชัดเจน (วัตถุประสงค์, รูปแบบการประเมินที่เหมาะสม, กิจกรรมหรือวิธีการสอนที่เลือกใช้สอดคล้องและจะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นสมรรถนะดังกล่าวได้อย่างชัดเจนหรือไม่)
หากปราศจากรูปแบบหรือแบบแผนการประเมินที่เราได้วาง กำหนด หรือออกแบบเอาไว้ก่อน ต่อให้เราเลือกใช้เครื่องมือที่เยี่ยมยอดเพียงใด ท้ายที่สุดแล้ว ก็จะกลายเป็นการประเมินอย่างสะเปะสะปะ ไม่ต่อเนื่อง ไม่สม่ำเสมอ และไม่สามารถให้ผลลัพธ์การประเมินที่จะช่วยให้เกิดคุณประโยชน์ที่สุดต่อทั้งตัวเราและเด็กๆ
ในหลักการที่สองของการประเมินและการใช้เครื่องมือประเมินจึงคือการมีแผนการประเมินของเราอย่างจริงจังควบคู่นั่นเองค่ะ โดยแผนการประเมินอย่างจริงจังที่ว่านี้ก็คือรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับเส้นทาง (journey) ในการสอนและการประเมินของเราในภาคการศึกษานั้นๆ ตั้งแต่วิธีการสอนที่เราเลือกใช้, รูปแบบการประเมินที่เราจะใช้, วัน-เวลาที่เราจะลงมือประเมินจริง ผ่านกิจกรรมหรือแบบทดสอบต่างๆ, และวัน-เวลาที่เราจะกลับมาให้หรือบันทึกคะแนนการประเมินจริงในตัวแอปพลิเคชันหรือเครื่องมือ เป็นต้น
3. ลองใช้รูปแบบการประเมินที่หลากหลาย สมัยใหม่และสนุกสนาน
นอกเหนือจากรูปแบบการประเมินอย่างเป็นทางการหรือเชิงวิชาการเช่น Formative, Summative และ Diagnostic แล้ว อีกหนึ่งรูปแบบที่กำลังเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลก็คือในรูปแบบ Non-Academic and Fun หรือรูปแบบการประเมินที่ไม่จำเป็นต้องมีความวิชาการ เน้นรูปแบบการการประเมินใหม่ๆ ที่สนุกสนาน เช่น การประเมินผ่านเครื่องมือทางเทคโนโลยีเรียนรู้เชิงเกม (Gamification) อย่าง Kahoot!
หัวใจสำคัญของการใช้รูปแบบการประเมินในลักษณะนี้ มีเพียงแค่ว่าต้องสามารถตอบสนองความต้องการในประเมินของคุณครูได้อย่างแท้จริง นอกจากสนุก ไม่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องวิชาการแล้ว สามารถช่วยให้คุณครูมองเห็นทักษะ พัฒนาการ หรือสมรรถนะของเด็กๆ ได้จริงไหม เห็นอย่างไร คุณภาพของกระบวนการดีเพียงพอหรือไม่ต่อการนำมาพัฒนาหรือต่อยอดเป็นผลการประเมินจริง
4. คำนึงถึงความจริง ความยุติธรรม และความโปร่งใสในการประเมิน
อาจฟังดูเหมือนเป็นปัญหาที่คงเกิดขึ้นไม่ได้เลย เพราะคุณครูทุกคนย่อมอยากให้การประเมินตามความจริง ยุติธรรม และโปร่งใสให้กับเด็กๆ ทุกคนอยู่แล้ว แต่ในกระบวนการจริง แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่จากความตั้งใจของคุณครู แต่จากปัจจัยหลายอย่างทั้งความยากในการสังเกตพัฒนาการของเด็กๆ ความเหน็ดเหนื่อยในการวัดผลแต่ละที และความละเอียดอ่อนในการประเมินเล็กๆ น้อยๆ ต่างที่ในหลายๆ ครั้งก็ก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่าความคลาดเคลื่อนในการประเมิน
ในภารกิจการประเมินของคุณครูนั้น นอกเหนือจากการวางแผนรูปแบบการประเมินต่างๆ จึงควรเผื่อเวลาและใส่ใจถึงความจริง ความยุติธรรม และความโปร่งใสในการประเมินอยู่เสมอ เพราะปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของผลการประเมิน ยิ่งคุณครูสามารถประเมินผลตามความจริงได้มากเพียงใด ก็ยิ่งสามารถนำผลไปต่อยอดและพัฒนาเพิ่มเติมให้เด็กๆ ได้ดียิ่งขึ้น
5. ผลการประเมินที่ได้มา นำมาใช้ต่ออย่างคุ้มค่า เข้าใจว่าผลการประเมินที่มีคุณภาพคือทรัพยากร และขุมทรัพย์อันล้ำค่าสำหรับทั้งคุณครูและเด็กๆ
เมื่อประเมินผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว นอกเหนือจากส่งผลต่ออย่างเป็นทางการให้กับทางสถาบันหรือโรงเรียน อีกหนึ่งสิ่งที่คุณครูสามารถทำได้ก็คือการนำผลดังกล่าวมาต่อยอดอย่างสร้างสรรค์ ปรับเป็น Feedback ที่ดีให้กับเด็กๆ ตลอดจนนำผลการประเมินมา
ทบทวน ดูจุดที่อาจจะยังขาด คลาดเคลื่อน หรือมีข้อบกพร่อง เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาในภาคการศึกษาต่อไป
สรุป (Key Takeaway)
การประเมินอย่างมีประสิทธิภาพควรเริ่มจากการมีเครื่องมือที่ดี เลือกเครื่องมือครูที่ใช่ มีแบบแผนการประเมินอย่างชัดเจน หลากหลาย สนุกสนาน ประเมินตามข้อเท็จจริง หลักฐานการพัฒนาของเด็กๆ ที่จับต้องหรือเชื่อถือได้ และในท้ายที่สุดคือ มองเห็นถึงคุณค่าของผลการประเมินที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนา ให้กับทั้งตัวเด็ก และการพัฒนาการเรียนการสอนของคุณครู
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
Related Courses
การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ
การติดตามเพื่อพัฒนา ประเมินความก้าวหน้า และสะท้อนผลที่เกิดขึ้นรวมกัน เป็นการกำหนดวิธีในการติดตามผลจากการจัดกิจกรรมการ ...
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เครื่องมือช่วยวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบเรียลไทม์
การวัดผลการเรียนรู้แบบเรียลไทม์ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการอำนวยความสะดวก ลดภาระงานเอกสาร และการประม ...